INSIDE ARCHITECTURE: A CHALLENGE TO JAPANESE SOCIETY

This film presents how the values of architects have changed over the past years through interviews with internationally acclaimed Japanese architects and presenting rich visual content about their work.

In 1982, there was a P3 (Public-Private Partnership) conference held in Charlottesville, Virginia. The conference, held at the University of Virginia’s Rotunda Building, concerned the topic of public-private co-investment in basic infrastructure and public services. There were many global-level architects who joined to confer about the future of design and architecture.  For Japan, there were three architects in attendance: Arata Isozaki and two then young and relatively unknown names, Tadao Ando and Toyo Ito. At that time, no one realized that the latter two would become globally famous architects. 

30 years later, those three architects are willing to discuss and share their stories of being a leading figure behind Japan’s  modern architecture. They also shine a light on and offer a behind-the-scenes look at their arduous profession, in which they, before gaining success, had to face many tests and challenges along the way. Those tests and challenges included working during the time of rapidly growing capitalism, the following economic crisis, how said crisis brought their names international fame, and how those challenges allow for us to re-inspect the roles of public architecture.

The documentary film “Inside Architecture: A Challenge To Japanese Society” shares not only these three architects’ works along with their interviews but also gives voice to comments from numerous leading western architects such as Peter Eisenman, Charles Jencks   and Rem Koolhaas. These comments help the audience to understand different perspectives on Japan’s modern architecture, from those formed in the past to the present and future.

For those interested, the film will be screened at Alliance Française Bangkok’s 3rd-floor Auditorium on the 18th of November 2018 (Sunday) at 13:30-15:00, 15:30-17:00, and 17:30-19:00.

TICKET AVAILABLE

ในปี 1982 ณ เมืองชาร์ลอตส์วิลล์ สหรัฐอเมริกา มีการประชุม P3 (Public-Private Partnership) ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหาแนวทางการร่วมลงทุนระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะต่างๆ ที่อาคาร The Rotuda มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ได้รวมเอาสถาปนิกระดับโลกมาประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับผลงานออกแบบและแนวโน้มของสถาปัตยกรรมต่อไปในอนาคต ในส่วนของประเทศญี่ปุ่น มีผู้เข้าร่วม 3 คน คือ อาราตะ อิโซซากิ กับเด็กหนุ่มอีกสองคนที่ไม่มีใครรู้จักในขณะนั้น ทาดาโอะ อันโด และ โตโย อิโตะ ไม่มีใครจะล่วงรู้ได้เลยว่า ทั้งสองจะกลายมาเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับโลก ณ ปัจจุบัน

30 ปีต่อมา สถาปนิกทั้ง 3 คนได้เปิดใจที่จะพูดคุยผ่านสื่อเกี่ยวกับการเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำต้นแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น พร้อมเปิดเผยให้เห็นถึงเบื้องหลังของการทำงาน ที่ต้องผ่านบททดสอบและความยากลำบากต่างๆ จนประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ เหล่าสถาปนิกที่ก่อร่างสร้างเมืองบนผืนผ้าใบของสังคมทุนนิยมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว วิกฤตการณ์ฟองสบู่แตกสร้างชื่อให้แก่สถาปนิกเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกได้อย่างไร อีกทั้งยังทำให้เราต่างต้องย้อนกลับมาพิจารณาบทบาทของสถาปัตยกรรมสาธารณะต่างๆอีกครั้ง

Inside Architecture: A Challenge To Japanese Society ภาพยนต์เชิงสารคดีที่นอกนำเสนอผลงานและบทสัมภาษณ์สถาปนิกชาวญี่ปุ่นแล้ว ยังรวบรวมเสียงความคิดเห็นจากสถาปนิกแนวหน้าของวงการสถาปัตยกรรมจากฝั่งตะวันตกอย่าง ปีเตอร์ ไอเซนมาน ชารลส์ เจ็งกส์  และเร็ม คูลฮาส ที่จะช่วยให้เห็นและเข้าถึงมุมมองต่างๆตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น

สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพยนต์นี้ได้ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2561
รอบฉาย 13:30 – 15:00, 15:30-17:00, 17:30-19:00 ณ อาคาร Alliance Française Bangkok ห้อง Auditorium ชั้น 3

สำรองที่นั่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *