AS WELL AS SUPPORTING AND CELEBRATING THE LGBTQ+ COMMUNITY, WE SPENT PRIDE MONTH REVISITING THE WORKS OF TWO QUEER WRITERS WHO CHANGED THE FACE OF CONVERSATION ABOUT PHOTOGRAPHY: ROLAND BARTHES AND HERVÉ GUIBERT
TEXT: PIM-ORN SUPAVARASUWAT
PHOTO: NAPAT CHARITBUTRA
(For English, please scroll down )
Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองให้แก่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) เพิ่งผ่านพ้นไป art4d จึงอยากจะชวนทุกคนกลับไปอ่าน 2 งานเขียนชิ้นสำคัญที่ว่าด้วย “ภาพถ่าย” โดยนักเขียน queer Roland Barthes และ Hervé Guibert
Camera Lucida: Reflections on Photography
Roland Barthes, translated by Richard Howard
Hill and Wang, 1981
Paperback
ISBN: 978-0-374-53233-8
“ผมรู้สึกโกรธ” Roland Barthes พูดถึงงานเขียนเกี่ยวกับภาพถ่ายในยุคสมัยนั้น “เพราะไม่มีใครพิจารณามัน (ภาพถ่าย) ในมุมมองที่ผมสนใจ ปลาบปลื้ม หรือสะเทือนใจ” ใน Camera Lucida (1980) งานเขียนชิ้นสำคัญของเขา Barthes จึงหันเหออกจากการหมกหมุ่นอยู่กับกฏการจัดองค์ประกอบภาพ (rules of composition) หรืออะไรอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน และแบบที่คนอื่นเขาทำกัน แต่เลือกใช้ “ตัวเอง” เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาภาพถ่าย จากคำถามว่า “ร่างกายของผม รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับภาพถ่าย”
เมื่อตั้งต้นจากร่างกาย นั่นหมายถึงแนวคิดของเขาไม่สามารถหลีกหนีไปจาก “ความตาย” ได้ Barthes พยายามค้นหาว่าเพราะเหตุใด ภาพถ่ายบางรูปจึงกระตุ้นให้เขาเกิดความรู้สึกบางอย่าง ทำไมขณะมองภาพ เขาจึงถูกบางอย่างที่ “ปรากฏออกมาจากภาพ พุ่งทะลุออกมาจากพื้นผิวและปักทะลุ” ลงบนร่างกายของเขา ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างภาพถ่าย ความจริง และเวลา Barthes หยิบยกภาพถ่ายแม่ผู้ล่วงลับของเขา มาเป็นกรณีศึกษา
หนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาเชิงวิพากษ์วิจารณ์ภาพถ่ายที่สุดเล่มหนึ่ง Camera Lucida (1980) เป็นหนังสือที่เต็มเปี่ยมไปด้วยตัวตนของผู้เขียน และวิธีวิทยาของการศึกษาภายถ่ายที่น่าสนใจ
–
“I realised with irritation,” writes Roland Barthes, speaking of previous writings on Photography, “that none discussed precisely the photographs which interest me, which give me pleasure or emotion.” In his last major work Camera Lucida (1980), Barthes, therefore, shuns the technical jargon which usually concerns ‘rules of composition’ and the like. Instead, he sets out to use himself as a starting point for photographic knowledge, asking: “What does my body know of Photography?”
Barthes’ corporeal approach to photography means that his thoughts on the subject are rarely free from the concerns of bodily mortality. As he seeks to understand why certain photographs make him feel the way he does, the very quality that induces a personal investment is one that “rises from the scene, shoots out of it like an arrow, and pierces” him. When examining the relationships between photography, reality, and time, it is to his dead mother’s photographs that Barthes turns for the investigation.
For a book known to be one of the most influential critical studies of photography, Roland Barthes’ Camera Lucida is intensely personal and surprisingly moving.
Ghost Image
Hervé Guibert, translated by Robert Bononno
The University of Chicago Press, 1996
Paperback
ISBN: 978-0-226-13234-1
ในปี 1982 Hervé Guibert ช่างภาพ / นักเขียนหนุ่มที่เป็นเกย์อย่างเปิดเผย ได้ตีพิมพ์ Ghost Image (1982) ให้เป็นบทสะท้อน Camera Lucida (1980) ของ Roland Barthes ประกอบไปด้วยบทความหลายบท บันทึกประจำวัน การใคร่ครวญ และจินตนาการของเขาต่อภาพถ่าย
ด้วยความตรงไปตรงมานี้ Guibert พาเราไปสำรวจแง่มุมต่างๆ ของภาพถ่าย ผ่านภาพถ่ายชนิดต่างๆ ตั้งแต่ ความคิดเห็นต่อความคงทน (อย่างไม่น่าเชื่อ) ของภาพถ่ายจากตู้ถ่ายภาพ ภาพ X-ray ลำตัวด้านซ้ายของเขาเอง ไปจนถึงการพินิจเกี่ยวกับความสะดวกและความเป็นส่วนตัวของกล้อง polaroid ซึ่งเปิดช่องให้เกิดการถ่ายภาพโป๊โดยช่างภาพมือสมัครเล่น
ถ้าความตายคือแก่นในงานเขียนของ Barthes แก่นของงานเขียนโดย Guibert คงจะเป็น “ความปรารถนา” “คุณจะพูดถึงภาพถ่าย โดยเลี่ยงไม่พูดถึงความปรารถนาได้อย่างไร” Guibert กล่าวต่ออีกว่า “ภาพ คือแก่นของความปรารถนา ดังนั้น ถ้าคุณตัดทอนเรื่องเพศในภาพออกไป มัน (ภาพ) ก็จะไม่เหลืออะไรนอกจากทฤษฎีแห้งๆ” Guibert ไม่เพียงแต่ไม่ปกปิดความปรารถนาของตัวเขาเอง ครั้งหนึ่ง เขาเคยตอกกลับคอมเมนต์ว่า “เรื่องของคุณ (Guibert) มันก็แค่เรื่องของพวกรักร่วมเพศเท่านั้นเอง” ด้วยการตอบว่า “แล้วมันจะเป็นอย่างอื่นไปได้อย่างไร นี่คือตัวผม และผมไม่คิดจะแสร้งเป็นสิ่งอื่นที่ผมไม่ได้เป็น”
–
Young, handsome, and openly gay, the photographer-writer Hervé Guibert brazenly published Ghost Image (1982) in response to Roland Barthes’ Camera Lucida (1980). The lyrical, slim volume consists of various essays, meditations, anecdotes, diary-entries and samples of his fantasies on and around the topic of photography.
With startling honesty, Guibert takes the readers through the many facets of ‘the photograph’ by way of exploring its various forms, from commenting on the apparent indestructibility of the strip that slides out of a photo booth to ruminating on the x-ray of the left side of his torso and musing on the ease and privacy that the polaroid camera lends an amateur photographer in making pornography.
If death is the core of Barthes’ writings on photography, what would take that place for Guibert is desire. “How can you speak of photography without speaking of desire?,” he writes, “The image is the essence of desire and if you desexualize the image, you reduce it to theory.” Neither does Guibert seeks to hide the precise nature of his desire; in response to the comment, “the majority of your stories ooze homosexuality,” he writes, “How could it be otherwise?…it’s the least I can do to be sincere.”