เตรียมตัวต้อนรับงานเสวนา ASA International Forum’ 24 ที่รวบรวมสถาปนิกทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และแบ่งประสบการณ์ในหัวข้อ ‘Critical Regionalism in Architecture’
TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO COURTESY OF ASA INTERNATIONAL FORUM 2024
(For English, press here)
เต็มอิ่มกับสาระจากแนวคิดสถาปัตยกรรมผสานวัฒนธรรมเชิงภูมิภาคใน ASA International Forum งานสถาปนิก’ 67
อีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นไฮไลต์ของงานสถาปนิกทุกปี คือ ASA International Forum เวทีเสวนาที่ขนทัพสถาปนิกระดับโลกมาขยายมุมมองด้านสถาปัตยกรรมให้ชัดเจนและกว้างไกลยิ่งขึ้น
สำหรับงานสถาปนิก’ 67 นี้ กิจกรรม ASA International Forum ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์’ ซึ่งรวบรวมสถาปนิกทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อ ‘Critical Regionalism in Architecture’ หรือ สถาปัตยกรรมภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์ ที่เชื่อในการสร้างสถาปัตยกรรมซึ่งยึดโยงกับพื้นที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ทำให้สถาปัตยกรรมแปลกแยกจากบริบท แต่ก็ไม่ลอกเลียนรูปแบบที่เกิดขึ้นในอดีตอย่างตรงไปตรงมา
สถาปนิกระดับโลกที่เข้าร่วมงานเสวนาครั้งนี้มีตั้งแต่
Antoine Chaaya พาร์ทเนอร์และไดเรกเตอร์จาก Renzo Piano Building Workshop (RPBW)
Ma Yansong สถาปนิกชาวจีน ผู้ก่อตั้ง MAD Architects
Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศ เจ้าของสตูดิโอ Marina Tabassum Architects (MTA) ซึ่งเคยได้รับรางวัล Aga Khan Award for Architecture จากผลงานมัสยิด Bait-ur-Rouf
Daliana Suryawinata และ Florian Heinzelmann สองสถาปนิกจากสตูดิโอ SHAU อินโดนีเซีย
Erik L’Heureux สถาปนิก, รองศาสตราจารย์ และคณบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
ต้นข้าว ปาณินท์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Research Studio Panin
พบแง่มุมที่หลากหลายของสถาปัตยกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับพื้นที่ สภาพอากาศ สังคม และวัฒนธรรม ในเวที ASA International Forum ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-13 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้ที่