THE HORIZON OF POSSIBILITY

HOW DOES SCIENCE FICTION FORESEE SOCIETY? AND CAN WE IMAGINE THE FUTURE FROM ITS OWN PAST? QUESTIONS WICHIT HORYINGSAWAD

TEXT: WICHIT HORYINGSAWAD

(For English, please scroll down)

หลายครั้งที่เนื้อหาในหนังสือการ์ตูนเซนเรื่อง The Upside Down Circle: Zen Laughter (1988) ที่เขียนโดยอาจารย์เซน Don Gilbert ที่เคยอ่านสมัยเด็กมักจะผุดขึ้นมาให้นึกถึง ฉากการสนทนากันระหว่างเจ้าตูบกับพระอาจารย์ เมื่อเจ้าตูบยืนยันกับพระอาจารย์ว่าความคิดเป็นกุญแจที่ทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงความรู้ที่ถูกต้อง ขณะที่พระอาจารย์กลับอธิบายธรรมชาติของความคิดว่าแท้ที่จริงแล้วมันเป็นแค่การวางเงื่อนไข เพื่อสะสมความคิดเก่าๆ เอาไว้เป็นฐาน ความคิดเก่าๆ นิสัยเก่าๆ ทำหน้าที่ในการกำหนดความคิดใหม่ๆ นิสัยใหม่ๆ ยิ่งสร้างนิสัยแบบนี้ขึ้นมามากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เราเข้าใจไปเองว่าความคิดก็คือความจริง เราสร้างโลกอีกใบขึ้นมาใหม่ โลกที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากนิสัยและความคิดเก่าๆ ของเราเอง

เมื่อได้อ่าน Progress versus Utopia; Or, Can We Imagine the Future? (1982) ที่เขียนโดย Fredric Jameson ซึ่งเป็นบทความที่เขียนวิเคราะห์เนื้อหาของนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขาพยายามที่จะอธิบายว่าเนื้อหาแทบทั้งหมดที่ว่าด้วยสังคมในอนาคตที่ปรากฏในนิยายไม่ว่าเราจะมองว่ามันเป็น Utopia หรือ Dystopia แท้จริงแล้วมันก็เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน ซึ่งล้วนเป็นปฏิกิริยาที่มีต่อ อุดมคติ อุดมการณ์ ระบบกลไกของทุน และสภาพสังคมซึ่งสะท้อนออกมาจากบริบทของนิยายชิ้นนั้นๆ จะว่าไปแล้วการมองไปในโลกอนาคตในนิยายวิทยาศาสตร์จึงไม่ค่อยต่างจากเรื่องที่พระอาจารย์พูดกับเจ้าตูบเอาไว้ใน The Upside Down Circle เท่าไหร่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงเกิดคำถามว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่เราจะคิดถึงอนาคตที่หลุดออกไปจากกับดักความคิดของเราเอง ในโลกยุคปัจจุบันซึ่งการทำงานและความคิดที่เรามีต่อสิ่งที่เรียกว่าเวลาได้ขยายและหดตัวไปตามจังหวะชีวิตของแต่ละบุคคลซึ่งไม่แน่นอนและยากที่จะทำนายได้ตามพัฒนาการที่เกิดขึ้นของเทคโนโลยีในโลกดิจิตอลในปัจจุบัน ส่งผลให้ความเชื่อในเรื่องอนาคตและความก้าวหน้าแบบเดิมๆ อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย จะทำอย่างไรเมื่อกงล้อที่หมุนด้วยและพัฒนาขึ้นด้วยฐานคิดและนิสัยแบบเดิมๆ เริ่มใช้งานไม่ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้เราควรมีท่าทีต่อสิ่งที่เรียกว่าอนาคตอย่างไร

ในหนังสือ Futurability: The Age of Impotence and the Horizon of Possibility (2017) ที่เขียนโดย Franco ‘Bifo’ Berardi นักทฤษฎีมาร์กซิสต์ชาวอิตาลี เขาได้เสนอให้เรามองอนาคตเป็นเสมือนสิ่งที่เรียกว่ากระบวนการของการกลายเป็นสิ่งอื่น (becoming other) ด้วยการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ แน่นอนว่าความเป็นไปได้นั้นเป็นพหุภาวะ (plural) แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นอนันต์ (infinite) (ซึ่งทำให้สภาวะนี้ห่างไกลจากความคิดในการมองในกรอบคิดเรื่อง Utopia และ Progress ที่มองเวลาที่มีพัฒนาการเป็นเส้นตรง) และสิ่งที่จำกัดความเป็นไปได้เกิดจากความเป็นไปไม่ได้ที่ถูกจารไว้ในปัจจุบัน (inscribed imposibilities of the present) ซึ่งเป็นได้ทั้งข้อจำกัดและโอกาสในเวลาเดียวกัน และเมื่อความเป็นไปได้แบบต่างๆ เผชิญหน้ากันองคาพยพก็จะเกิดการแกว่งและผสานกันกลายเป็นพลัง (potency) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความเป็นไปได้ให้ปรากฏชัดขึ้น (actualities)

ด้วยคุณสมบัติของความเป็นไปได้ที่ว่านี้หากเราจะลองเปรียบเทียบให้เห็นเป็นภาพขึ้นมา อาจจะทำให้เรานึกถึงคุณสมบัติที่มีอยู่ในผลงานภาพถ่ายในชุดที่มีชื่อว่า ‘Field’ (1995-1998) ของศิลปินที่มีชื่อว่า Uta Barth ซึ่งผลงานชุดนี้เธอถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันด้วยการปรับโฟกัสของกล้องให้มีลักษณะเบลอ (blur) ทำให้ภาพที่ได้มีลักษณะที่คลุมเครือระหว่างความเป็นรูปธรรมและนามธรรม จนเกิดสภาวะที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความเบาหวิว เป็นสภาวะที่ image นั้นอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักและพร้อมที่จะกลายเป็นสิ่งอื่นๆ (และสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน) มากกว่าภาพที่ถูกกำหนดด้วยองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งที่กำหนด hierarchy ของภาพในลักษณะที่ตายตัว

ในงานสถาปัตยกรรมอย่าง KAIT Workshop (2008) ที่อยู่ในพื้นที่ของ Kanagawa Institute of Technology ผลงานออกแบบของสถาปนิกชาวญี่ปุ่น Junya Ishigami ก็มีคุณสมบัติที่ว่านี้เช่นเดียวกัน สิ่งที่เขาทำในงานออกแบบสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ก็คือสร้างทางเลือกให้การเดินทั้งหมด ในตัวสถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นพหุภาวะ และทำให้พื้นที่ว่างภายในของสถาปัตยกรรมตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันของผู้ใช้ ทำให้ความเป็นไปได้ในการใช้งานมีทางเลือกและข้อจำกัดที่ต่างกันไปทั้งในแง่พื้นที่และเวลาของแต่ละบุคคล ซึ่งน่าจะสะท้อนคุณสมบัติของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ผ่านงานสถาปัตยกรรมออกมา

“Can We Imagine the Future?” ถ้าเราจะถามคำถามนี้ในปัจจุบันซึ่งแน่นอนว่าอนาคตย่อมไม่จำเป็นต้องมีความหมายที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าอีกต่อไป และภาพของโลกในอนาคตที่เราลองจินตนาการด้วยเงื่อนไขที่ได้กล่าวไปแล้วอาจจะเป็นกระบวนการของการกลายเป็นสิ่งอื่น แบบที่ Franco ‘Bifo’ Berardi ได้เสนอเอาไว้ โลกที่เราอาจจะเรียกมันว่า “Post-Futurist World”

Kanagawa Institute of Technolgy Workshop, courtesy of Junya Ishigami + Associates

There are many instances when stories from a Zen comic book I read when I was a kid, “The Upside Down Circle: Zen Laughter” (1988), created by Zen master, Don Gilbert, come to mind. The conversation between the dog and the Zen master, where the canine stands firm to his belief that, thoughts are the key that enable our understanding and access to knowledge. The master then explains the nature of thoughts and that it is actually how we stipulate conditions to accumulate our past ideas into our own foundation. Old thoughts and habits perform their job in outlining new ideas and developing new characters. The more we do this, the more we tend to mistakenly believe that our thoughts are actually our reality. We build another world that has evolved from our own habits and thoughts.

In Fredric Jameson’s “Progress versus Utopia; Or, Can We Imagine the Future?” (1982), an analytical essay on stories and narratives about science fictions, the author tries to explain that almost all the stories about future societies, be there Utopia or Dystopia, are simply two sides of the same coin. Such depictions are reactions towards ideologies, principles, capitalist mechanisms and social conditions reflected from that particular fiction’s context. In a way, the future in science fictions isn’t that much different from what the Zen master said to the dog in The Upside Down Circle. With that being the case, there is a question to ask, about the possibility for us to think about the kind of future that can escape our own preconceived notion or mind trap. During this time, our perceived notion of time has continued to expand and shrink according to our individual, unpredictable and uncertain courses of life with the progress of digital technology serving as a major catalyst. Our belief in the preconceived notion of the future and its progress becomes almost meaningless. Therefore, what can we do when the wheel that we propel and developed by the same mindset and habit rendering it becomes useless? Under this circumstance, how should we react or speculate for the thing we call the future?

The book “Futurability: The Age of Impotence and the Horizon of Possibility” (2017) by Franco ‘Bifo’ Berardi, Italian Marxist theorist, proposes that we look at the future as a process of ‘becoming other’ through the creation of new possibilities. While possibilities are plural, they are not infinite (making this condition a bit farfetched from how the notions of Utopia and Progress are viewed, since they look at time as a linear development). However, the things that obstruct possibility are originated from the ‘inscribed impossibilities of the present’, which could mean both limitations and opportunities at the same time. Once all different possibilities are encountered, things move and combine into potency as a result of the actualities of those possibilities.

With this particular horizon of possibility, if we were to make a comparison to see the better picture, we could think about the qualities found in a series of photographs titled ‘Field’ (1995-1998) by artist Uta Barth. In this series of works, Barth photographed objects found in her daily life with a blurred focus, creating the obscurity between tangibility and abstractness. The lightness almost; the stage where a particular image becomes weightless and is ready to transform into another object (things we are familiar with in real life) more than an image controlled by a certain set of compositions within the hierarchy, that is entirely unalterable.

The architecture of KAIT Workshop (2008) by Japanese architect Junya Ishigami situated as a part of Kanagawa Institute of Technology possesses similar qualities. What Ishigami did with this piece of architecture is creating alternatives for the entire circulation of the building. It was created to be in the stage of plurality, causing the spaces inside of the structure to coincide with the variations of usage. This enables functional possibilities to generate different alternatives and remove limitations, both in the sense of space and time. It calls for each individual user to reflect upon the different characteristics and possibilities conceived through architecture.

“Can we imagine the future?,” if we were to ask this question today, the future certainly doesn’t have to possess any definition that will necessarily associate itself with progresses and the images of the future we imagine, from using the aforementioned conditions. Perhaps it can be the process of ‘becoming other’ that Franco ‘Bifo’ Berardi proposes; the world we may refer to as the “Post-Futurist World”.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *