ป้ายกำกับ: Modern Architecture
SPACE SEEKING – SOUTH SUKHUMVIT ARCHITECTURAL TOUR
ชมสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นในย่าน ‘เซาท์สุขุมวิท’ ในกิจกรรมทัวร์โดย art4d และ Creative Lab by MQDC พร้อมฟังเรื่องราวประกอบการเดินชม ไม่ว่าจะเป็นพื้นหลังของย่านสุขุมวิทใต้ หรือเกร็ดประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรม
FOREST VILLA
บ้านในประเทศจีน ที่ HAS Design and Research ที่สร้างบรรยากาศของการพักผ่อน ด้วยการเชื่อมโยงภายนอกภายใน และการควบคุมคุณภาพแสงธรรมชาติในบ้านให้นุ่มนวล
VERS UNE ARCHITECTURE
ในวาระครบรอบ 100 ปี การตีพิมพ์หนังสือ Vers une Architecture ขอชวนมาสำรวจหนังสือสถาปัตยกรรมมาสเตอร์พีซเล่มนี้โดย Le Corbusier ที่เชิดชูงานวิศวกรรมและเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ว่าเป็นจิตวิญญาณของ ‘Modern Design’ Read More
STUDIO MINIMUS
สตูดิโอสถาปัตยกรรมและออกแบบภายใน ซึ่งเริ่มต้นจากความหลงใหลในความเรียบง่าย เป็นสากล และความสนใจในศิลปะ สู่สไตล์เฉพาะตัวที่นิยามว่าเป็น ‘การออกเเบบร่วมสมัย’
KHAO YAI PRIVATE MEDITATION CENTRE
Khao Yai Private Meditation Centre วิหารที่สถิตของพระพุทธรูปซึ่งรายล้อมด้วยสถานที่ปฏิบัติสมาธิท่ามกลางธรรมชาติ อันมาจากการตั้งคำถามว่าทำอย่างไรให้อุดมคติของสถาปัตยกรรมไทยไปได้กับความเป็นสากล
EVERYDAY MODERNISM: ARCHITECTURE AND SOCIETY IN SINGAPORE
หนังสือที่สำรวจสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในสิงคโปร์ ตั้งแต่ช่วงปี 1930s ถึง 1980s และพาเราไปค้นพบว่า พวกมันมีส่วนก่อร่างสร้างประเทศ และมีบทบาทต่อชีวิตคนสิงคโปร์อย่างไรบ้าง Read More
THE ROBOT’S CHALLENGE: THE OTHER’S (POST?)MODERN
ชมชน ฟูสินไพบูลย์ พาเราไปทำความรู้จักกับ ‘ตึกหุ่นยนต์’ ก่อนที่หน้าตาอาคารจะเปลี่ยนไป และชวนให้เราเห็นความสำคัญของอาคารในฐานะอาคารจากประเทศ ‘โลกที่ 3’ ที่ท้าทายแนวคิดการออกแบบในวงการสถาปัตยกรรมโลก
Read More
NEW KHMER ARCHITECTURE
TEXT & ILLUSTRATION: POUM MEASBANDOL
(For English, press here)
ด้วยพื้นฐานทางการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ผมได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของสถาปนิกกัมพูชาและต่างชาติหลายท่านที่สร้างขึ้นในยุคสังคมราษฎร์นิยม ที่รุ่งโรจน์อยู่ในช่วงระหว่างทศวรรษ 1960 และ 1970 ในกัมพูชา ผมเริ่มทำการศึกษาวิจัยและสะสมภาพถ่ายเก่าของอาคารแนวโมเดิร์นนิสต์ในกัมพูชา และแชร์สิ่งที่ผมพบเจอบนโซเชียลมีเดีย ผมยังพบว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนน้อยที่รู้จักเหล่าสถาปนิกจากช่วงยุค 1960 ยิ่งไปกว่านั้น งานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาสมัยใหม่ในกัมพูชายังปรากฏให้เห็นไม่มากนักในขณะที่มรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้กำลังถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ การได้เห็นความเสื่อมถอยนี้ด้วยตาตัวเองเป็นแรงผลักดันให้ผมเข้าไปมีส่วนร่วมในประเด็นปัญหาดังกล่าวมากขึ้นและเริ่มทำการบันทึกมันเอาไว้ในรูปแบบของ illustration
ในซีรีย์ภาพกราฟิก New Khmer Architecture นี้ ผมให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของอาคารที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกระดับชาติของกัมพูชาอย่าง Vann Molyvann, Lu Ban Hap, Mam Sophana, Ung Krapum Phkar ไปจนถึงผลงานของสถาปนิกต่างชาติอย่าง Henri Chatel, Leroy & Mondet, Georg Lippsmeier และอื่นๆ
การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายคือการระลึกถึงความสำเร็จรุ่งเรืองในอดีตและเพื่อให้มันเป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมกัมพูชาสมัยใหม่ในภาพที่แปลกใหม่และน่าจดจำ ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารแต่ละหลัง ผลลัพธิ์ที่ได้คือผลงานที่แสดงความคารวะต่อเหล่าผู้บุกเบิกงานสถาปัตยกรรมกัมพูชาสมัยใหม่ ผู้สร้างสิ่งอันเป็นมรดกตกทอดที่กำลังสุ่มเสี่ยงต่อการจางหาย ที่แม้จะเป็นไปอย่างช้าๆ หากแต่ว่าแน่นอน
_____________
Poum Measbandol ทำงานเป็นสถาปนิกอยู่ในกรุงพนมเปญ เขาจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัย Pannasatra University of Cambodia
NIEMEYER PAVILION AT CHÂTEAU LA COSTE
‘เส้นโค้ง’ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ในผลงานทุกชิ้นของ Oscar Niemeyer ไม่เว้นแม้แต่ผลงานชิ้นนี้ที่เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเขา ลองดูแนวคิดเบื้องหลัง Pavilion ที่สะท้อนแนวคิดการใช้เส้นโค้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดของ Niemeyer ที่ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม