DesignNation Bangkok : LIVING TOGETHER

THE SECOND EDITION OF DESIGNNATION TITLED “LIVING TOGETHER” AT SAMYAN MITRTOWN FINISHED ON TUESDAY, FEBRUARY 25 WITH A SMALL TALK IN A RELAXING ATMOSPHERE BY SLOT MACHINE’S KARINYAWAT “FOET” DURONGJIRAKAN, CO-OWNER OF NIRAN APARTMENT IN NAKHON PATHOM PROVINCE, AND RAD STUDIOS’ PAWAN RITIPONG

TEXT & PHOTO: NAPAT CHARITBUTRA

จบลงไปแล้วสำหรับงานทอล์คท่ามกลางบรรยากาศชิลๆ ที่ atrium ใจกลาง Samyan Mitrtown ซึ่งครั้งนี้ DesignNation ร่างสองของ Bangkok Design Festival เทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็น 10 ปีแล้วได้จัดขึ้น

ครั้งนี้ DesignNation ได้เชิญ เฟิด-คาริญญ์ยวัฒ ดุรงค์จิรกานต์ แห่ง Slot Machine ที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการหอพัก นิรันด์ อพาร์ทเมนต์ ที่กำลังจะเป็น “ยานแม่” ด้านศิลปะของจังหวัดนครปฐม และ ปวัน ฤทธิพงศ์ สถาปนิกจาก RAD Studio มาพูดคุยถึงเบื้องหลังงานออกแบบครั้งนี้

นอกจากรูปลักษณ์แบบยานแม่ของโถงกลางของอาคาร ที่เรียกเสียงฮือฮาในโซเชียลมีเดียชั่วข้ามคืน จากการแชร์ภาพโดย นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ สิ่งที่เป็นหัวใจของโครงการนี้ก็คือ การแก้ pain point 2 ข้อ ของจังหวัดนครปฐม และวงการหอพักนักศึกษา

“ผมเชื่อว่า passion สำคัญมากในการทำธุรกิจยุคนี้” 

“ข้อแรกคือ ผมเป็นคนนครปฐม และรู้สึกว่าถึงแม้จังหวัดจะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่มันไม่มีพื้นที่ศิลปะอื่นๆ ในเมืองเลย” คาริญญ์ยวัฒ  กล่าวในระหว่างการเสวนาถึงเหตุผลเบื้องหลังที่เขาตั้งใจให้หอพักแห่งนี้มีพื้นที่ศิลปะรองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ นิทรรศการศิลปะไปจนถึง ตลาดนัดสร้างสรรค์ หรือเทศกาลฉายภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจทีเดียว โดยเฉพาะการนำ กิจกรรม 2 อย่าง ที่แตกต่างกันสุดขั้วอย่างการพักอาศัย – ที่ต้องการความสงบ กับการเป็น event space ที่เปิดออกสู่สาธารณะ และหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะเกิดเสียงดัง

“นั่นคือที่มาของ ตะแกรงสีขาวที่พาดผ่านสเปซตั้งแต่ชั้นล่างสุดไปจนถึงเพดาน ที่ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว” ปวัน สถาปนิกผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวถึงประเด็นข้างต้น และอธิบายต่อไปถึง รายละเอียดการออกแบบแต่ละห้องพัก ที่มี layout ห้อง ที่หลากหลายไปกว่าหอพักทั่วไปเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักศึกษาที่จะมาเช่า “ปกติ วัฒนธรรมของการแชร์หอพักของนักศึกษา มันคือการปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่แคบๆ กับ นิรันด์ อพาร์ตเมนต์ เราเลยมีห้องหลายๆ layout ที่ออกแบบมาให้สามารถเกิดการแชร์พื้นที่กันได้อย่างเป็นสัดเป็นส่วน” ปวัน กล่าว

อย่างไรก็ตาม ไฮไลท์สำคัญที่มาช่วยทำให้การเสวนาเป็นไปอย่างออกรสออกชาติมากขึ้นนั้นคือการปรากฏตัวของ รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้บังเอิญเดินผ่านไปแถวนั้นพอดี และเข้ามาร่วมแจมในช่วง Q&A ของงานเสวนา หลังจากซักถามพอเป็นพิธี ในฐานะผู้ผ่านประสบการณ์เป็นผู้บริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่มาก่อน ดร.ชัชชาติ ก็หยิบหนังสือ The Passion Economy: The New Rules for Thriving in the Twenty-First Century ขึ้นมาจากกระเป๋าผ้า ก่อนจะกล่าวกับวิทยากรทั้ง 2 คนว่า “ผมเชื่อว่า passion สำคัญมากในการทำธุรกิจยุคนี้”  

designation.net

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *