CAFÉ AMAZON: EXPLORING CONSTRUCTION TECHNIQUE

CAFÉ AMAZON: EP.2

เรียนรู้การทดลองเทคโนโลยีในการก่อสร้างที่ Café Amazon ใช้ ตั้งแต่การใช้ระบบโมดูล่าร์ Concrete 3D Printing รวมถึงการผนวกแนวคิดรักษ์โลกอย่าง Circular Economy

TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO COURTESY OF CAFÉ AMAZON

(For English, press here)

นอกจากจุดยืดของแบรนด์ที่ชัดเจน รสชาติกาแฟที่มีเอกลักษณ์  ไปจนถึงบรรยากาศความร่มรื่นภายในร้าน  การขยายสาขาของร้าน Café Amazon เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงและใช้บริการ (Location) แบรนด์ยังค้นหาวิถีทางใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Modular System ที่เอื้อให้การขยายสาขาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การใช้เทคโนโลยี 3D Concrete Printing สร้างสเปซและรูปทรงที่แปลกตา และแนวคิด Circular Economy หรือการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการออกแบบร้านโดยเริ่มต้นจากวิธีการใหม่ๆ นี้ แสดงถึงความใส่ใจในการออกแบบที่ไปไกลกว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อรองรับกิจกรรมการจำหน่ายสินค้า และให้บริการเพียงอย่างเดียว

Modular System

จากการสร้างสรรค์ร้าน Café Amazon มาหลายร้อยหลายพันสาขา ทีมดีไซน์ของ Café Amazon พบว่า งานออกแบบมีการใช้องค์ประกอบและรูปแบบดีไซน์ที่ซ้ำกันเยอะมาก อย่างเช่น โครงสร้างเหล็ก truss ผนัง กระจก ทีมดีไซน์จึงทดลองใช้ระบบการก่อสร้างแบบ Modular System หรือการนำชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาประกอบกันเป็นอาคาร เพื่อร่นระยะเวลาก่อสร้าง ช่วยให้ผู้ประกอบการร้านฯ เปิดร้านได้เร็ว ขายได้เร็ว คืนทุนได้เร็ว

Amazon Glass house

ร้านรูปแบบ Glass House อันยอดนิยมคือรูปแบบที่ Café Amazon ทดลองก่อสร้างด้วยระบบ Modular System ตัวร้าน Glass House แบ่งออกเป็น 4 ไซส์ด้วยกัน ตอบโจทย์ขนาดไซต์งานและข้อจำกัดโครงการที่ต่างกัน คือตั้งแต่ ไซส์ S M L ไปจนถึง XL

ชิ้นส่วนในอาคารตั้งแต่งานโครงสร้างอาคาร ผนังเบา และโครงสร้างหลังคาจะถูกผลิตสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ที่หน้างาน ช่างจะจัดเตรียมงานฐานรากไว้ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นชิ้นส่วนต่างๆ จะถูกนำมาต่อประกอบเป็นตัวอาคาร เมื่อรวมกับการทำงานตกแต่งอาคารแล้ว จะใช้เวลาก่อสร้างเบ็ดเสร็จเพียง 12 ถึง 15 วันเท่านั้น นอกจากจะลดต้นทุน และลดเวลาการก่อสร้างได้แล้ว ระบบ Modular System ก็ช่วยลดการเกิดเศษขยะในไซต์ก่อสร้างด้วย

CAFÉ AMAZON modular system

3D Concrete Printing

3D Concrete Printing เป็นนวัตกรรมการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่นำคอนกรีตมาพิมพ์เป็นชั้นๆ จนได้รูปทรงที่ต้องการ ความพิเศษของ 3D Concrete Printing คือทำให้การก่อสร้างอาคารโค้งเว้าเส้นสายอิสระกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นทันตา การใช้เครื่องพิมพ์สามมิติก่อสร้าง ช่วยให้ได้งานก่อสร้างที่แม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยลดเศษวัสดุเหลือใช้ที่จะกลายมาเป็นขยะในไซต์ก่อสร้างด้วย

Café Amazon ทดลองสร้างร้านกาแฟด้วยเทคนิค 3D Concrete Printing ครั้งแรกที่ Café Amazon สาขา CPAC บริเวณตรงข้ามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร้านกาแฟสาขานี้ Café Amazon ได้ร่วมมือกับ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด หรือ ซีแพค ในธุรกิจซิเมนต์ เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG ซึ่งเป็นผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมคอนกรีตของประเทศไทย มาช่วยสร้างสรรค์

Café Amazon สาขา CPAC

Café Amazon สาขา CPAC

แม้ว่าจะเป็นร้านกาแฟขนาดเล็กๆ แต่ Café Amazon สาขา CPAC มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนด้วยอาคารผนังโค้ง บางส่วนของผนังมีเลเยอร์ที่นูนออกมาภายนอกเพื่อทำเป็นกระบะปลูกต้นไม้ เติมแต่งบรรยากาศร่มรื่น และนูนเข้าไปด้านในเป็นม้านั่งโค้ง ล้อไปกับแนวผนังภายนอกข้างนอก

Café Amazon สาขา CPAC

Café Amazon สาขา CPAC

Café Amazon อีกสาขาที่ใช้เทคนิค 3D Concrete Printing ก็คือสาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3 ตรงกลางร้านคือเสาโค้งเว้าโดดเด่นที่สร้างโดยการพิมพ์คอนกรีตเป็นชั้นๆ ซึ่งทำหน้าที่ทั้งสร้างเอกลักษณ์ใหม่ให้กับพื้นที่และรับน้ำหนักไปในเวลาเดียวกัน ทำให้สเปซภายในร้านไม่มีเสาเล็กเสาน้อยมาวางให้เกะกะ พื้นที่ด้านในจึงดูเชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว

Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3

Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3

Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3
Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3

Café Amazon สาขา PTT Station พุทธมณฑลสาย 3

Circular Economy

คำว่าธรรมชาติที่ Café Amazon ยึดโยง ไม่ได้แสดงออกมาผ่านบรรยากาศร้านอันร่มรื่นเหมือนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงความใส่ใจต่อธรรมชาติด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2562 Café Amazon นำร่องแนวคิดร้าน Circular Economy เป็นครั้งแรกที่ PTT Station สาขาสามย่าน Circular Economy คือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยข้าวของและวัสดุตกแต่งที่อยู่ภายในร้าน เกิดจากการนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้เหล่านั้น เป็นกระบวนการที่มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Upcycling

Café Amazon

เบื้องหลังเคาน์เตอร์ชงกาแฟคือผนังลวดลายแปลกตาที่ผลิตจากการนำถุงบรรจุเมล็ดกาแฟกว่า 7,200 ถุง มาบดและอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น ลวดลายตกแต่งนกแก้วบนผนังชั้นสองเกิดก็เกิดจากกระบวนการคล้ายกัน แต่คราวนี้วัสดุตั้งต้นคือแก้วพลาสติกโพลีโพรพิลิน (PP) จำนวนมากกว่า 5,000 ใบ เส้นใยผ้าบุเก้าอี้และโซฟาไม่ได้เป็นเส้นใยธรรมดา แต่เป็นเส้นใยจากขวดน้ำ PET ที่นำไปบด ใช้ความร้อนสูงหลอมละลายและดึงออกมาเป็นเส้นใย

Café Amazon สาขาสามย่าน

Café Amazon สาขาสามย่าน

Café Amazon สาขาสามย่าน

แนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ายังส่งต่อไปที่ Café Amazon สาขาอื่นๆ ทั้งการนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่ง แม้แต่เสื้อผ้าของพนักงานก็ผลิตมาจากขวดพลาสติกเช่นกัน ทุกวันนี้ Café Amazon แบ่งร้านเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ  Choice of Circular Economy คือร้านที่มีการใช้วัสดุ Upcycling และวัสดุที่ย่อยสลายได้มาประกอบบางส่วน และ Circular Economy Plus+ ที่เน้นใชัวัสดุ Upcycling เป็นสำคัญ การออกแบบบนแนวคิดนี้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ที่มากกว่าการจำหน่ายสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียว

Café Amazon circular

ใน EP. ต่อไป เราจะไปสำรวจร้าน Amazon Concept Store ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษทั้ง 2 สาขาในปัจจุบัน

cafe-amazon.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *