CRAFTING A THOUGHT

THIS LATEST EDITION FROM THE WHITECHAPEL’S DOCUMENTS OF CONTEMPORARY ART WILL TAKE US INTO THE VARIETY OF SEMINAL DISCOURSES AROUND ‘CRAFT’

TEXT: WICHIT HORYINGSAWAD
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

(For English, please scroll down)

Craft
Tanya Harrod (ed.)
MIT Press, September 2018
Paperback, 240 pages, 14.6 x 21cm
ISBN 978-0-262-53582-0

Craft เป็นหนังสือในซีรีส์ Whitechapel: Documents of Contemporary Art ที่ Whitechapel Gallery ซึ่งเป็นแกลเลอรี่ศิลปะในกรุงลอนดอนทำงานร่วมกับ MIT Press โดยซีรีส์นี้จะเป็นหนังสือรวมบทความที่มีลักษณะเป็น anthology ของประเด็นต่างๆ ที่สำคัญซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอยู่ในวัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัย (visual culture) เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2006 โดยเล่ม ‘Craft’ นี้ได้ Tanya Harrod นักประวัติศาสตร์ด้านการออกแบบและบรรณาธิการร่วมของ The Journal of Modern Craft มารับหน้าที่เป็นบรรณาธิการรับเชิญ

Tanya Harrod ได้จำแนกความหลากหลายของบทความที่ได้รวบรวมอยู่ในเล่มออกเป็น 5 ประเด็นใหญ่ๆ เพื่อให้เราสามารถอ่านและค่อยๆ ทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น งานฝีมือในฐานะที่เป็นหมวดหมู่ที่มีความยืดหยุ่น (Craft as a Flexible Category), กลุ่มคน / ลักษณะพื้นบ้าน / ลักษณะสมัยใหม่ (Folk / Vernacular / Modern), การมองทะลุผ่านภาพสะท้อนของการผลิต (Through the Mirror of Production) และประเด็นสุดท้าย การต้านทานและขั้วตรงข้ามของกระบวนการผลิต (Resistance and Counter-Fabrication)

จะว่าไปแล้วคำว่า ‘craft’ หรืองานฝีมือ ดูเหมือนว่าจะเป็นคำที่คนทั่วไปมีความคุ้นเคย พูดถึง และใช้กันในวงกว้าง แต่จริงๆ แล้วคำๆ นี้ถูกใช้งานเพื่อสื่อถึงแนวความคิดที่ค่อนข้างแตกต่างกันอยู่ในหลายบริบท ไม่ว่าจะเป็นในมุมมองของศิลปะ (ข้อถกเถียงในเรื่องความเป็น high art / low art) การออกแบบในสาขาต่างๆ (ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิค วัสดุ และกระบวนการในการทำงาน) มุมมองทางด้านสังคมการเมือง (ประเด็นในเรื่องการเป็นองค์ความรู้ที่เป็นผลผลิตของสังคม) และเศรษฐกิจ (ผ่านมุมมองในเรื่องแรงงาน การแบ่งงานกันทำ รวมถึงเรื่องปัจจัยในการผลิต) ก็มีแง่มุมที่สะท้อนไอเดียแนวคิดและอุดมการณ์ต่างๆ ผ่านคำว่า ‘craft’ ที่ค่อนข้างหลากหลาย และหลายบทความในเล่มก็พาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจข้อถกเถียงต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น และในหลายบทความก็ทำให้เราเข้าใจประเด็นต่างๆ ที่เป็นประเด็นที่ร่วมสมัย ซึ่งความหลากหลายนี้เองที่ทำให้เนื้อหาโดยรวมของหนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจ

Co-published by the Whitechapel Gallery in London and the MIT Press since 2006, the Whitechapel: Documents of Contemporary Art series is a set of anthologies, consisting of critical essays that revolve around the topic of discourses on contemporary visual culture from past to present. ‘Craft’ is the latest edition in the series and its editor is design historian and co-editor of the Journal of Modern Craft, Tanya Harrod. In it, Harrod classifies a variety of essays into five major categories, enabling readers to easily access the anthology’s main concepts, which include Craft as a Flexible Category, Folk / Vernacular / Modern, Through the Mirror of Production, and Resistance and Counter-Fabrication.

Despite people’s familiarity with the word ‘craft’ and its surrounding discourse, its meaning is being employed even more diversely to represent and reflect upon ideas and ideals in different contexts, ranging from the artistic point of view (some arguments on what is high or low art) and design disciplines (the relationship between techniques, materials, and working processes) to socio-political points of view (issues on the body of knowledge as the product of society) and economics (through the lens of labor, distribution of works, and factors of production). What makes this anthology so interesting is not only how it brings readers back to re-contemplate the different arguments being discussed in the field, but also how it helps us to understand more about the contemporary notion of craft itself.

whitechapelgallery.org

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *