PARTY ANIMAL

Dance and site specific at Nelson Hays Library & MAIIAM Contemporary Art Museum, when architecture becomes a landscape for performances

Architecture at its pinnacled form can be considered as a monumental artwork. When one enters into a polished and well designed space, that person is filled, often unconsciously, with some kind of emotion conveyed by the specific combination of shapes, textures, colors, light & shadow of the space, in the same way as someone experiences the view of an art piece in a museum. Thus, it is the premise of Jitti Chompee, artistic director of 18Monkeys Dance Theatre and Unfolding Kafka Festival, who uses architecture and various forms of space as a canvas for his creations.

Since the very beginning of his artistic life, Jitti, who is also an accomplished choreographer, freed himself from the traditional theatre stage to explore other possibilities with abandoned or unusual spaces found around Bangkok. So, this November, to present his latest creation Party Animal, which relates to the language of space and form, Jitti chose the Neilson Hays Library and MAIIAM Contemporary Art Museum to allow the audience to engage with the performers in a very personal manner since every audience members will be sitting very close to the performance. The piece plays with both recognition, strangeness and may evoke various meanings such as hidden feelings lurked within every human. At first sight, the performance can appear as something captivating to contemplate and it slowly transforms to be a landscape where we find ourselves to live or we don’t dare to mention. The audience will be engaged and encouraged to diversify their perception of arts and their background. Jitti believes that when art is accessible and relevant, it can contribute to gradually transform society by questioning our understanding of the past, but also by revealing a raw vision of the essence of humanity and by connecting people to their contemporary reality.

In addition to his expression through space, Jitti finds inspiration from visual artists that depict striking images, including for instance the sexually tinted sculptures of Louise Bourgeois or the raw and disfigured sculptures by Berlinda De Bruyckere. Jitti was especially stimulated by Bourgeois’ sculpture Couple and had the vision to bring to life her pink dolls as highly sexual creatures where the perpetual moving juxtaposition of their bodies defines an original aesthetic for Party Animal. He was also intrigued by the abstract architecture of the bare human bodies in De Bruyckere’s sculptures, which still resemble natural human positions. He transformed his experiences into a personal visual language through the use of mythological and archetypal imaginary, adopting animal gestures to symbolize human psyche, sexual desire and gender. Hence, he uses this inspiration to design shapes and positions of the dancers’ bodies, both individually and with one another. Similarly, the rearrangement of objects and bodies to produce a cohesive depiction in the cubist movement stimulates Jitti to experiment with creating distorted images, including animalistic bodies. These art works guide him to achieve similar effects of creating peculiar images within his choreography that trigger various feelings and associations in the audience.

CONVERSATION WITH JITTI CHOMPEE

Where came the idea for Party Animal?

Party Animal revolves around 3 main interests: catharsis behavior in our contemporary society, psychology of space and gender & identity issues. The idea for this project came when I have recently been invited for a wild night at Berghain nightclub. I have heard of this place for such a long time. So, curious about all the excitement around this mythical place, I started to read more about it and all the crazy stories people tell about their night at the club. Thus, at the core of this project I wish to explore catharsis human behaviors that we find, among others, in nightlife. I like the fact that “normal” people during the day can transform into something completely unexpected at night. I wish to change the paradigms of normality when it comes to sexuality, pleasure and basic instinct. In some spaces, people free themselves and let their hidden desire become reality with techno music or illicit drugs, etc. So, I want to find how the wide range of behaviours can serve as a starting point for gestures and movements in the choreography.

Since Berghain is located in an old industrial building reclaimed by the nightclubers, it reminded me of some other examples where people from marginalized groups have found theirs ways to use unexpected or even public spaces to free themselves from conformism and let go of their most inner desire. For instance, I am aware that some areas in Central Park, New York or in the gardens by Le Louvre Museum, Paris have been used for many years in the past (maybe still) by the gay community for impromptu casual sex acts hidden by nature while being in the middle of the city. I am fascinated by the way people find new function for spaces often designed for a complete different purpose. Thus, I am wondering if there are elements or factors, which influences the choice for these spaces and how we transform the space and the city can somehow reveal some hidden inner thoughts. In the context of a performance, the use of space and the scenography can connect the audience in a different way and push the site specific experience even further. It is my intention to question how space influences our way of living while addressing gender & identity issues. As a recurring theme in my work, I like to redefine these notions since it is an intrinsic part of human nature. Therefore, with Party Animal, I propose to question our own preconceptions. Then, being confronted with a more abstract and fluid reality, people start to examine their own understanding, hence making the piece more relevant.

What is Party Animal?

Party Animal is a dance piece, inspired by the mythical BERGHAIN, the Berlin ultimate destination for electronic music club, where Jitti explores the underground nightlife with its mysterious beings and all kinds of sexual pleasure. In this playground where anything and everything is possible, humans become animals to free their primal behavior and inner most hidden desire to remain in a perpetual state of euphoria and excitement. Here, there isn’t any authority to dictate normality; male and female mingle as they want in a chaotic orgy of pleasure, enhanced by some substances to live the utmost raw and sensual experience. In a way, PARTY ANIMAL, just like some marginalized communities, has redefined unexpected spaces to surrender itself to the pleasure of the flesh. In those momentary “site specific”, where bodies get stimulated by all imaginable ways, under the mesmerizing influence of loud repetitive techno music and illicit drugs, dance mixes with sexual acts to trigger natural relentless improvised motions. Free from any restrain, it can anonymously let its mind and body loose to satisfy its thirst for an unending exhilarating sensation it is thriving for. Thus, it is Jitti’s interest to dig into this alternative universe to propose an organic and raw dance composition tinted by his shocking, crazy and humorous personal style.

Date & Time

19.30 p.m. 16-19 November 2018 – Neilson Hays Library BANGKOK
19.00 p.m. 23 November 2018 – MAIIAM Contemporary Art Museum CHIANG MAI

Ticket & More information

18monkeysdancetheatre@gmail.com
www.18monkeysdancetheatre.com

เราอาจมองงานสถาปัตยกรรมเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ที่ใช้งานได้จริง การเดินเข้าไปในพื้นที่ที่ถูกออกแบบมาอย่างดี จะได้ความรู้สึก และอารมณ์ของพื้นที่ซึ่งมีการผสมผสานกันระหว่างรูปทรง พื้นผิว และแสงเงาเข้าไปอย่างไม่รู้ตัว ไม่ต่างไปจากประสบการณ์ของการเดินชมงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ นี่เป็นแนวคิดของจิตติ ชมพี artistic director จาก 18 Monkeys Dance Theatre ผู้อยู่เบื้องหลังงาน Unfolding Kafka Festival ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบการแสดงร่วมกับตัวสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว และถนัดในการเลือกใช้พื้นที่ภายในและภายนอกของตัวสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม จนกลายมาเป็นเวทีหรือฉากแสดงรองรับองค์ประกอบศิลป์ของเขา 

จิตติ เป็นศิลปินผู้ออกแบบท่าเต้นที่เอาตัวออกห่างเวทีมาตรฐานหรือการแสดงที่ต้องเล่นในโรงละครที่มองได้ด้านเดี่ยวจากด้านหน้าของเวที ไปหาความเป็นไปได้ของการทำงานกับพื้นที่อื่นๆ แทนส่ิงเหล่านั้นมาตั้งแต่แรกโดยในเดือนพฤจิกายนนี้ เขากำลังจะมีผลงานชุดล่าสุด Party Animal ที่จะเกิดขึ้นในสองพื้นที่คือ ห้องสมุด Neilson Hays Library และ ที่พิพิธภัณฑ์ MAIIAM Contemporary Art Museum ทั้งสองครั้งของการแสดง สารที่ผู้ชมจะได้รับจะแตกต่างกันผกผันไปตามสถานที่ที่ใช้จัดแสดง และด้วยตำแหน่งของคนดูที่ถูกกำหนดให้ประชิดกับนักแสดง Party Animal จะเล่นกับความรู้สึกคุ้นเคย ความแปลกแยก และกระตุ้นความรู้สึกบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ ดีกรีของความรู้สึก ค่อยๆ เข้มข้นขึ้น จากสถานการณ์ที่อยู่ในการควบคุมในช่วงแรก ไปจนถึงจุดๆ หนึ่งที่พื้นที่กลายเป็นดินแดนที่เราไม่รู้จัก และนำไปสู่การตั้งคำถามต่อนิยามของคำว่าศิลปะของตัวผู้ชมเอง จิตติเชื่อว่า เมื่อศิลปะเข้าถึงคนหมู่มาก มันจะช่วยเปลี่ยนหน้าตาของสังคมไป ไม่ว่าจะด้วยการตั้งคำถามหรือทำความเข้าใจกับอดีต การเปิดเผยแก่นแท้ของความเป็นมุนษย์ และการเชื่อมพวกเขาเข้ากับความจริงในปัจจุบัน 

นอกเหนือจากการใช้พื้นที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความหมาย แรงบันดาลใจของจิตติยังมาจากความดิบสด ความงดงามบิดเบี้ยวของสรีระของมนุษย์ในงานประติมากรรมโดย Berlinda De Bruyckere และโดยเฉพาะประติมากรรมที่มีนัยทางเพศ ‘Couple’ ของศิลปิน Louise Bourgeois ที่จิตติ นำมาใช้ในการออกแบบโทนสีของเสื้อผ้า การเคลื่อนไหวของนักแสดงรวมถึงความชัดเจนในเรื่องเพศ ใน Party Animal เป็นอย่างมาก จิตติยังให้ความสนใจกับประติมากรรมของ De Bruyckere และมองว่าร่างเปลือยเปล่าของมนุษย์นั้นมีโครงสร้างแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมซ่อนอยู่ ศิลปินแปลงประสบการณ์ส่วนตัวออกมาเป็น visual language โดยใช้สัญลักษณ์ในเรื่องเล่าและตำนาน และพฤติกรรมท่าทางของสัตว์ มาจำลองร่างกายของความเป็นมนุษย์ที่มีทั้งเพศสภาพ และความปรารถนาทางเพศ การจัดองค์ประกอบภาพของศิลปะกระแส cubist ก็เช่นกันที่ทำให้ จิตติ ทดลองกับการสร้างความบิดเบี้ยวบนตัวละคร อิทธิพลทางศิลปะทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ส่งผลต่อแนวทางการทำงานของเขา ที่ใช้ร่างกาย / การแสดงเป็นสื่อในการ “สร้างภาพ” ที่กระตุ้นหลายๆ ความรู้สึกของผู้เฝ้ามองอย่างผู้ชม 

CONVERSATION WITH JITTI CHOMPEE

Q: คุณได้แนวคิดของ Party Animal มาจากไหน
A: แนวคิดหลักของ Party Animal นั้นมีอยู่ 3 อย่าง นั่นคือ พฤติกรรมที่ถูกปลดปล่อยในสังคมปัจจุบัน จิตวิทยาในเชิงพื้นที่ และ วิกฤตของเพศสภาพและตัวตน ผมได้แนวคิดเกี่ยวกับงานชิ้นนี้ตอนที่ผมถูกเชิญไปสังสรรค์ที่ Berghain nightclub ซึ่งมันเป็นคืนที่บ้าคลั่งมากๆ ผมเคยได้ยินเกี่ยวกับ nightclub แห่งนี้มานานแล้ว ผมสงสัยว่าทำไมผู้คนจึงตื่นเต้นกับสถานที่ลึกลับแห่งนี้ ผมก็เลยลองไปหาอ่านเรื่องเจ๋งๆ ที่ผู้คนได้ประสบที่นี่ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผมอยากให้แกนหลักของงานชิ้นนี้เป็นการสำรวจพฤติกรรมที่มนุษย์ปลดปล่อยออกมาในการใช้ชีวิตกลางคืน ผมชอบความจริงที่ว่าคนที่ดูปกติในเวลากลางวันสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอีกคนได้ในเวลากลางคืน ผมอยากเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่าความปกติ โดยเฉพาะในปริมณฑลของความสุขทางเพศ และสัญชาตญานขั้นพื้นฐาน ในบางสถานที่ ผู้คนจะสามารถปลดปล่อยตัวเองและความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ได้ผ่าน techno music หรือการใช้ยาเสพย์ติด ผมจึงอยากค้นหาว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นของท่าทางและการเคลื่อนไหวใน choreography ได้อย่างไร 

คงเพราะ Berghain ตั้งอยู่ในโรงงานเก่าและเป็นจุดนัดพบคนกลุ่มที่ชอบเที่ยวกลางคืนเลยทำให้ผมนึกถึงเรื่อง การรวมตัวกันของคนกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามหาพื้นที่ลับๆ หรือพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำกิจกรรมบางอย่าง หรืออาจจะเรียกว่า ปลดปล่อยตัวเองอย่างเต็มที่ร่วมกัน  ผมรู้มาว่าสถานที่อย่าง Central Park ในนิวยอร์กหรือสวนของ Le Louvre Museum ในปารีสนั้น เคยเป็น (หรืออาจจะยังเป็นอยู่) พื้นที่ที่เกย์กลุ่มหนึ่งใช้เป็นสถานที่ร่วมเพศกันอย่างลับๆ ผมรู้สึกทึ่งไปกับการที่ผู้คนสามารถหาทางใหม่ๆ ในการใช้งานพื้นที่ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบอื่น และสงสัยต่อไปว่ามันมีปัจจัยอะไรที่ทำให้ผู้คนเลือกใช้งานพื้นที่เหล่านั้น รวมไปถึงประเด็นว่าการเปลี่ยนแปลงพื้นที่และตัวเมืองจะสามารถดึงความคิดที่ซ่อนอยู่ของผู้ใช้งานแต่ละคนได้อย่างไร ในบริบทของการแสดง การใช้พื้นที่และ scenography จะสามารถเชื่อมโยงผู้ชมได้ในหลากหลายวิธีและยังสร้างประสบการณ์เฉพาะพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น ผมตัองการตั้งคำถามว่าพื้นที่มีผลกับการใช้ชีวิตของเราอย่างไร รวมทั้งการพูดถึงประเด็นทางเพศและตัวตน งานของผมมักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ เพราะตัวผมเองนั้นชอบสร้างความหมายใหม่ให้กับสิ่งเหล่านี้เนื่องจากพวกมันเป็นส่วนหนึ่งที่มีมาแต่เดิมของธรรมชาติมนุษย์ Party Animal จึงเกี่ยวกับการตั้งคำถามถึงการตั้งแง่ต่อเรื่องต่างๆ ของตัวเราเอง เมื่อผู้ชมได้เผชิญหน้ากับความจริงที่ไม่เป็นรูปธรรมและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ พวกเขาจะเริ่มตั้งคำถามกับการรับรู้ของตัวเองและทำให้งานชิ้นนี้มีความหมายขึ้นมา

Q: Party Animal คืออะไร
A: Party Animal เป็นการแสดงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Berghain electronic music club ในเบอร์ลินที่เป็นที่นิยมในหมู่นักเที่ยวกลางคืน พื้นที่ซึ่งจิตติ ลงไปสำรวจเรื่องราวของชีวิตกลางคืนที่เต็มไปด้วยทุกๆ ชนิดของการเสพสุขทางเพศ ในพื้นนั้น ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ มนุษย์กลางร่างเป็นสัตว์ ปลอดปล่อยทั้งความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ในใจ และปล่อยตัวไปกับสภาวะที่ไม่มีกรอบของศิลธรรมและขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับความปกติ ร่างกายของผู้แสดงทั้งชายและหญิงจะกลายเป็นเนื้อเดียวกันในภายใต้ฤทธิ์ของความึนเมา จนดูเหมือนว่ามหรสพแห่งการเสพสุขอันวายป่วงจะดำเนินต่อไปอย่างไม่จบสิ้น 

ในอีกมุมหนึ่ง Party Animal ก็เป็นเหมือนสังคมย่อยๆ กลุ่มหนึ่ง ที่หาที่ทางให้กับตัวเองได้ปลดปล่อยความต้องการ ใน ‘พื้นที่เฉพาะ’ นั้น ที่ร่างกายของเขาจะกลายไปเป็นสิ่งอื่นไปในสภาพแวดล้อมที่เร่งเร้าด้วยเสียงของ techno music สารเสพติด และการเต้นยั่วยวนที่กระตุ้นความต้องการ การหลุดพ้นจากข้อจำกัด จะทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจเข้าถึงความสุข และปรารถนาที่จะอยู่ในห้วงเวลาเหล่านั้นอย่างไม่สิ้นสุด นี่เป็นสิ่งที่จิตติ ต้องการนำเข้ามาอยู่ในงานชิ้นนี้ กับการแสดงชุดที่เต็มไปด้วยธรรมชาติอันดิบเถื่อน ความบ้าคลั่งปนขบขัน อันเป็นลายเซ็นในการทำงานศิลปะของเขาเอง

วันและเวลาจัดแสดง
16-19 พฤศจิกายน 19:30 น. Neilson Hays Library กรุงเทพฯ
23 พฤศจิกายน 19:00 น. MAIIAM Contemporary Art Museum เชียงใหม่

ซื้อตั๋วได้ที่ 
18monkeysdancetheatre@gmail.com
www.18monkeysdancetheatre.com

18monkeysdancetheatre.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *