The new office of Fat Films, a production house led by Vanich Sooksiri, so white so harse but not so true
An office in a small house full of greenery and warmth is a dream for many . But not so for ad man Vanich Sooksiri. The new office of Fat Films, in many ways, reflects his desires.
All functional space is divided into two rectangular buildings standing in parallel and connected by a pathway. There is a void that flows through the middle part of both buildings from the front to the back, with a view of an open field. The front building is the reception hall. The other is the cafeteria for staff. The interior plan is simple and straightforward, seemingly telling the “truth” of its function. A glass wall allows enormous volume of light to come through as well as heat. However, Vanich does not care much for the comfort factor. His desire is to create freedom for his staff rather than comfort. To him, comfort means becoming lazy. The building’s beauty is expressed through creating extreme visual impact. It seems that whoever contacts this company, must be first dominated by its “power” and the cold radiation that prevails from the space and other elements. In contrast the other building at the back, which is a small studio, is more friendly and relaxing. This means if you can talk business having dealt with the front part, you have passed the barrier and are ready to sit and sip coffee, chatting about issues just discussed or, have a delightful lunch here.
The exterior skin plays a crucial role in creating great visual impact, although it is only the geometrical steel poles enclosing the front building and part of the open space that creates this look. This rigid order of steel rows is matched with multi-level round lamps, which make spectacular sense here. This is the success of visual impact of the project. Since the building itself already has I-beam columns to support the roof as well as to define the space, this leads to the question “is it necessary to have this steel row enclosing the building?” These steel poles, nothing but ornaments that act as catalysts of visual impact, are in contrast with simple aspects of architecture. If the master of truth, Mies van der Rohe sees this, he may start to cry. And, if “Ornament is a crime” as conceives by Adolf Loos, it still the iron rule applied to creating architecture today, some one might get arrested here. Good architecture consists of many components and conditions, physical and psychological context as well as current issues, all play a role in well-designed architecture. In this case, the offices of Fat Films successfully reflect the owner’s character as an ad man in a production house for which, visual impact or gimmick is a key to achieving an identity even though some truths are neglected in the process.
ออฟฟิศน่ารักในบ้านหลังเล็กบรรยากาศอบอุ่นอุดมด้วยพืชพันธุ์เขียวขจี กลุ่มพลูด่างแขวนลอยตามริมหน้าต่างส่งบรรยากาศรื่นรมย์ดูน่าจะเป็นออฟฟิศในดวงใจของใครหลายคน แต่ถ้าถามคนโฆษณาอย่าง วณิช สุขศิริ โต้โผใหญ่แห่ง Fat Films ไอ้สิ่งเหล่านั้นกลับเป็นบรรยากาศที่น่ารำคาญที่สุดสำหรับการทำงานของเขา
“ไม่เข้าใจ ทำไมมันต้องปลูกพลูด่างกันด้วย” คำอุทานเชิงหงุดหงิดที่เจ้าตัววณิชเองดูอยากจะถามพนักงานทั้งหมดของเขา เพราะถ้าพูดถึงสำนักงานของ Fat Films จริงๆ ตามความ “อยาก” ของเขาแล้ว ไอ้อาคารที่เห็นอยู่ตรงหน้าก็ไม่เพี้ยนจากต้นขั้วสักเท่าไหร่
ส่วนใช้สอยทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองหลังทอดตัวขนานกัน คั่นกลางด้วยทางเดิน และเป็นตัวเชื่อมประตูหน้าหลังของอาคารทั้งสอง โดยเฉพาะตรงส่วนกลางของอาคารทั้งสองถูกเจาะทะลุไหลเลยต่อกันไปจนถึงทุ่งโล่งด้านหลังทั้งทางกายภาพและสายตา ซึ่งอาคารหน้าถูกใช้เป็นโถงต้อนรับ และอาคารหลังกลายเป็นห้องพักทานอาหารของพนักงานทั้งหมดของ Fat Films ผังภายในของอาคารทั้งสองถูกวางอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมา คล้ายจะบอกว่า “สัจจะ” ของการใช้งานมันก็อย่างนี้แหละ เพราะแต่ละห้องทั้งในส่วนห้องประชุมย่อย และแผนกปฏิบัติการต่างๆ ในชั้นหนึ่งของอาคารหน้า และห้องผู้กำกับทั้งหลายบนชั้นสองต่างเป็นห้องสี่เหลี่ยมง่ายๆ วางเรียงตัวเป็นแถวตรงดาหน้าออกมาสู่ลานซีเมนต์อันโอ่โถง และสนามหญ้าเรียบเขียวจะมีก็เพียงแผงหน้าต่างกระจกกั้นพรมแดนทางกายภาพระหว่างภายนอกและภายในเท่านั้น ฉะนั้นในตอนกลางวันเมื่อแสงธรรมชาติบวกเข้ากับสีขาวของอาคารทั้งภายนอกและภายในด้วยแล้ว ก็เรียกได้ว่าสำนักงานนี้ท่วมไปด้วยแสงสว่างอย่างเหลือคณานับทีเดียว แต่แน่นอนว่าความร้อนคู่หูของแสงแดดย่อมเกี่ยวแขนเข้ามาด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่มันก็เป็นเพียงความไม่สบายอันหนึ่งที่วณิชเลือกจะไม่สนใจ เพราะจะว่าไปแล้วความต้องการของเขาที่มีต่อสำนักงานแห่งนี้มุ่งเน้นไปในเรื่องความเป็นอิสระของพนักงานมากกว่าความสบาย เพราะไอ้ความสบายที่ว่ามันจะกลายเป็นบ่อเกิดของความขี้เกียจในพนักงานแต่ละคน ความงามของอาคารจะต้องออกมาเป็นความเย็นชาที่เต็มไปด้วย visual impact อันรุนแรงและสะใจ ประมาณว่าใครก็ตามที่มาติดต่อกับทางบริษัทแทบจะต้องเดินหงอเข้ามา เพราะด้วย “พลัง” และรังสีเย็นชาที่แผ่ซ่านออกจากสเปซและองค์ประกอบต่างๆ ของอาคาร แต่ในทางกลับกัน อาคารชั้นเดียวด้านหลังอันเป็นที่อยู่ของสตูดิโอขนาดเล็กๆ กลับมีบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นมิตรมากขึ้น คล้ายกับว่าถ้าคุณสามารถมาติดต่อทำธุรกรรมในส่วนหน้าๆ ได้แล้วก็ถือว่าได้ผ่านด่าน และพร้อมที่จะเข้าสู่ส่วนต้อนรับอีกขั้นที่กันเองมากขึ้น ไม่ว่าจะจิบชากาแฟยามสายคุยถึงงานที่ผ่านไป หรือทานอาหารกลางวันอย่างออกรสออกชาติ
ผิวพรรณภายนอกของอาคารสำนักงานแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มี visual impact มหาศาลทำให้อาคารนี้มีมิติที่ต่างออกไปอย่างคาดไม่ถึง ช่วยให้อาคารสี่เหลี่ยมทื่อๆ สีขาวดูมีเรื่องราวขึ้นมาทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นเพียงแท่งเหล็กเหลี่ยมที่วางตามแนวตั้งล้อมรอบอาคารสองชั้นด้านหน้า และส่วน open space บางส่วนเข้าเป็นหนึ่งเดียว พร้อมกับทำหน้าที่ช่วย define สเปซได้อย่างแนบเนียน แล้วเมื่อความเป็นระเบียบของเส้นตรงของแท่งเหล็กเหล่านี้ถูกล้อเข้ากับโคมไฟดวงกลมจำนวนหลายสิบดวงที่ลอยสูงต่ำไม่ซ้ำกัน ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นซีน (scene) หรือสเปซที่มีมิติแปลกตาออกไป ซึ่งก็เป็นความสำเร็จในการสร้าง visual impact ที่รุนแรงอันหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ หากแต่ในความเป็นจริงมันกลับสวนทางกับสัจจะบางอย่างทางสถาปัตยกรรม ซึ่งจะว่าไปกรณีเช่นนี้ก็พบได้ในหลายๆ งานออกแบบที่มีอยู่ดาษดื่นทั่วไป และนี่ก็คงเป็นอีกชิ้นหนึ่ง เพราะหากมองดูกันอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว “จำเป็นมั้ยที่จะต้องมีแท่งเหล็กเหล่านี้ล้อมรอบอาคาร” จะเป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในห้วงความคิดอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะด้วยตัวของอาคารเองก็มีเสา I-beam รับน้ำหนักของหลังคาที่ยื่นออกไปด้านหน้าเพื่อ define space อยู่แล้ว ฉะนั้นแท่งเหล็กเหล่านั้นก็ไม่ค่อยจะต่างอะไรกับผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติของมันซึ่งเดิมอาจจะบริสุทธิ์และคงคุณค่าของมันอยู่ มันจึงเหมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งก็คือ visual impact ชั้นดีที่ถูกเติมเข้าไป ตามวิธีคิดที่ช่างขัดแย้งกับบุคลิกอันเรียบนิ่ง และเต็มไปด้วยสัจจะที่ถูกก่อร่างขึ้นของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ ชนิดที่ว่าหากบิดาแห่งสัจจะสถาปัตยกรรม มีส ฟาน เดอ โรห์ ได้มาเห็นคงต้องมีน้ำตาซึมกันไปบ้าง และถ้า “ornament is a crime” ตามแนวคิดของ อดอล์ฟ ลูส์ ยังคงเป็นกฎเหล็กของการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมในยุคนี้อยู่ งานนี้คงมีคนถูกจับฐานก่ออาชญากรรมเล็กๆ กันไปบ้างพอหอมปากหอมคอ
การออกแบบงานสถาปัตยกรรมดีๆ สักชิ้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยองค์ประกอบและข้อแม้มากมายนานัปการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของมันเองโดยตรง หรือทั้งรสนิยมของทั้งเจ้าของและผู้ออกแบบ ลักษณะการใช้สอย สภาวะแวดล้อม รวมทั้ง context ทั้งในแง่กายภาพและนามธรรม ประเด็นของยุคสมัยหรือความเป็นไปในช่วงนั้นๆ แต่ข้อหนึ่งที่น่าจะเป็นตัวร่วมในการมองความ “เป็น” สถาปัตยกรรมชิ้นนั้นก็น่าจะอยู่ที่การที่ตัวงานได้สะท้อนถึงบุคลิกของเข้าของว่าเหมาะกับตัวเขาอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้ อาคารสำนักงานของ Fat Films ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ เพราะมันได้บอกกล่าวความเป็นคนโฆษณาอย่าง production house แห่งนี้ที่มี visual impact หรือ gimmick เป็นกุญแจดอกหนึ่งในการไขออกไปสู่เนื้องานอันบริบูรณ์ ดังเช่นอาคารหลังนี้ได้ถูกจัดการไว้แล้ว เพราะแม้บางที่สัจจะต่างๆ จะถูกมองข้ามไปบ้าง แต่นั่นก็เป็นเงื่อนไขของการอยู่รอดในสังคมปัจจุบันไม่ใช่หรือ
FROM THE ARCHIVE
First published in art4d No.92, April 2003
TEXT: NARONG OTHAVORN