LANDSCAPE ARCHITECTS OF BANGKOK (LAB)

PTT Green in the City, Image © Rungkit Charoenwat

THERE ARE TWO GREAT DIFFICULTIES WHEN IT COMES TO BEING A LANDSCAPE ARCHITECT IN THAILAND. FIRST, IS CONVINCING CLIENTS NOT TO REMOVE TREES FROM ONE SITE IN ORDER TO INCORPORATE THEM INTO ANOTHER, AND SECOND, WORKING IN A MANNER THAT ALLOWS FOR THE STUDIO TO MAINTAIN THEIR INITIAL VISION.

 

What is the concept or working philosophy of Studio Lab?
We put our emphasis on every element and process of natural transformation that takes place in the space we work with. We find ways for the design to blend in with or complement these elements, making them more distinctive. But in the case where there are problems we have to deal with, regeneration is also one of our priorities. The thing that we’re also interested in is the kind of design that allows for people to have a positive experience in using a quality exterior space and where they are able to notice and appreciate the distinctive elements of the space. For instance, a design that offers people experiences with the ‘wind,’ which is this visually invisible element. In the design process, we study, not only the technological aspect but also the aesthetic aspect of it. We may use the kind of tree that stimulates people’s awareness of the presence of the wind. Each tree has its own sound and form. Willows don’t make sound but they have amazing interaction with the wind because the leaves are very small so they flow beautifully. Bodhi or bamboo trees make sounds, whereas grass, at a certain height can create amazing waves when hit by the wind. These interactions allow us to sense the existence of the wind, so even when the air is hot, we feel better about the space somehow. One of our main intentions is for people to acknowledge and recognize the importance of a quality environment so that they feel inspired to contribute something to the improvement of the environment they are a part of. For example, if they come into the space we created and see the green of the trees, the sound of water running, and the experience makes them want to go out there and plant trees, help protect the forest, that’s one of our highest goals being achieved.

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

 

What are the projects that best describe the character of your studio?
The Metro Forest project. It was such a great opportunity to be able to experiment with this type of work. It may not directly involve the ‘sun’ or the ‘wind’ but it did revolve around the transformation of nature. We want people to know that the space where young trees are planted can be beautiful and it will become even more beautiful when the trees are all grown. The challenge here is to create the kind of space that doesn’t contain that many design elements, but still makes people feel good and impressed. We worked very closely with the architect to make the entire program realize this great unison.

 

Chula Park, Image © LAB

Chula Park, Image © LAB

 

There are many other projects that allow us to experiment with these concepts. The design competition for SCG is one of the projects where we proposed an idea about regeneration of nature, turning wastewater into clean water. These things are included in the design and they help to change people’s perceptions about landscape architecture, allowing for them to see that it isn’t just about a demonstrative element but that it has this ability to treat, revitalize and solve environmental problems as well. We proposed the idea where trees are used to help with wastewater treatment because you can find that nature is full of these types of processes and it is up to us to figure out how to use them. Another project is the design competition of Chamchuri Park, in which we won second place, and the idea of wastewater treatment was also employed. Our thought was to turn this public park into a place where wastewater could be treated naturally and the treated water could be used to water the plants in the park. It’s basically the idea of a forest park where the trees may not be grown in this beautiful arrangement, but we would choose the trees based on their performance, especially the kinds that could live and survive on wastewater or the types that could produce more oxygen. Chulalongkorn University is interested in the concept and there are issues about maintenance that they worry about, but they did use many of the ideas we proposed.

 

PTT Green in the City, Image © Rungkit Charoenwat

PTT Green in the City, Image © Rungkit Charoenwat

 

In your view, what should the role of a landscape architect be?
We are a physical designer, just like architects, interior designers or product designers. But our tools are nature, earth, water, trees and sunlight. It we are able to help improve the environment, that should be the role we dedicate ourselves to. It’s not just about regeneration but also reinforcement, encouraging people to take better care of nature. If we were assigned a project in Khao Yai, we probably wouldn’t have to do anything because the nature there is already so rich so our job would be to help people experience that open space better.

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

 

What is your greatest challenge working as a landscape architect in Thailand? 
Many times, the projects that we have done were too small to be called landscape architecture. Most of the works we have realized are in urban areas, such as a communal garden in a condominium, which is rather limited in terms of space so the challenge is how to keep ourselves from forgetting what we really should be doing. As a landscape architect, you don’t always get to work on the project where you can really develop your ideas. So, what we do is try to find the kind of project, or design competition that allows for us to develop our thought process. The change in Thailand’s landscape architecture may not take place in my generation, it has always been slow and the focus has always been put on beauty and the social aspects whereas the environmental aspects are prioritized less. These things should be balanced to be in the right proportion.

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

 

What are your thoughts on today’s landscape architecture industry in Thailand?
It’s much better now. There are certain preferences that have become a bad tradition. The thing is that Thai people like large trees with 20-30” diameters while in Malaysia or other countries, the maximum diameter is 3-4,” so with the market demanding trees of such size, this requires the relocation of trees from one place to another. So, when a new green space is being created, another one goes missing. Relocation also means that no new trees are being grown. It’s a very bad thing if you think about it. It’s not that I don’t do it, I do, but I always ask my clients, can you wait? If you weren’t in such a hurry it would be much better, if everyone could wait and let the new trees grow. Imagine how many new trees our industry could help grow if everyone took on this approach.

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

 

What is your definition of “landscape architecture”?
In my view, it’s a duty, taking care of the environment. It used to involve the idea of how the environment is related to the society and we often hear this saying that growing trees is like creating new lungs for the city. I think that’s the beginning of how a landscape architect or landscape architecture should be defined. We step in to make the environment better. It isn’t just the appearance but the truly improved environmental condition. We, too, believe in this approach, that if every condominium and residential project plants new trees of their own, and doesn’t just bring in already mature trees from somewhere else, that alone would be an improvement.

IF (Integrated Field) Photo by Ketsiree Wongwan

อะไรคือแนวคิดหรือปรัชญาการทำงานของ LAB?
เราจะให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่อยู่ในพื้นที่ที่เราทำงาน และหาวิธีที่จะออกแบบให้กลมกลืนหรือส่งเสริมองค์ประกอบ เหล่านี้ให้มีความโดดเด่นชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่ในกรณีที่พื้นที่ที่เราทำงานมีปัญหา การแก้ไขฟื้นฟูพื้นที่ก็เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน นอกจากนี้สิ่งที่เราสนใจ คือ การออกแบบที่ทำให้คนมีประสบการณ์ในการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารที่ดี รับรู้ได้ถึงองค์ประกอบที่โดดเด่นของพื้นที่ ซึ่งเราก็เอาตรงนี้นี่แหละมาเป็นหัวข้อหลักในการออกแบบ อย่างเช่น ในเรื่องของ “ลม” เราก็จะทำให้คนมีประสบการณ์กับสิ่งที่มองไม่เห็นอย่าง “ลม” ซึ่งในกระบวนการออกแบบ เราไม่ได้ศึกษาแค่เชิงเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ในเชิง สุนทรียศาสตร์ด้วย เช่น เราอาจจะเลือกพันธุ์ไม้ที่กระตุ้นให้คนรับรู้การมีอยู่ของลม ต้นไม้ แต่ละต้นมีเสียงและฟอร์มที่ไม่เหมือนกัน เช่น ต้นหลิว ที่อาจจะไม่มีเสียง แต่พอลมพัด เนื่องจากมันมีใบที่เล็ก ก็จะดูพริ้วได้ง่าย อย่างต้นไผ่ ต้นโพธิ์ ก็จะมีเสียง หรือถ้าเรา ไปทุ่งหญ้า ถ้าหญ้ามันสูงหน่อย ถูกลมพัดเป็นคลื่น เราก็จะรู้สึกถึงการมีอยู่ของลม ถึงแม้อากาศจะร้อน แต่มันก็ช่วยให้เรารู้สึกดีกับสเปซได้ขึ้นมาบ้าง นอกจากนี้เราก็ต้องการให้คนรับรู้และรู้สึกได้ถึงสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ จนเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเข้ามาในพื้นที่แล้วได้รับความร่มรื่น เห็น ความเขียวของต้นไม้ ได้ยินเสียงน้ำไหล นกร้อง เมื่อกลับไปแล้วก็อาจจะอยากไปปลูกต้นไม้ สร้างป่า อันนั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราเลย

โปรเจ็คต์ไหนบ้างที่บ่งบอกถึงคาแร็คเตอร์ของสตูดิโอได้ดีที่สุด?
โปรเจ็คต์ ‘ป่าในกรุง’ เป็นโอกาสที่เราได้ทดลองทำเรื่องพวกนี้ ถึงแม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องของ “แดด” หรือ “ลม” เป็นหลัก แต่มันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เราอยากทำให้คนรับรู้ว่าการปลูกต้นไม้ตั้งแต่เป็นกล้าก็สวยได้เหมือนกัน และพอมันโตขึ้น มันก็จะค่อยๆ สวยขึ้นเรื่อยๆ อีกอย่างคือ ทำยังไงให้คนเข้าไปในสเปซที่ไม่ได้มีดีไซน์ อะไรมากแล้วรู้สึกดี ประทับใจในสเปซนั้นๆ เราทำงานร่วมกับสถาปนิกตลอดเวลาซึ่ง ทำให้ทั้งโครงการดูกลมกลืนกัน

ยังมีอีกหลายโครงการที่เราได้ทดลองแนวคิดพวกนี้ การประกวดแบบที่ SCG เราก็เอาแนวคิดเรื่องของการแก้ไขและฟื้นฟูธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนจากน้ำเสียเป็นน้ำดีมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งมันจะช่วยเปลี่ยนมุมมองที่คนมีต่อแลนด์สเคปว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องของการเป็น decorative element แต่สามารถช่วยบำบัด ฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เราจึงเสนอไปว่า ลองใช้ต้นไม้มาช่วยในการบำบัดน้ำเสียสิ ในธรรมชาติมันมีกระบวนการพวกนี้อยู่แล้วขึ้นอยู่กับว่าเราจะดึงมาใช้ยังไง อีกที่หนึ่งคือ การประกวด ‘อุทยานจุฬา 100 ปี’ ซึ่งเราได้ที่สอง แต่ว่าไอเดียหลายๆ อัน อย่างการบำบัดน้ำก็ถูกเอามาใช้ ตอนนั้นเราเสนอไปว่า ทำไมเราไม่ทำสวนสาธารณะนี้ให้กลายเป็นที่บำบัดน้ำเสียที่สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมารดน้ำต้นไม้ต่อได้ล่ะ แบบที่เราเสนอไปเป็นเหมือนกับ forest park ที่ไม่ได้เน้นการจัดเรียงที่สวยงามเหมือนกับพวกสวนลุมฯ แต่เราเลือกต้นไม้ที่มี performance โดยเฉพาะต้นไม้ที่อยู่กับน้ำเสียได้ดี หรือผลิตออกซิเจนได้เยอะ ซึ่งจุฬาฯ เขาก็สนใจ แต่เขาเป็นห่วงเรื่องการดูแลรักษา แต่เขาเอาข้อคิดของเราไปใช้เยอะนะ

ในมุมมองของคุณ ภูมิสถาปนิกควรจะมีบทบาทยังไง?
เราเป็น physical designer เหมือนกับสถาปนิก อินทีเรียดีไซเนอร์ หรือโปรดักท์ดีไซเนอร์ แต่ว่าเครื่องมือในการทำงานของเราคือ ธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ต้นไม้ แสงแดด ถ้าเรา สามารถที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้ สิ่งนี้ก็น่าจะเป็นบทบาทที่เราควรทำมากที่สุด นอกจากการฟื้นฟู มันอาจจะเป็นการส่งเสริมก็ได้ ทั้งในแง่การกระตุ้นให้คนหันมาดูแลธรรมชาติ แต่สมมติถ้าเราได้โปรเจ็คต์ที่เขาใหญ่ แน่นอนว่าเราคงไม่ต้องทำอะไร เลยเพราะธรรมชาติที่นั่นดีอยู่แล้ว แต่ที่เราต้องทำคือ จะทำยังไงให้คนมีประสบการณ์กับ open space นั้นได้ดีขึ้น

คุณคิดว่าอะไรเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุดสำหรับการทำงานเป็นภูมิสถาปนิกในประเทศไทย?
หลายๆ ครั้ง โปรเจ็คต์ที่เราทำอาจจะเล็กเกินไปกว่าที่จะเรียกได้ว่าภูมิสถาปนิก โครงการส่วนใหญ่เราก็ทำในเมือง อย่างเช่น สวนคอนโดซึ่งมีพื้นที่ไม่มากนัก ความท้าทายก็คือ ทำยังไงให้ตัวเราเองไม่ลืมสิ่งที่เราควรจะทำจริงๆ ในฐานะภูมิสถาปนิก บางทีเราไม่มีโปรเจ็คต์ที่เราจะได้พัฒนาความคิดนั้นๆ ดังนั้น เราจึงพยายามหาโปรเจ็คต์ หรือการประกวดแบบที่ทำให้เราได้พัฒนากระบวนการนั้นๆ บางทีมันอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงในยุคของผมก็ได้ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมไทยมันค่อนข้างช้า ที่ทำๆ กันก็เป็นเรื่องความสวยงาม เน้นในเรื่องสังคม แต่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า สิ่งเหล่านี้ควรจะถูกบาลานซ์ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอดี

คุณคิดว่าวงการภูมิสถาปนิกในเมืองไทยตอนนี้เป็นยังไงบ้าง?
ดีขึ้นเยอะครับ แต่ข้อเสียที่ยังมีก็คือ คนไทยชอบสเป็คต้นไม้ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ทั้งๆ ที่ในมาเลเซียหรือต่างประเทศเขาใช้กันแค่ 3-4 นิ้ว ซึ่งการที่เราเอาต้นไม้ใหญ่ขนาดนี้มาทำงาน มันก็คือการย้ายต้นไม้จากที่อื่นมาลงในพื้นที่ใหม่ เราเพิ่มพื้นที่สีเขียวตรงนี้ แต่ตรงนั้นมันก็หายไป ถ้าทุกคนมัวแต่ย้ายกันแบบนี้ มันก็แทบจะไม่ได้มีต้นไม้ใหม่เกิดขึ้น คิดดูจริงๆ แล้วมันก็แย่ ไม่ได้หมายถึงแต่คนอื่นๆ นะ ตัวเราเองก็ทำด้วย แต่ทุกๆ ครั้งผมก็จะบอกกับลูกค้าว่าถ้าคุณไม่จำเป็นต้องรีบ คุณรอได้ไหม มันมีประโยชน์มากกว่านะ ถ้าทุกคนช่วยกันหันมาปลูกต้นไม้ใหม่ ปีๆ นึงวงการแลนด์สเคปเราปลูกต้นไม้เยอะมากเลยนะ (แต่ส่วนมากก็เป็นการย้ายมาจากที่อื่น)

คุณมีนิยามของ ‘ภูมิสถาปัตยกรรม’ ว่ายังไงบ้าง?
ผมขอมองว่าเป็นหน้าที่ล่ะกัน ก็คือเรื่องการดูแลสภาพแวดล้อม สมัยก่อนเขารวมไปถึงความคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมมันเกี่ยวข้องกับสังคมยังไง เราเคยได้ยินบ่อยๆ ว่าการปลูกต้นไม้มันจะกลายเป็นปอดให้กับเมือง ตรงนี้เองมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการนิยาม “ภูมิสถาปนิก” ว่าคือการเข้ามาช่วยทำยังไงให้สภาพแวดล้อมมันดี ไม่ใช่แค่ว่าดูดี แต่หมายถึงดีขึ้นจริงๆ ซึ่งเราก็เชื่อในแนวทางนี้เหมือนกัน เช่น ถ้าคอนโดทุกๆ ที่หันมาปลูกต้นไม้ใหม่ ไม่ไปเอาต้นไม้ที่อื่นมาใช้แค่นี้มันก็ดีขึ้นแล้ว

landscapebangkok.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *