ป้ายกำกับ: interior design

SPACEOLOGY

SPACEOLOGY

สตูดิโอที่ชื่อมีความหมายเกี่ยวกับพื้นที่ว่าง มีวัตถุประสงค์คือออกแบบพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่ที่เกิดประโยชน์ และตอบสนองการใช้งานของลูกค้าหลากหลากรูปแบบ

Read More

GODMOTHER STUDIO

สตูดิโอออกแบบที่สนใจดีไซน์หลายแขนง ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการออกแบบแต่ละครั้งเปรียบเสมือนการทดลองแนวคิดนามธรรมให้กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้

Read More

YAAF DESIGN

YAAF Design

YAAF Design เป็นสตูดิโอออกแบบภายในสัญชาติไทยที่สนใจด้านการออกแบบพื้นที่ workplace ให้เป็นสเปซที่สนับสนุนคนทำงาน และช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า

Read More

VAIR

Benyapa Sirisopon, founder of VAIR interior design studio

art4d คุยกับสตูดิโออินทีเรียสัญชาติไทย VAIR ถึงตัวตนของสตูดิโอและความมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้นให้โดดเด่น พร้อมฉีกกรอบด้วยการทดลองวัสดุและดีเทลใหม่ๆ อยู่เสมอ

Read More

ANUBAN SAMUTSAKHON SCHOOL

Context Studio นำเสนอภาพใหม่ของโรงเรียนรัฐด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผ่านคอนเซ็ปต์หลักอย่าง ‘ทะเล’

TEXT: PICHAPOHN SINGNIMITTRAKUL
PHOTO: DOF SKY|GROUND

(For English, press here)

ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นโรงเรียนรัฐบาล ทุ่มทุนสร้างไปกับการออกแบบและตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการเล่นของเด็กๆ เหมือนอย่างโรงเรียนเอกชน แต่โรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดสมุทรสาคร หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร แห่งนี้ กลับให้ความสำคัญและกล้าที่จะทุ่มงบประมาณไปกับการปรับปรุงพื้นที่ภายในโรงเรียน จนผู้ปกครองหรือใครหลายคนที่ได้พบเห็น ก็เป็นต้องตั้งคำถามเป็นคำถามเดียวกันว่านี่คือพื้นที่ภายในโรงเรียนรัฐบาลจริงๆ หรือ

ต้น-บดินทร์ พลางกูร จาก Context Studio ผู้ออกแบบเริ่มเล่าให้เราฟังถึงบทสนทนากับ ผอ. โรงเรียน ว่า “ตอน ผอ. โรงเรียนติดต่อเข้ามาก็รู้สึกแปลกใจเหมือนกัน เพราะสำหรับผมและหลายๆ คน น่าจะคิดคล้ายกันว่าคงไม่ค่อยมีโอกาสเห็นโรงเรียนรัฐฯ นำงบประมาณมาใช้กับเรื่องนี้บ่อยๆ หรืออาจไม่เคยมีเลยก็ได้ พอได้คุยกับ ผอ. จริงจังก็เลยรู้ว่าการปรับปรุงโรงเรียนในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของผู้ว่าประจำจังหวัด เค้าอยากเห็นโรงเรียนประจำจังหวัดของเขามีพื้นที่การเรียนรู้ที่ดี ซึ่งมันจะเป็นผลดีต่อเด็กๆ ในจังหวัดและสุดท้ายก็เป็นหน้าเป็นตาให้จังหวัดไปด้วย ส่วน ผอ. ก็คิดเหมือนกันว่าอยากให้พื้นที่ภายในโรงเรียนสามารถเป็นพื้นที่ที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ได้ออกไปเจอกับโลกกว้างนอกรั้วโรงเรียนได้ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กๆ ด้วยว่ากำลังเรียนอยู่หรือเคยเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้” 

ตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรียน ที่อยู่ห่างจากปากอ่าวแม่น้ำท่าจีนเพียง 200 เมตร

จากประโยคบอกเล่าสั้นๆ ช่วงท้ายของ ผอ. นี่เอง ทีมดีไซเนอร์ได้หยิบใจความด้านการเตรียมความพร้อมเด็กๆ ให้ออกไปสู่โลกกว้าง มาใช้กับการออกแบบในครั้งนี้ โดยเปรียบเปรยว่าการออกไปสู่โลกกว้าง ก็เหมือนกับการเตรียมตัวออกเรือสู่ทะเล ซึ่งเมื่อพูดถึงทะเลขึ้นมาแล้ว แนวคิดนี้ก็ยังมีความสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมของจังหวัดและตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรียน ที่อยู่ห่างจากปากอ่าวแม่น้ำท่าจีนเพียง 200 เมตร หรือจะเรียกว่าอยู่เกือบริมอ่าวเลยก็ไม่ผิด การออกแบบครั้งนี้จึงถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบของแม่น้ำเป็นหลัก โดยพื้นที่ภายในโรงเรียนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ห้องเรียนอเนกประสงค์อย่างที่เราเห็นกัน แต่ยังรวมไปถึงโถงใต้อาคาร และห้องพักครูด้วย

“สำหรับโปรเจ็คต์นี้ ส่วนที่เป็นไฮไลท์ที่สุดก็คือห้องเรียนอเนกประสงค์ หรือที่ครูในโรงเรียนเรียกกันว่า ห้องพรีเซนเทชัน ซึ่งจะเป็นห้องเรียนที่ถูกจัดตารางให้เด็กๆ สลับกันเข้ามาใช้งานตามความเหมาะสมของรายวิชา และด้วยการใช้งานที่จะถูกเน้นให้เป็นห้องสำหรับนำเสนองานผ่านจอโปรเจ็คเตอร์ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้เสียงเป็นส่วนใหญ่นั้น พวกเราก็เลยพยายามออกแบบ surface ของผนังและเพดานภายในห้องให้สามารถช่วยซับเสียงได้ พอนำมาโยงกับคอนเซปต์ที่เราตั้งไว้เกี่ยวกับแม่น้ำ เพดานของห้องก็เลยมีลักษณะเป็นคลื่นน้ำอย่างที่เห็น แต่มันจะเป็นคลื่นที่ดูโหดร้ายนิดนึง (หัวเราะ) เพราะอยากให้มันช่วยซับเสียงได้จริงๆ” บดินทร์เล่าถึงแนวคิดการออกแบบพื้นที่ในส่วนแรก 

โดยในแง่ของการออกแบบและผลิตเกลียวคลื่นที่ดูโหดร้ายนี้ให้สามารถใช้งานได้จริงก็ไม่ง่ายเลย เพราะเกลียวคลื่นที่เกิดขึ้นจะต้องมีระยะห่างของคลื่นแต่ละลูกที่ค่อนข้างถี่ ดีไซเนอร์จึงออกแบบด้วยการปั้นฟอร์มคลื่นในโปรแกรม Rhino ขึ้นมาทั้งหมด 16 แบบ โดยแต่ละแบบจะมีรูปทรงของคลื่นที่แตกต่างกัน และมีระยะของคลื่นแต่ละลูกที่ถี่พอจะช่วยลดการเกิดเสียงก้องภายในห้องได้ตามตั้งใจ ก่อนจะนำดิจิตอลไฟล์ทั้งหมด 16 แบบนั้น มาผลิตเป็นแม่แบบผ่านกระบวนการ CNC สำหรับหล่อวัสดุไฟเบอร์กลาสผสมใยกระดาษ และนำแต่ละ module ที่ได้ มาประกอบเป็นเพดานเกลียวคลื่นในขั้นตอนสุดท้ายอย่างที่เห็น

ส่วนการออกแบบพื้นและวัสดุปิดผิวผนังภายในห้องเรียนอเนกประสงค์ เลือกใช้เป็นวัสดุไม้เทียมโทนสีอ่อน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรให้กับเด็กๆ ขณะที่ไม้ที่ใช้ในการปิดผิวผนังทั้งหมดนั้น ก็ยังถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวร่อง เพื่อเพิ่มเส้นสายที่ดูสนุกมากขึ้นแทนการออกแบบเป็นเพียงห้องสี่เหลี่ยมที่มีพื้นผิวเรียบๆ และแนวร่องก็ยังสามารถช่วยซับเสียงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานห้องเรียนห้องนี้ได้ในเวลาเดียวกัน

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงอีกส่วนก็คือห้องพักครู โดยประกอบด้วย ห้อง ผอ. และห้องประชุมคณะครู ถูกออกแบบให้มีโทนสีและการเลือกใช้วัสดุที่เชื่อมโยงกันกับห้องเรียนอเนกประสงค์ คือเลือกใช้วัสดุไม้เป็นหลัก และนำองค์ประกอบของแม่น้ำมาสะท้อนผ่านเพดานที่ถูกออกแบบให้เป็นท้องเรือขนาดใหญ่ ซึ่งการผลิตท้องเรือในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากช่างไม้ต่อเรือฝีมือดีในจังหวัดสมุทรสาครมาช่วยผลิต เป็นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมระหว่างจังหวัด โรงเรียน และชุมชน ไปพร้อมๆ กัน ส่วนโถงใต้อาคารที่มักเป็นพื้นที่สำหรับให้เด็กๆ วิ่งเล่นและทำกิจกรรม ออกแบบส่วนฝ้าเพดานให้เป็นหลุมคล้ายท้องเรือ มีส่วนโค้งเว้าของเสาเพื่อลดความแข็งและลดการการเกิดอุบัติเหตุจากการวิ่งเล่นของเด็กๆ ไปจนถึงการปรับปรุงพื้นให้เป็นพื้น terrazzo ที่มีส่วนผสมของวัสดุหินขัดและขยะขวดแก้ว เพื่อนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสร้างการตระหนักรู้ต่อการรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กๆ  

“โปรเจ็คต์นี้เราปรับปรุงไปหลายส่วนแล้วเหมือนกัน ในอนาคตโรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร ก็ตั้งใจที่จะปิดปรับปรุงพื้นที่ส่วนอื่นๆ ไปเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งผลลัพธ์สุดท้าย ทุกพื้นที่ภายในโรงเรียนก็คงจะออกมาแตกต่างจากโรงเรียนรัฐฯ แห่งอื่นๆ แน่นอน ผมรู้สึกชื่นชมทางโรงเรียนที่เห็นความสำคัญเชิงพื้นที่พอๆ กับหลักสูตรการศึกษา ผมว่าถ้าโรงเรียนรัฐฯ ที่อื่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับปรุงตัวอาคารแบบนี้บ้างก็น่าจะดี” 

จากที่บดินทร์ได้แบ่งปันแนวคิดและมุมมองการปรับปรุงพื้นที่ภายในโรงเรียนอนุบาลสมุทรสาครที่แปลกตาไปจากโรงเรียนรัฐบาลแห่งอื่นๆ ในครั้งนี้ ทำให้พบว่าการจะสร้างโรงเรียนสักแห่งหนึ่ง หรือการจะสร้างผู้ใหญ่จากเด็กสักคนหนึ่งนั้น อาจไม่ได้ถูกอิงจากแค่เรื่องของงบประมาณ หรือหลักสูตรการเรียนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมุมมองจากผู้ใหญ่ที่มองกลับมายังเด็กยุคใหม่นี้ว่า แท้จริงแล้วเด็กๆ ต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องอะไร และหน้าที่ของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะหน้าที่ของครู ก็คงจะต้องสังเกตการณ์กับเรื่องนี้เป็นพิเศษ แม้ว่าสถาปัตยกรรมที่ดีอาจไม่ใช่สูตรตายตัวที่จะทำให้เด็กเติบโตมาได้ดี แต่อย่างน้อยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเสริมสร้างจินตนาการในรูปแบบต่างๆ ก็คงจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และจิตใต้สำนึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้ดีกว่าการนั่งเรียนอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยมมืดๆ อย่างแน่นอน

facebook.com/contextinterior

VIRADASTUDIO

TEXT COURTESY OF VIRADASTUDIO
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
Viradastudio บริษัทออกแบบที่เน้นงานออกแบบตกแต่งภายใน

WHAT
ผู้ให้บริการ ด้านการตกแต่งภายใน ตั้งแต่บ้านพักอาศัย แรกเริ่มเราเน้นงานที่อยู่อาศัยเพราะอยากให้ความสุขของผู้คน เริ่มต้นที่บ้านของเขา แต่ต่อมาได้ขยายงานออกแบบด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ รีสอร์ต Retails Cafe ร้านอาหาร สำนักงาน โรงแรม

WHEN
เริ่มจัดตั้งบริษัทเมื่อ 2019

WHERE
ตอนนี้เราตั้งออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ

WHY
เราเชื่อว่าเรามีส่วนช่วยทำให้ผู้คนมีความสุขจากพื้นที่ส่วนตัวไปถึงพื้นที่ส่วนรวม

BODYtune China Town | Photo: Ketsiree Wongwan

BODYtune China Town | Photo: Ketsiree Wongwan

คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
“ความคิดสร้างสรรค์” ในมุมมองของเราคือ การหาทางออก การสร้างความเป็นไปได้ให้เกิดขึ้น

ขอสามคำให้กับหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
ความสุข | ความเข้าใจ | ความเป็นไปได้

Just-In-Case Home | Photo: Chalermkit Pokamas

คุณคิดว่าอะไรคือความสนุกที่สุดของการทำงานออกแบบภายใน
การแก้ปัญหา การแก้โจทย์ในแต่ละงาน เพื่อตอบความต้องการของแต่ละงานนั้นๆ

โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ทุกงานที่เมื่อจบเราได้สร้างคุณค่าอะไรบางอย่าง และความสุขให้แก่เจ้าของงานและทีมงาน

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
ไปวิ่ง โดยเฉพาะการไปวิ่งในสวน

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
ถ้าเป็นไปได้ คงเป็น Christian Liaigre เพราะชื่นชมในผลงานและสไตล์

Kanissu Ice cream Café | Photo: Natdachat Chatpawee

fb.com/viradastudio

THE NEXT STEP OF OPENBOX

ติดตามการเติบโตไปอีกก้าวของสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม OPENBOX ที่โปรโมต 6 สถาปนิก มากประสบการณ์ให้ขึ้นมามีบทบาทในแถวหน้า ภายใต้การดูแลของรติวัฒน์และปราง สุวรรณไตรย์

Read More

THE STANDARD, BANGKOK MAHANAKHON

โรงแรมที่ฉีกกรอบโรงแรมเดิมๆ ด้วยการผนวกงานศิลปะ ดนตรี แฟชั่น และดีไซน์ที่จัดจ้านเข้ามาเพื่อให้คนที่อยู่ในโรงแรมรู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด พร้อมสโลแกนว่า  “Anything but standard”  

Read More

STUDIO FINE ART

TEXT & PHOTO COURTESY OF STUDIO FINE ART

(For English, press here)

WHO
STUDIO FINE ART เป็นบริษัทออกแบบบริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่ง

WHAT
เราให้บริการงานออกแบบตกแต่งภายใน และกำลังเริ่มรับงานสถาปัตย์

Baan Vibhavadi

WHEN
บริษัทเราเปิดมาได้ 5 ปี

WHERE
เราอยู่กันที่ ประดิพัทธ์ 17 โครงการ 33 Space

คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
สำหรับเรา “ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดเพื่อแก้ปัญหา”

Baan Vibhavadi

อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
แรงบันดาลใจตอนนี้ คือการเห็นงานทุกงานที่ส่งมอบลูกค้าแล้ว ลูกค้ามีความพึงพอใจ ทำให้อยากพัฒนางานต่อๆไปให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ขอสามคำเพื่ออธิบายหลักการในการทำงานของคุณ
Do Less But Do Good

Prima House

โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ถ้าพูดถึงความภูมิใจแล้ว ทุกๆ งานให้ความรู้สึกภูมิใจแตกต่างกันไปครับ บางงานเราเองก็ได้ความรู้ใหม่ๆ จากลูกค้า รวมถึงมิตรภาพดีๆ บางงานเราได้บทเรียนและความรู้เพิ่มเติมจากทีมช่าง ทำให้ในทุกๆ งานมีความประทับใจ และความภูมิใจแตกต่างกันไปครับ สุดท้ายแล้ว เมื่อลูกค้าถือกระเป๋าเดินเข้าบ้านด้วยรอยยิ้ม ทุกหลังคือความภูมิใจของผมที่สุดแล้ว

Prima House

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
นั่งดื่มกาแฟ หรือขับรถไปเรื่อยๆ

มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
พี่ด้วง ดวงฤทธิ์ บุนนาค DUANGRIT BUNNAG ARCHITECT LIMITED (DBALP) ติดตามผลงานของพี่ด้วงมาตั้งแต่เริ่มทำงานออกแบบในปีแรกเลย เพราะชอบความเรียบง่ายแต่ดูดี เส้นสายและการใช้สีในงานออกแบบเรียบง่ายดูสะอาดตาดี อีกคนหนึ่งคือ พี่จูน Jun Sekino Junsekino Architect and Design งานพี่จูนให้แรงบันดาลใจ เรื่องการใช้วัสดุ และการนำเสนอ ด้วยความเรียบง่าย แต่มีเสน่ห์ด้วยการสร้าง contrast ระหว่างวัสดุ ทำให้งานดูน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงการนำเสนอภาพ 3Dที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ดูแล้วเคลียร์เลยในภาพเดียวเลย

Prima House

fb.studiofineart