All posts by Ratchadaporn Hemjinda

KAITHONG ORIGINAL AT CENTRAL EMBASSY

Trimode Studio ส่งต่อดีเอ็นเอความประณีตและความใส่ใจในอาหารทุกจานของ ไก่ทอง ออริจินัล ด้วยการดีไซน์ร้านภายใต้คอนเซปต์ ‘ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติสู่มนุษย์’ ที่แฝงความพิถีพิถันไว้ในทุกดีเทลการออกแบบและสร้างประสบการณ์ของสเปซที่แตกต่างและน่าจดจำ

Read More

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

Maraya Concert Hall คืออาคารกระจกเงาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งแฝงตัวอยู่ท่ามกลางทะเลทราย Arabian พื้นผิวอาคารถูกห่อหุ้มด้วยกระจกเงา UltraMirror ที่พัฒนาโดย Guardian Glass ซึ่งสะท้อนภาพทิวทัศน์โดยรอบลงบนพื้นผิวภายนอกของอาคาร สร้างภาพลวงตาเสมือนอาคารหายไปในสภาพแวดล้อม

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

มองแล้ว ต้องมองอีกที สำหรับโปรเจ็คต์ Maraya Concert Hall ที่มองผ่านๆ ถ้าไม่ทันสังเกตเราอาจจะเห็นเป็นทิวทัศน์ของภูเขาท่ามกลางทะเลทราย Arabian เพราะตัวอาคารนั้นปิดผิว Façade ทั้งหมดด้วยกระจกเงา จนเกิดเป็นทิวทัศน์โดยรอบ ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมของตัวอาคาร จนคล้ายกับว่าจะหายไปจากการมองเห็นในบางครั้ง สร้างความรู้สึกเหมือนภาพลวงตาให้เกิดขึ้นสำหรับคนที่พบเห็น

สำหรับห้องจัดแสดงขนาด 500 ที่นั่ง และ ด้วยพื้นที่กว่า 9740 ตารางเมตร ทำให้ Maraya Concert Hall นั้นกลายเป็นอาคารกระจกเงาที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยบันทึกลงใน Guinness Book ซึ่งด้วยสเกลของอาคารนั้นทำให้ภาพที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาดแวดล้อมโดยรอบอย่างชัดเจน ซึ่งคำว่า Maraya นั้นหมายถึง ‘กระจก’ ในภาษาอาหรับ ซึ่งหลายมาเป็น Concept Idea หลักของโปรเจ็คต์นี้

ในตอนเริ่มต้นนั้น Façade ถูกออกแบบให้ดูคล้ายผนังเหล็กขนาดใหญ่ ที่สะท้อนให้เป็นภาพทิวทัศน์โดยรอบแบบเลือนราง และ ไม่ชัดเจน เนื่องด้วยความกังวลในการใช้กระจกจริงสำหรับการออกแบบอาคารในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลทรายเช่นนี้ ที่ทั้งความร้อน และ รังสี UV จะส่งผลถึงสารเคลือบกระจกต่างๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษาในอนาคต รวมถึงผลลัพธ์ของการสะท้อนที่ไม่ชัดเจนมากพอ จนถึงการผิดเพี้ยนของสี ที่อาจะส่งผลให้การใช้กระจกไม่ได้ผลดีเท่าที่คิด 

แต่ด้วยเทคโนโลยีจาก Guardian Glass ที่ได้พัฒนากระจกหลากหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งาน ซึ่งทางทีมก็ได้เลือก UltraMirror ที่เป็นกระจกเงาสำหรับงานออกแบบภายใน เพื่อพัฒนาให้มีคุณสมบัติมากพอสำหรับการใช้งานในโครงการที่มีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ 

โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทาง Guardian Glass ไม่ใช้เพียงแต่ผลิตกระจกเท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมพัฒนาผลงาน ค้นคว้า และ หาทางออกที่เหมาะสม และตอบโจทย์ที่สุดสำหรับงานกระจกในงานสถาปัตยกรรม แม้ว่าจะเป็นแนวความคิดที่ยากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ก็ตาม เพราะกระจกทุกรูปแบบ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อยู่ที่การทำความเข้าใจ คัดสรร และ ประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากเรื่องคุณสมบัติของกระจกแล้วยังมีความท้าทาย ในการขนส่ง และ ติดตั้ง เนื่องจากกระจกเงาที่ใช้นั้นมีความแตกต่างจากกระจกเงาปกติ เพราะต้องนำไปตัด อบความร้อน และ เคลือบสารเคมีต่างๆ ที่มาก และ ซับซ้อนกว่าปกติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหากมองในภาพรวม ทั้งวิธีการติดตั้ง ขนาดของกระจก และ พื้นผิวโดยรวม รวมไปถึงประสิทธิภาพในการสะท้อนสภาพแวดล้อมโดยรอบนั้น ส่งผลให้ Maraya Concert Hall เป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอย่างมาก จนได้รับรางวัล Popular winner จาก Architizer A+Awards ปี 2020 ในสาขา สถาปัตยกรรม และ กระจก เป็นรางวัลที่การันตีการประสบความสำเร็จของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

MUNCH MUSEUM

แม้รูปร่างของอาคารพิพิธภัณฑ์ที่ออกแบบโดย Herreros Arquitectos จะเหมือนกับแท่งหินอันหนักอึ้งและดูแปลกตา แต่อาคารก็สะท้อนลักษณะผลงานของ Munch ที่ตั้งคำถามกับศิลปะในยุคก่อน และสะท้อนสปิริตของพิพิธภัณฑ์ที่ต้องการเป็นมากกว่าแค่พิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ

Read More

PHOTO ESSAY : THE SUBTLE ACT OF RAW AND SOLID BY THICK AND THIN

TEXT: RATCHADAPORN HEMJINDA
PHOTO COURTESY OF THICK AND THIN

(For English, press here)

ไม้ เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากต้นไม้นับร้อยชนิดที่แตกหน่อและยืนต้นตระหง่าในป่าใหญ่ท่ามกลางฤดูกาลที่เปลี่ยนไปนับหลายสิบปี ด้วยความหลากหลายของแหล่งกำเนิดและพันธุ์ ไม้จึงเรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่คาดเดาไม่ได้ ทั้งสีสันและลายเสี้ยนที่มนุษย์ไม่อาจกำหนดได้เอง และบ่อยครั้งจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมากในการดึงอัตลักษณ์และคุณสมบัติของไม้มาใช้ ซึ่งต้องอาศัยทักษะฝีมือของช่างไม้ผู้มีประสบการณ์และความชำนาญเป็นพิเศษ Thick and Thin เชื่อในคุณค่าของไม้ทุกชนิดที่มีความงามอย่างเป็นธรรมชาติและยากที่จะเลียนแบบได้ เริ่มต้นจากความตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวคุณค่าของไม้สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้ที่สะท้อนวิธีคิด ปรัชญาการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ของผู้คน อีกทั้งแฝงเรื่องราวต่างๆ ผ่านกระบวนการได้มาของวัสดุ และองค์ความรู้ในการทำงานไม้เพื่อส่งต่อไปสู่คนรุ่นหลัง

‘The Subtle Act of Raw and Solid’ สี ลายเสี้ยน และความไม่สมบูรณ์แบบโดยธรรมชาติของไม้ คือเสน่ห์และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ไม้สร้างสรรค์ให้แก่เรา และนี่คือคอนเซ็ปต์และหลักการทำงานของ Thick and Thin Studio ที่เริ่มต้นทดลองทำงานไม้จากการคัดเลือกไม้แต่ละแผ่นเพื่อนำมาขึ้นชิ้นงานด้วยวิธีต่างๆ และใช้เทคนิคงานไม้ที่เหมาะสม จนได้โครงสร้างที่แข็งแรงพร้อมเผยเนื้อแท้ของไม้โดยปราศจากการปรุงแต่งใดๆ 

จากไม้หนึ่งท่อนถูกเลื่อยและไสอย่างประณีต ก่อนจะนำมาวางเรียงต่อกันด้วยเทคนิคประสานแผ่นไม้จนได้โครงสร้างที่สมมาตรและแพทเทิร์นจากสีและลายเสี้ยนที่น่าสนใจ นี่คือเบื้องหลังการสร้างสรรค์ ‘TOUGH’ เก้าอี้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความใหญ่โตและหนักแน่นของต้นไม้นำมาตัดทอนรูปร่างรูปทรงเพื่อสื่อถึงความรู้สึกที่มั่นคงและแข็งแรง ซึ่งถูกประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สอดประสานกันอย่างลงตัว เป็นการสื่อถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ที่ต้องเผชิญความยากลำบาก อดทน และฝ่าฟันสิ่งต่างๆ มาด้วยกัน ขณะที่ ‘TIGHT’ ม้านั่งไม้ยาวที่ดีไซน์ออกมาอย่างเรียบง่าย ที่แต่ละชิ้นส่วนของไม้ถูกประกอบเข้าด้วยเทคนิคการเข้าไม้แบบโบราณ โดยไม่ใช้ตะปูหรือน็อต เพื่อสื่อถึงเรื่องราวข้อต่อของความสัมพันธ์ที่เน้นแฟ้น กลมกลืน และเป็นหนึ่งเดียว คุณค่าของไม้จึงพิเศษมากกว่าการเป็นแค่วัสดุ เพราะเมื่อไหร่ที่ไม้มาเจอกับความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ อาจเกิดความเป็นไปได้ หรือการค้นพบใหม่ๆ ที่ไม่รู้จบ นั่นคือสิ่งที่ Thick and Thin เชื่อมั่นมาโดยตลอด

facebook.com/thickandthin.studio

ST INTERNATIONAL HQ AND SONGEUN ART SPACE

Herzog & de Meuron และ JUNGLIM architecture สร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ให้กับย่านซองดัมดง ย่านธุรกิจทางตอนใต้ของกรุงโซล ด้วยอาคารสำนักงานและ art gallery ที่ดูเหมือนเป็นผืนคอนกรีตเรียบเนียนผืนใหญ่

Read More

THYBERPUNK BY JARMO

art4d สนทนากับ กมลฉัตร เป็งโท (JARMO) ศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมที่ผสมผสานระหว่างความเชื่อวิถีไทยเรื่อง ปาฏิหาริย์ ภูต ผี กับนิยายวิทยาศาสตร์ และเอเลี่ยน ในนิทรรศการศิลปะเดี่ยวล่าสุดของเขา “Thyberpunk” ที่มูลนิธิ One Wall Art

Read More

FJORDENHUS | GUARDIAN GLASS

Photo: David de Larrea Remiro

FJORDENHUS | GUARDIAN GLASS

Fjordenhus คืออาคารที่มีรูปร่างคล้ายทรงกระบอกออกแบบโดยศิลปิน Olafur Eliasson และสถาปนิก Sebastian Behmann ที่โดดเด่นด้วยผิวอาคารที่สร้างจากอิฐดั้งเดิมของเดนมาร์กตัดกันกับวัสดุกระจก Sunguard High Performance Neutral 60/40 Coated Glass จาก Guardian Glass

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: ANDERS SUNE BERG EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Olafur Eliasson ศิลปินชาวเดนมาร์ก – ไอซ์แลนด์ ผู้ที่มีผลงานชื่อดังมากมาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของงาน Sculpture และ Installation Art อย่างผลงาน The Weather Project ที่ Tate Modern ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า นอกเหนือจากงานศิลปะแล้ว Olafur Eliasson ยังทำงานออกแบบสถาปัตยกร ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นแรก ที่เขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ Sebastian Behmann ในการออกแบบอาคารหลังนี้

Fjordenhus ตั้งอยู่บนแม่น้ำข้างเกาะ Havneøen ที่เป็นเกาะที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับแนวความคิดของเมืองแบบใหม่ โดยเป็นสำนักงานใหญ่ของ Kirk Kapital ในส่วนบนของอาคาร ส่วนชั้นล่างนั้นเปิดให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เ เพื่อให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้ามาชมผมงานศิลปะแบบ Site – Specific ของ Olafur Eliasson ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป้นส่วนหนึ่งของอาคารโดยเฉพาะได้

ตัวอาคารถูกออกแบบให้มีรูปร่างแบบทรงกระบอก มีความสูงกว่า 28 เมตร โดยแบ่งตัวอาคารออกเป็น 4 ส่วน ซ้อน และ เหลื่อมกัน จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนของอาคารที่น่าสนใจ โดยเลือกใช้ก้อนอิฐแบบดั้งเดิมของเดนมาร์กในการปิดผิวอาคารทั้งภายใน และ ภายนอก ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาคาร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอาคารแบบสมัยก่อน หรือประภาคารที่ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งหากมองจากระยะไกลเราจะมองเห็นเป้นพื้นผิวอิฐแบบทั่วไป แต่ในรายละเอียดนั้น หากมองในระยะที่ใกล้ขึ้น จะสามารถเห็นความหลากหลายรูปแบบของลักษณะก้อนอิฐ และ โทนสีที่แตกต่างกันออกไปถึง 15 รูปแบบ กลายเป้นรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ภายในงานชิ้นนี้

จากเปลือกนอกของอาคาร พื้นที่ภายใน และ ช่องเปิดต่างๆ ถูกออกแบบให้เหมือนการคว้านพื้นที่ออกไปอย่างอิสระ ด้วยเส้นสายที่โค้งมนทั้งในแนวดิ่ง และ แนวราบ ก่อให้เกิดเป็น Space ย่อย ๆ  ที่ถูกโอบล้อมด้วยโครงสร้าง ช่องเปิดต่างๆ ทำหน้าที่เป้นทั้งโถงที่เชื่อมห้องแต่ละส่วนเข้าไว้ด้วยกัน เป็นช่องว่างของอาคารที่สร้างมุมมองไปยังอ่าว และ ทัศนียภาพเมืองโดยรอบ และ เป็นช่องเปิดที่ติดตั้งกระจกสองชั้นขนาดพิเศษที่ดัดโค้งเพื่อให้สอดคล้องไปกับเส้นสายของตัวอาคาร

สำหรับกระจกที่เลือกมาใช้นั้น คือ Sunguard High Performance Neutral 60/40 Coated Glass ที่ผสมผสานคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิ และ ป้องกันความร้อนจากภายนอก โดยได้พัฒนาร่วมกับ Guardian เพื่อสร้างให้เกิดความโค้งมน และ สร้างรูปร่างตามแบบที่ทาง Olafur Eliasson ตั้งใจไว้ จนเกิดเป็นช่องเปิดหน้าต่างมีมีความสวยงามรวมกับเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ส่งเสริมให้ภาพรวมของงานสถาปัตยกรรม มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

ไม่บ่อยนักที่เราจะมีโอกาสได้เห็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกับงานศิลปะออกมาได้อย่างลงตัว บวกกับเทคโลโลยีของการก่อสร้าง และ การเลือกวัสดุที่พิถีพิถัน ทำให้ออกมาเป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดนเด่นเช่นนี้

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

GRAND BRITANIA BANGNA KM.12

Grand Britania Bangna กม.12 โครงการบ้านพักอาศัยที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอย ตั้งแต่พื้นที่ภายในโครงการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไปจนถึงการออกแบบพื้นที่ภายในบ้านที่ตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของทุกครอบครัว

Read More

DOTS DESIGN STUDIO

มาทำความรู้จักกับสตูดิโอออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ ที่มีจุดเริ่มต้นจุดเล็กๆ จากการตั้งสตูดิโอในสมัยเรียน สู่การเติบโตและคว้ารางวัลใหญ่ๆ มามากมาย รวมถึงเปิดกระบวนการคิดที่เน้นเสนองานดีไซน์ที่แปลกใหม่ แต่มีความสมดุล

Read More

MILKY’S CLOUD ROOM

Full Fat Studio ตอบสนองวิถีชีวิตแบบ slow life ด้วยงานออกแบบภายในร้านกาแฟ slow coffee ที่ slow down ช่วงเวลาของโลก ให้กลายเป็นช่วงเวลาแห่งความรื่นรมย์

Read More