REVOLUTIONARY THINGS GAME CARDS

‘REVOLUTIONARY THINGS GAME CARDS’ WAS CREATED AS A PART OF THE ‘REVOLUTIONARY THINGS’ EXHIBITION HELD AT CARTEL ARTSPACE BETWEEN THE 24TH OF JUNE AND THE 19TH OF JULY 2018

With Waiting You Curator Lab and Rabbithood Studio in charge  of the design, the exhibition sees some interesting reinterpretations of political symbols (in the era of the People’s Party) through the simplification of forms into minimal geometric shapes. Some of the examples are such as the ‘constitution tray,’ the symbol glorifying the constitution as the highest law of the country and the hexagonal shape representing the ‘six principles’ proposed by the People’s Party with Field Marshal Plaek Phibunsongkhram’s formation of the nation acting as the hidden agenda.

One set of the game is comprised of 54 different cards, each containing an image and title of an exhibited object. The basic rule is that in order to hint at what’s on each of the cards, each player needs to spend quite a considerable amount of time getting to know and understand the 54 objects on the cards before starting the game. The important thing is that this game requires at least two players while the maximum number of players is unlimited. The first player picks a card without looking, puts the card on their forehead or holds it at chest level and faces the card outward for the other player to see. The other player then starts giving hints without directly saying the name of the object. The cardholder has to start to make the right guess within the 2.40 minutes of playtime or they can choose to skip the card by saying the word ‘revolution’ and picking another card to play. The cardholder can open new cards throughout the game if they wish. The person who gets the highest score each round wins.

It’s interesting to see to which extent these cards can serve as exhibited objects in a gallery space, whether that be in the aspect of the way that an object is experienced or expected to provide information or the fact that these objects were transformed into images on cards. In the next 86 years, if we think about the design of ‘Revolutionary Things Game Cards’ as curator who selects these objects into the exhibition, can it reflect the minds of the people in contemporary times and the country’s very much ongoing democratization process, as well as the possible direction and role of contemporary design in politics.

‘เกมการ์ด ของ(คณะ)ราษฎร’ ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ประกอบนิทรรศการ ‘ของ(คณะ)ราษฎร’ ซึ่งจัดขึ้นที่ Cartel Artspace ไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ถึง 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมี Waiting You Curator Lab ร่วมกับ Rabbithood Studio เป็นผู้ออกแบบ ด้วยการดึงเอาสัญลักษณ์ทางการเมืองแบบใหม่ (ในยุคของคณะราษฎร) มาลดทอนเป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น ภาพของ “พานรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นสัญลักษณ์เชิดชูรัฐธรรมนูญว่าเป็นกฎหมายสูงสุดและรูปทรงหกเหลี่ยมที่สะท้อนถึง “หลักหกประการ” ของคณะราษฎรที่แฝงด้วยนโยบายสร้างชาติในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาใช้ประกอบการออกแบบ

ใน 1 สำรับของเกมการ์ดชุดนี้ประกอบด้วยการ์ดทั้งหมด 54 ใบที่ไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละใบจะบรรจุภาพและชื่อของวัตถุที่แสดงในนิทรรศการ วิธีการเล่นพื้นฐานคือ การใบ้คำจากการ์ดแต่ละใบ ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำความรู้จักวัตถุบนการ์ดทั้งหมดก่อนเริ่มเล่น และที่สำคัญคือเกมการ์ดนี้ต้องมีผู้เล่นมากกว่าหนึ่ง (แต่ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น) ผู้เล่นคนแรกต้องจั่วการ์ดขึ้นมาโดยห้ามมอง วางการ์ดไว้ตรงตำแหน่งหัวใจหรือหน้าผาก หันหน้าการ์ดออกไปยังผู้เล่นคนอื่นที่จะต้องใช้คำใบ้ และใบ้อย่างไรก็ได้โดยห้ามมีคำที่อยู่ในการ์ดเพื่อให้ผู้ที่ถือการ์ดทายให้ถูก ผู้เล่นที่ถือการ์ดต้องทายจนกว่าจะตอบถูกภายในเวลา 2 นาที 40 วินาที หรือเลือกที่จะข้ามใบนั้นไปโดยการกล่าวคำว่า “ปฏิวัติ” และเลือกการ์ดใบใหม่ขึ้นมาทาย โดยสามารถเปิดการ์ดใหม่จนกระทั่งหมดเวลาและนับคะแนน เมื่อผลัดกันเล่นจนครบคน ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละรอบจะเป็นผู้ชนะ

น่าสนใจว่าเกมการ์ดนี้จะกลายเป็นวัตถุที่ทัดเทียมกับสิ่งที่นำมาจัดแสดงในพื้นที่ของแกลเลอรี่ได้มากขนาดไหน ทั้งในแง่ของประสบการณ์ การให้ข้อมูล และการที่วัตถุกลายเป็นภาพบนการ์ด ในอีก 86 ปีข้างหน้า หากคิดเช่นเดียวกับคิวเรเตอร์ในนิทรรศการที่เลือกวัตถุต่างๆ มาจัดแสดง การออกแบบ ‘เกมการ์ด ของ(คณะ)ราษฎร’ นี้จะสามารถสะท้อนความคิดของคนใน พ.ศ. 2561 ต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยของไทย หรือสะท้อนความนิยมของการออกแบบในยุคนี้ต่อเรื่องของการเมืองในทิศทางไหนได้บ้าง

TEXT: NAPISA LEELASUPHAPONG
PHOTO: KETSIREE WONGWAN
waitingyoucuratorlab.com/game-card

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *