STRANGE HAPPENINGS WERE AFOOT IN BANGKOK 1996. art4d SUMMARIZES THE ARTISTIC HIGHLIGHTS ON THAT YEAR.
ปี 2539 เป็นปีที่วงการศิลปะบ้านเราคึกคักเป็นพิเศษ มีนิทรรศการใหญ่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่ผู้หลงใหลศิลปะต่างก็พร้อมใจกันเปิดหอศิลป์เอกชน และจัดโครงการศิลปะมากมายหลายโครงการอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เราจึงอยากจะพาย้อนกลับไปอ่านบทความสรุปความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะในปีนั้น
(For English, please scroll down)
ปี 2539 เป็นปีที่วงการศิลปะบ้านเราคึกคักเป็นพิเศษ มีนิทรรศการใหญ่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่ผู้หลงใหลศิลปะเปิดหอศิลป์เอกชน และจัดโครงการศิลปะมากมายหลายโครงการอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นั่น เป็นสัญญาณบ่งชี้ความตื่นตัวและเติบโตของวงการได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่าโครงการเหล่านั้นจะไม่บูมเท่าแหล่งบันเทิงใจในศูนย์การค้า หรือคอนวีเนียนสโตร์อย่าง 7-eleven หรือ AM- PM แต่ก็ยังเป็นทางเลือกให้กับคอศิลป์ ได้มีโอกาสได้เสพสุนทรีย์จากงานศิลปะแทนการบริโภคความสุขทางใจรูปแบบอื่นในศูนย์การค้า
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา About (Photography) Gallery เปิดตัวขึ้นริมถนนสี่พระยา ย่านบางรัก เพื่อเป็นที่แสดงงานศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย หอศิลป์แห่งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของ เกล้ามาศ ยิบอินซอย ทายาทศิลปินเลื่องชื่อ มีเซียม ยิบอินซอย กับช่างภาพหนุ่มไฟแรง นพดล ขาวสำอางค์
งานแสดงภาพถ่ายที่ About (Photography) Gallery
ศิลปะภาพถ่ายในบ้านเราไม่ค่อยแพร่หลายนักเมื่อเทียบกับศิลปะแขนงอื่น ด้วยเหตุนี้ เจ้าของจึงอยากให้หอศิลป์แห่งนี้เป็นทั้งที่แสดงงานและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนรักการถ่ายภาพและหลงใหลภาพถ่าย ช่างภาพมืออาชีพอย่าง ชำนิ ทิพย์มณี พิทยา นนทเปารยะ สุรัตน์ สุวนิช และนภดลเอง ประเดิมงานแรกที่นี่ นอกจากจะอิ่มเอมใจกับผลงานภาพถ่ายหลากแนวหลายเทคนิค เกล้ามาศยังเน้นเรื่องการให้ความรู้ขั้นพื้นฐานแก่คนทั่วไปด้วย โดยจัดหาหนังสือภาพถ่ายจากต่างประเทศ และสไลด์ของช่างภาพที่เคยแสดงงานไว้ให้ เรียกว่าอิ่มตาอิ่มใจแล้วยังได้ความรู้กลับบ้านด้วย
นอกจากภาพถ่ายแล้วทางหอศิลป์ยังจัดฉายวิดีโออาร์ตอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเจ้าของเชื่อว่าในโลกศิลปะร่วมสมัยศิลปะแขนงต่างๆ สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแล้วนํามาเสนอในรูปแบบใหม่ได้ในขณะที่ About (Photography) Gallery มุ่งเน้นไปที่ภาพถ่ายร่วมสมัย หอศิลป์ตาดู ซึ่งเปิดตัวเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็เปิดโอกาสให้ศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่ใช้เป็นเวทีแสดงงานโดยเน้นงานด้านทัศนศิลป์ทั้งหมด ตั้งแต่ จิตรกรรม ปฏิมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย สื่อผสม และศิลปะที่ขายไม่ค่อยได้อย่างศิลปะจัดวาง
นิทรรศการ “สู่ทศวรรษหน้า” ซึ่งเป็นงานเปิดตัวของหอศิลป์ตาดู
ในขณะที่ About (Photography) Gallery ดัดแปลงจากตึกแถวสองคูหาเก่าอายุราว 70 ปี หอศิลป์ตาดู เป็นหอศิลป์อยู่บนชั้นลอยของอาคารทันสมัยชื่อ Pavilion Y บนถนนรอยัลซิตี้ โดยมีพื้นที่แสดงงานกว้างขวางถึงกว่า 480 ตารางเมตร
จุดประสงค์หลักของหอศิลป์ตาดู คือการเป็นอาร์ตดีลเลอร์มืออาชีพ และมีมาตรฐานและมุ่งเน้นการสร้างศิลปินหน้า ใหม่ที่ทํางานร่วมสมัยที่มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันศิลปินเหล่านั้นสู่เวทีศิลปะต่างประเทศ
นอกจากหอศิลป์เอกชนสองแห่งนี้ ดูเหมือนว่าศิลปินผู้ชื่นชอบที่จะทํางานมันส์ๆ แปลกแหวกแนวและไม่เน้นขายงาน ก็มีทางออกที่จะได้สนองอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นที่ Art Space ที่ใหม่ชื่อโปรเจ็กต์ 304 ซึ่งริเริ่มและดําเนินการโดย กฤติยา กาวีวงศ์ บัณฑิตสาวจากสถาบันศิลปะชิคาโก
กฤติยาใช้แนวคิดการจัดนิทรรศการในห้อง เธอเลือกห้องขนาดย่อมของอาคารสหกรณ์ (ตึกเก่า) แถวสถานีรถไฟ สามเสน เปิดเป็นสถานที่แสดงงานศิลป์ไม่จํากัดรูปแบบ ประเดิมด้วยนิทรรศการชื่อ Hidden Agenda โดยศิลปิน 6 ท่าน คือ สุรสีห์ กุศลวงศ์ (อีกแล้ว) นที อุตฤทธิ์ ไมเคิล เชาวนาศัย มงคล แย้มมณี ศจีทิพย์ นิ่มวิจิตร และจิตติ เกษมกิจวัฒนา นิทรรศการนี้เน้นแนวความคิดและตั้งคําถาม เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมทางวัฒนธรรมแบบ “ไม่เป็นไร” คือไทยแท้ของเรา ในขณะที่กระแสวัฒนธรรมตะวันตก กระแสบริโภคนิยม การแสดงความเป็นปัจเจกชนของชนกลุ่มน้อย (ที่กําลังเพิ่มมากขึ้น) อย่างเกย์และเลสเบียน เราจะดําเนินชีวิตอย่างไรในสังคมที่สับสนเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดทุกขณะวินาที กฤติยาและทีมงานปฏิบัติการของเธอเสนอทางเลือกอีกทางให้กับคอศิลปะบ้านเรา ถ้าจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวกอัลเทอร์เนทีฟหรือกลุ่มนอกกระแสก็คงจะไม่ผิดกระมัง
Hidden Agenda นิทรรศการครั้งแรกของ Project 304 (ภาพถ่าย: ไมเคิล เชาวนาศัย เอื้อเฟื้อภาพโดย Project 304)
ถ้าพูดถึง alternative art space แล้ว ย่อมไม่อาจผ่านเลยงานศิลปะที่เขาใช้ชื่อว่า “ห้วยขวางเมืองใหม่” โครงการ 1 ริเริ่มโครงการโดยช่างภาพอิสระ มานิต ศรีวานิชภูมิ ชวนเพื่อนๆ กลุ่มอุกาบาตร อาทิ วสันต์ สิทธิเขตต์ ไพศาล เปลี่ยนบางช้าง มงคล เปลี่ยนบางช้าง สมพงษ์ ทวี มาร่วมกันทํางานศิลปะเพื่อชุมชนขึ้นที่ตึกร้าง (หักพัง) ใกล้แยกห้วยขวาง-รัชดาใกล้ๆ กับร้านอาหารเอี้ยมหุ้น นอกจากกลุ่มใต้ดินกลุ่มนี้แล้ว ยังมีกําลังเสริมจากคลื่นลูกใหม่อย่าง สุรสีห์ กุศลวงศ์ จักรพันธ์ วิลาสินีกุล ชาติชาย ปุยเปีย และคนข้างกาย พิณรี สัณฑ์พิทักษ์ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักศึกษาศิลปะจากมหาวิทยาลัยรังสิต ตามอาจารย์ ถนอม ชาภักดี มาผนึกกําลัง จนเกิดเป็นชุมชนศิลปะกลางแจ้ง ด้วยความตั้งใจที่จะนําศิลปะออกสู่ชุมชน และความเชื่อที่ว่าศิลปะไม่จําเป็นจะต้องอยู่บนหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์อย่างเดียว ศิลปินกลุ่มนี้อาศัยซากปรักหักพังที่ทิ้งร้างอยู่ สร้างงานศิลปะขึ้นมาและปล่อยให้งานสูญหายผุพังไปกับธรรมชาติ งานนี้เขาเปิดงานไปเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2539 ได้รับความสนใจพอประมาณ ต้องนับว่าเป็นความพยายามที่น่านับถือและน่าจะขยายผลในวงกว้างได้ต่อไป
ปิดท้ายปลายปี 2539 ด้วยศิลปะอัลเทอร์อีกงานหนึ่งโดยศิลปินชาวไทย แต่ว่านําเข้ามาจากนิวยอร์ค ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช เป็นศิลปินรุ่นใหม่ที่กําลังได้รับความสนใจจากสถาบันศิลปะร่วมสมัยชั้นนําทั่วโลก แฟนๆ art4d คงคุ้นเคยกันดีกับงานศิลปะรับประทานได้ของเขาที่ art4d นํามาตีพิมพ์เป็นระยะๆ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 เลยทีเดียว นอกจากบทบาทเป็นพ่อครัวในหอศิลป์แล้ว ฤกษ์ฤทธิ์ยังมีลูกเล่นแหวกแนวมานําเสนออยู่บ่อยๆ อย่างเช่น เขาเปลี่ยนห้องแสดงศิลปะเป็นค่ายพักแรมขนาดย่อม พร้อมกับเชิญคนมาพักผ่อนคุยกัน หรือเมื่อเร็วๆ นี้เขาฟอร์มทีมฟุตบอลขึ้นมา โดยผู้เล่นเป็นศิลปินหลากหลายเชื้อชาติ ไปแข่งกับทีมท้องถิ่นในนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ที่กรุงโยฮันเนสเบิร์ก ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของแอฟริกาใต้
ไม่มีคำประกอบ 2539 (จราจร) งานของ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช
การกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนของฤกษ์ฤทธิ์ครั้งนี้ มีงานศิลปะพ่วงมาด้วยอยู่ 2 เวอร์ชั่น คือที่กรุงเทพฯ ใช้ชื่อว่าไม่มีคําประกอบ, 2539 (จราจร) (“Untitled, 1996 (Traffic)”) เป็นการกําหนดจุดวางในฐานะของความเป็นไปได้ในการจัดการภายในบรรยากาศหนึ่งๆ ของชีวิตประจําวัน ที่ซึ่งมีการเผชิญหน้าและต้อนรับโดยการแทรกสอดจากศิลปะ ซึ่งถูกวางในบริบทของรถแท็กซี่วิ่งไปวิ่งมาบนท้องถนนของกรุงเทพมหานคร ฤกษ์ฤทธิ์ติดตั้งงานครั้งนี้ไว้ภายในรถแท็กซี่ ประกอบไปด้วยวิดีโอ 3 เครื่องทําหน้าที่ฉายวิถีชีวิตบนท้องถนนผ่านมุมมองในรถแท็กซี่จากหลายดินแดนที่เขาท่อง เที่ยวและบันทึกภาพไว้ ในขณะที่ชาวเชียงใหม่จะได้พบกับอีกเวอร์ชั่นของเขา ในงานสัปดาห์ร่วมทุกข์ตุ๊กตุ๊กคนเมือง ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้มีนาวินแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ เป็นผู้จัดและวางกรอบขึ้นมา
ทั้งหมดนี้เป็นการมองย้อนกลับไปหาครึ่งหลังของปี 2539 ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและการปะทะกันของหลาย ต่อหลายกระแสตามธรรมชาติของเมืองคนเยอะเมืองคนยุ่ง งานเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนอย่างหนึ่งของสังคม ซึ่งถ้ายุคนี้ เป็นยุคของการตรวจสอบผลที่ได้จากยุคแสวงหาจริงๆ ละก็ หวังว่าในปี 2540 นี้ เราจะสามารถค้นพบความจริงบางอย่างได้บ้างเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ก็ได้แต่ภาวนาว่าสิ่งที่พบนั้นจะไม่นําไปสู่การเริ่มต้นแสวงหากันใหม่ด้วยความสับสนอย่างที่ผ่านมา เพราะนั่นหมายความว่าเราไม่สามารถค้นพบตนเอง หรือค้นพบว่าตนเองไม่มีค่าอันใดเลย อย่างนี้มันน่าเศร้าเกินไป
ห้วยขวางเมืองใหม่ โครงการ 1 งานใต้ดินที่ได้รับการกล่าวถึงมากเหลือเกิน
In 1996, the local art scene was active in and organizing exhibitions by both Thai and foreign artists. The healthy growth of alternative mediums and art spaces made 1996 an exciting year for anyone passionate about the importance of making art more accessible to the people. Following is art4d’s tribute to the best of the second half of the year.
The About (Photography) Gallery, located on Sri Phraya Road, is run by the niece of the late sculptor Misiem Yipintosoi, whose death cast a long shadow over the art world. Her creatively-minded niece, Klaomad, has come up with a new angle: the first local gallery dedicated completely to the exhibition of photography, both by Thais and foreigners.
นิทรรศการ “สู่ทศวรรษหน้า” ซึ่งเป็นงานเปิดตัวของหอศิลป์ตาดู
Located on the mezzanine floor of the Pavilion Y Building at Royal City Avenue, with a huge exhibition space of 480 sq. metres, is a new gallery called TADU Contemporary Art. Its spectacular, inaugural exhibition, “Into the Next Decade”, is a wild collection of works from an impressive variety of artists: the omnipotent Montien Boonma, young talent Surasi Kusolwong, Chatichai Puipia and others.
Meanwhile, Project 304 is a new non-profit art space managed by Gridthaya Gaweewong, a recent graduate of arts administration. Under Gaweewong ‘s watchful eyes, a small space in an old residential building opposite Samsen Railway Station has been transformed into an art gallery called Sahskorn Khahasathaan. The concept for Project 304 came from Gaweewong ‘s master thesis: “An Alternative Art Space for Arts in Thailand: assessing the feasibility of the arts administration programme at the school of the Art Institute of Chicago, Chicago, Illinois, 1996.”
Hidden Agenda นิทรรศการครั้งแรกของ Project 304
The project aims to promote public access to contemporary art and is dedicated to nurturing artistic dialogue within Thai society and stimulating artistic and cultural awareness. Its first exhibition, called “Hidden Agenda”, features ten works by six local artists; Surasi Kusolwong, Natee Utarit, Michael Shaowanasai, Mongkol Yammanee, Chitti Kasemkitvattana and Sajeetip Nimvijit.
But Project 304 is not the only “alternative” art space around. The Huey Kwang Mega City Project 1 was another example of bringing art into the open. In November, a half-destroyed building near the Rachadapisek-Lardprao intersection was transformed into a gallery-in- the-rough by a group of maverick artists led by Manit Sriwanichpoom. Paintings, photographs, sculptures, installations, performances, live music and poetry were part of the ongoing art-in-action programme. About 30 artists-both Thai and foreign- took part. Rancorous underground artists like Vasan Sitthiket, Surapol Panyawachira and Phisan Pienbangchang were eagerly aided and abetted by men-of-the- moment in the contemporary art scene such as Chatichai Puipia, Surasi Kusolwong and Jakapan Vilasineekul.
ห้วยขวางเมืองใหม่ โครงการ 1 งานใต้ดินที่ได้รับการกล่าวถึงมากเหลือเกิน
And last but not least, our focus turns to an exhibition by Rirkrit Tiravanija, “Untitled, 1996 (Traffic)”. It was an insertion of narratives into a captive site, its framework provided by Navin Gallery, Bangkok. This frame provides a possibility to operate within a sphere (or larger sphere) of the everyday, where the encounter and reception of an intervention (art), is placed into the context of a taxi-ride in the city of Bangkok.
Tiravanija shows videos documenting various taxi trips he’s taken at Bangkok’s Navin Gallery, an unusual alternative art space located in an operational taxi. On New Year’s day, the artist, in cooperation with 20 tuk-tuk drivers, staged a parade titled “Sap-da-Ruam- Tuak: Tuk-Tuk-Koan-Muang” (A Week of Co- operative Suffering: local tuk-tuks doing the run from Chiang Mai Station to the city’s Tha- Pae Gate.)
ไม่มีคำประกอบ 2539 (จราจร) งานของ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช
The trend of bringing art to the community is on the increase. Hopefully, we have discovered an alternative formula that will lead us through the new millennium. On the other hand, it would be discouraging if it proves to be the same old context that gives us the impetus to start all over again.
Original published in art4d#23 (January, 1997)