ป้ายกำกับ: Denmark

FJORDENHUS | GUARDIAN GLASS

Photo: David de Larrea Remiro

FJORDENHUS | GUARDIAN GLASS

Fjordenhus คืออาคารที่มีรูปร่างคล้ายทรงกระบอกออกแบบโดยศิลปิน Olafur Eliasson และสถาปนิก Sebastian Behmann ที่โดดเด่นด้วยผิวอาคารที่สร้างจากอิฐดั้งเดิมของเดนมาร์กตัดกันกับวัสดุกระจก Sunguard High Performance Neutral 60/40 Coated Glass จาก Guardian Glass

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: ANDERS SUNE BERG EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Olafur Eliasson ศิลปินชาวเดนมาร์ก – ไอซ์แลนด์ ผู้ที่มีผลงานชื่อดังมากมาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของงาน Sculpture และ Installation Art อย่างผลงาน The Weather Project ที่ Tate Modern ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า นอกเหนือจากงานศิลปะแล้ว Olafur Eliasson ยังทำงานออกแบบสถาปัตยกร ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นแรก ที่เขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ Sebastian Behmann ในการออกแบบอาคารหลังนี้

Fjordenhus ตั้งอยู่บนแม่น้ำข้างเกาะ Havneøen ที่เป็นเกาะที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับแนวความคิดของเมืองแบบใหม่ โดยเป็นสำนักงานใหญ่ของ Kirk Kapital ในส่วนบนของอาคาร ส่วนชั้นล่างนั้นเปิดให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เ เพื่อให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้ามาชมผมงานศิลปะแบบ Site – Specific ของ Olafur Eliasson ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป้นส่วนหนึ่งของอาคารโดยเฉพาะได้

ตัวอาคารถูกออกแบบให้มีรูปร่างแบบทรงกระบอก มีความสูงกว่า 28 เมตร โดยแบ่งตัวอาคารออกเป็น 4 ส่วน ซ้อน และ เหลื่อมกัน จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนของอาคารที่น่าสนใจ โดยเลือกใช้ก้อนอิฐแบบดั้งเดิมของเดนมาร์กในการปิดผิวอาคารทั้งภายใน และ ภายนอก ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาคาร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอาคารแบบสมัยก่อน หรือประภาคารที่ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งหากมองจากระยะไกลเราจะมองเห็นเป้นพื้นผิวอิฐแบบทั่วไป แต่ในรายละเอียดนั้น หากมองในระยะที่ใกล้ขึ้น จะสามารถเห็นความหลากหลายรูปแบบของลักษณะก้อนอิฐ และ โทนสีที่แตกต่างกันออกไปถึง 15 รูปแบบ กลายเป้นรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ภายในงานชิ้นนี้

จากเปลือกนอกของอาคาร พื้นที่ภายใน และ ช่องเปิดต่างๆ ถูกออกแบบให้เหมือนการคว้านพื้นที่ออกไปอย่างอิสระ ด้วยเส้นสายที่โค้งมนทั้งในแนวดิ่ง และ แนวราบ ก่อให้เกิดเป็น Space ย่อย ๆ  ที่ถูกโอบล้อมด้วยโครงสร้าง ช่องเปิดต่างๆ ทำหน้าที่เป้นทั้งโถงที่เชื่อมห้องแต่ละส่วนเข้าไว้ด้วยกัน เป็นช่องว่างของอาคารที่สร้างมุมมองไปยังอ่าว และ ทัศนียภาพเมืองโดยรอบ และ เป็นช่องเปิดที่ติดตั้งกระจกสองชั้นขนาดพิเศษที่ดัดโค้งเพื่อให้สอดคล้องไปกับเส้นสายของตัวอาคาร

สำหรับกระจกที่เลือกมาใช้นั้น คือ Sunguard High Performance Neutral 60/40 Coated Glass ที่ผสมผสานคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิ และ ป้องกันความร้อนจากภายนอก โดยได้พัฒนาร่วมกับ Guardian เพื่อสร้างให้เกิดความโค้งมน และ สร้างรูปร่างตามแบบที่ทาง Olafur Eliasson ตั้งใจไว้ จนเกิดเป็นช่องเปิดหน้าต่างมีมีความสวยงามรวมกับเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ส่งเสริมให้ภาพรวมของงานสถาปัตยกรรม มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

ไม่บ่อยนักที่เราจะมีโอกาสได้เห็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกับงานศิลปะออกมาได้อย่างลงตัว บวกกับเทคโลโลยีของการก่อสร้าง และ การเลือกวัสดุที่พิถีพิถัน ทำให้ออกมาเป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดนเด่นเช่นนี้

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

BIG ออกแบบโปรเจ็คต์ LEGO House โดยได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของตัวต่อเลโก้ ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และภายในบริเวณห้องนิทรรศการที่มีการใช้ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ดึงแสงธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่จัดแสดง เผยรายละเอียดและสีสันของผลงานตัวต่อ LEGO ให้เด่นชัดมากขึ้น

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: IWAN BAAN

(For English, press here)

หลายคนเติบโตมากับ LEGO และคุ้นเคยกับการประกอบตัวต่อต่างๆ ที่เป็นระบบ modular ที่สามารถต่อประกอบกันได้ไม่รู้จบ และในหลายครั้งของเล่นที่ชื่อนี้ LEGO กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมขนาดย่อม ที่เราสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้โดยง่ายจากการประกอบตัวต่อไปเรื่อยๆ อย่างอิสระ ซึ่งนี่เป็นเหมือนที่มาของแนวความคิดในการออกแบบ LEGO House โดยผู้ออกแบบ BIG ได้สร้างอาคารเสมือนกับว่า ถูกประกอบร่างขึ้นมาจากตัวต่อ LEGO จริงๆ

อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Billund ประเทศ Denmark ที่เป็นจุดกำเนิดของ LEGO ซึ่งมุ่งหวังให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของเยาวชนในอนาคต LEGO House ทำหน้าที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง ไปพร้อมกับพื้นที่ภายในกว่า 12,000 ตารางเมตร ที่บอกเล่าเรื่องราวทุกแง่มุม จากของเล่นชิ้นโปรดตลอดกาลของใครหลายคน ตลอดจนสามารถเห็นถึงเอกลักษณ์ที่ชัดเจนได้ตั้งแต่ รูปร่างอาคารที่ถูกออกแบบให้เหมือนตัวต่อสีขาวขนาดใหญ่ถูกนำมาประกอบ ตั้งซ้อนเรียงกัน จนเกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความโดนเด่นเช่นนี้

จากภายนอก หากมองจากระดับปกติ ผู้ใช้งานจะมองเห็นอาคารสีขาวที่เป็นเสมือนกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายสัดส่วนของตัว LEGO ตั้งเรียงกัน ไล่ระดับขึ้นไป โดนมีทั้งส่วนที่ปิดทึบด้วยผนังสีขาว และส่วนที่เปิดมุมมองจากภายในสู่ภายนอกด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ แต่หากมองจากด้านบน บนดาดฟ้าของอาคารแต่ละก้อน ถูกออกแบบให้มีสีสันที่แตกต่างกันคล้ายกับสีของตัวต่อ LEGO เพื่อรองรับกิจกรรมกลางแจ้งที่เป็นสนามเด็กเล่น และสีต่างๆ ก็นำเสนอผ่านการแบ่งโซนของกิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละส่วนใน Museum ส่วนพื้นที่ภายในอาคารนั้นประกอบไปด้วย ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของ ห้องนิทรรศการ พื้นที่การเรียนรู้และเล่นที่สามารถลำดับการเรียนรู้ได้ตาม สีต่างๆ ที่ถูกออกแบบไว้เป็นอย่างดี

โถงกลางของอาคารถูดจัดแสดงด้วย LEGO ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมด้วยบันได และแสงธรรมชาติที่ถูกส่องผ่านลงมาจาก skylight เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับโถงอาคาร และอีกจุดหนึ่งที่เป็นไฮไลต์สำคัญ คือห้องจัดแสดงงาน LEGO คอลเลคชั่นพิเศษต่างๆ โดยภายในห้องได้ถูกออกแบบให้มีช่องแสง skylight วงกลม จำนวน 8 จุด เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตัวต่อ LEGO ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านบนที่เป็นดาดฟ้า โดยกระจกที่เลือกใช้นั้นคือ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ที่สามารถรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้ถึง 60% และยังป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ให้ผ่านเข้ามาในอาคารเพียง 28% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้พื้นที่ภายในนั้นมีความสว่าง โปร่ง เย็นสบาย รวมทั้งให้ความชัดเจนในการจัดแสดงชิ้นงานภายในอาคาร

ซึ่งกระจกนั้นถูกผสานเข้ามาในหลายๆ ส่วน ทั้งผนังอาคาร ราวกันตก ที่เลือกใช้กระจกเพื่อความโปร่งของพื้นที่ แต่ยังคงความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานที่ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ช่วยให้พื้นที่ส่วนๆ ต่างเชื่อมโยงถึงกันเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ภายในได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com