MPAVILION: ENCOUNTERS WITH DESIGN AND ARCHITECTURE

DELVE INTO THE TRAJECTORY OF MPAVILION, AN ANNUAL PROJECT THAT INVITES RENOWNED ARCHITECTS TO DESIGN A PAVILION (AS SIMILAR AS THE SERPENTINE PAVILION IN LONDON) THROUGH THE COMPILATION OF DOCUMENTATION AND REFLECTIONS OF THE PROJECT

TEXT: MONGKON PONGANUTREE
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

(For English, press here)

MPavilion
Thames & Hudson Australia, 2020
8.27 x 0.91 x 11.81 inches
260 pages
ISBN 978-1760760564

“ไม่ว่าโครงการที่คุณทำ จะเป็นสถาปัตยกรรมธรรมดาหรือเล็กน้อยเพียงใด คุณกำลังเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้อยู่” Rem Koolhaas

มีหลายคนที่อาจจะไม่เคยได้ยินหรือรู้จัก MPavilion มาก่อน แต่ถ้าคุณรู้จัก Serpentine Pavilion ในลอนดอน MPavilion ก็คล้ายๆ กันแต่เป็นเวอร์ชั่นออสเตรเลีย โครงการนี้ก่อตั้งขึ้นจากวิสัยทัศน์และการสนับสนุนของ Naomi Milgrom นักธุรกิจและนักกิจกรรมเพื่อสังคมชาวออสซี่ โดยตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา โครงการนี้ได้เชื้อเชิญสถาปนิกที่มีชื่อเสียงมาออกแบบพาวิลเลียนในแต่ละปี โดยต้องการให้พาวิลเลียนนี้เป็นเหมือนที่รวมไอเดียอันหลากหลาย และเป็นสถานที่ที่งานออกแบบและกิจกรรมทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่สอดประสานเป็นเนื้อเดียวกันจนเกิดเป็น ‘พื้นที่’ กิจกรรมให้กับเมืองเมลเบิร์น

MPavilion: Encounters with Design and Architecture มีเนื้อหาหลักๆ อยู่ที่พาวิลเลียนทั้งหก ตั้งแต่ปี 2014 จนถึง 2019 ที่ออกแบบโดย Sean Godsell, Amanda Levete, Bijoy Jain, Rem Koolhaas & David Gianotten, Carme Pinós และ Glenn Murcutt ตามลำดับ ก่อนจะทิ้งช่วงไปในปีที่แล้วจากการระบาดของโควิด-19 นอกจากเรื่องราวความเป็นมา บทสัมภาษณ์สถาปนิก ดรออิ้ง โมเดล ที่เป็นแนวคิดในการออกแบบของทีมสถาปนิกทั้งหกแล้ว ยังมีบทวิจารณ์และ Photo essays ของแต่ละพาวิลเลียน และบันทึกกิจกรรมที่เกิดขึ้นด้วย

ส่วนที่น่าสนใจของหนังสือไม่แพ้กับตัวพาวิลเลียนเองก็คืองานออกแบบของ Studio Ongarato สตูดิโอออกแบบในเมลเบิร์น ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้ออกแบบอัตลักษณ์และงานแบรนดิ้งของ MPavilion ทั้งหมดและออกแบบอัตลักษณ์ให้กับพาวิลเลียนที่แตกต่างกันไปในแต่ละปีแล้ว ยังเป็นผู้ออกแบบหนังสือเล่มนี้อีกด้วย งานกราฟิกของหนังสือจึงจัดเต็มด้วยองค์ประกอบที่พวกเขาทำให้กับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษร องค์ประกอบทางกราฟิก และที่ขาดไม่ได้คือสีส้มสะท้อนแสง ซึ่งเป็นสีประจำแบรนด์ที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่หน้าปกไปจนถึงหน้าสุดท้าย รวมทั้งที่ขอบข้างหนังสือ

ความแตกต่างระหว่าง Serpentine Pavilion กับ MPavilion น่าจะอยู่ที่ว่า MPavilion ได้นำสิ่งที่ Serpentine Pavilion ได้ทำไว้และประสบความสำเร็จ มาปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทและรสนิยมของชาวออสซี่ MPavilion จึงเต็มไปด้วยกิจกรรมที่มากกว่า ชีวิตชีวาที่มากกว่า ความสดใสและความเป็นมิตรที่มากกว่า มันอาจจะไม่ถึงขนาดเปลี่ยนโลก แต่ก็ต้องนับว่าพวกเขาทำได้ดีทีเดียว ในการทำให้โครงการสถาปัตยกรรมเล็กๆ นี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถาปนิกกับสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่มันได้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่กิจกรรม ที่กลายเป็นชุมชนเล็กๆ ให้ผู้คนได้มาพบปะและใช้งาน

mpavilion.org
naomimilgromfoundation.org
thamesandhudson.com.au

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *