THE WEIGHT OF LIGHTNESS AT M+ PAVILION

The vigorous atmosphere sparked by art and design spread throughout Hong Kong under the BODW2017 event.

We bring you to West Kaoloon, a developing harbor-front area being transformed into an art and cultural public space that includes a museum, gallery, public buildings and an art park for housing outdoor events that further provides a relaxing atmosphere for families and friends.

The exhibition being held at the M+ Pavilion during the time of BODW2017 went by the name of ‘The Weight of Lightness.’ Ink was both the medium and the main topic of the exhibition as the material has been a vehicle for communicating Asian visuals to the world for a very long time. Although ink is considered a tool of language for telling somewhat of an old-fashioned story, especially in this day and age where it is typically found hidden in the shaft of a pen, from the mid-twentieth century until now, many contemporary artists have been exploring ways of utilizing ink through new approaches to create fresh and interesting instances of art.

m+ pavilion

The gallery was divided into three sections and fit within the well-designed circulation were spaces for exhibiting everything from large-scale art pieces to tiny books. The first section housed ‘Scripts, Symbols, Strokes,’ where alphabets were interpreted into art pieces via volume and stroke, as if telling us a story through visual language. The characters of the alphabet were continuously unfolded until they reached that of semi-abstract lines, such as the piece from Tong Yang-Tze (2002) where he compared characters of the alphabet to ducks floating on the water.

The second section housed ‘Desire for Landscape’ featuring recognizable Asian-styled art that utilizes the medium of ink to convey landscape paintings. The artists varied from those working doing the cold war to contemporary practitioners who experiment with the use of the identity of traditional landscape elements such as bamboo, pine, rocks and stone, and reinterpret such into new compositions paired with new meaning.

The last area welcomed ‘Beyond Material,’ where ink was utilized on different materials apart from typical Chinese papers. Some developed installations where ink was painted directly onto coins installed in a closed room and compared to a galaxy while others developed collages to create a third dimension through the act of tearing and rearranging papers into compositions.

m+ pavilion

The exhibition brings the capabilities of ink to the forefront while further acknowledging the role the material has played within art practice from past till present, the free era where artists are presented opportunity to call upon countless mediums as means of expression. Even today, ink remains relevant and true to its nature while also conveying the character and individuality of its user. The ‘Weight of Lightness’ therefore encourages viewers to acknowledge both what contributions ink has made, as well as the ongoing potential of the medium.

บรรยากาศคึกคักของงานศิลปะและการออกแบบกำลังอบอวลไปทั่วเกาะฮ่องกงภายใต้การจัดงาน BODW2017 เราพาคุณเดินทางมาฝั่ง West Kaoloon บนโครงการพัฒนาพื้นที่บนชายฝั่งตะวันตกของเกาลูนเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทุกแขนง ซึ่งประกอบด้วยทั้งกลุ่มอาคาร แกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ อาคารสาธารณะ และพื้นที่สวนสาธารณะศิลปะสำหรับการจัดงานประเภทเอ๊าต์ดอร์ ทั้งยังเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัวในช่วงที่ไม่ได้มีการจัดงาน

งานที่จัดขึ้นใน M+ Pavilion ในช่วงเดียวกันกับ BODW2017 มีชื่อว่า The Weight of Lightness ว่าด้วยจุดเริ่มต้นของการขีดเขียนทั้งมวลนั่นคือน้ำหมึก อันเป็นสื่อกลางที่นำพาภาพลักษณ์แบบเอเชียออกสู่สายตาชาวโลกมายาวนาน ถึงใครจะมองว่าน้ำหมึกเป็นเรื่องล้าสมัยในวันที่น้ำหมึกกลายมาถูกซุกซ่อนอยู่ภายในด้ามของปากกา แต่ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ยังคงมีศิลปินร่วมสมัยหลายคนที่พยายามนำเสนองานหมึกในรูปแบบร่วมสมัย เพื่อสร้างลายเซ็นแบบใหม่ให้กับศิลปะน้ำหมึก

ตัวงานถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก จัดแสดงในพื้นที่สี่เหลี่ยมที่ถูกออกแบบเส้นทางสัญจรและจัดกั้นพื้นที่เป็นอย่างดีสำหรับการจัดแสดงงานตั้งแต่ชิ้นใหญ่ไปจนถึงจารึกชิ้นเล็กๆ ในสมุดบันทึก ส่วนแรกมีชื่อว่า “Scripts, Symbols, Strokes” แม้จะเป็นตัวอักษร แต่น้ำหนักและลายเส้นจากฝีแปรงเปรียบเสมือนการบอกเล่างานศิลปะผ่านภาษา กระทั่งตัวอักษรถูกคลี่คลายออกมาเป็นภาพลายเส้นกึ่งแอ็บสแตร็ก ตัวอย่างงานลายเส้นชิ้นยาวของ Tong Yang-Tze (2002) ที่เปรียบตัวอักษรเหล่านี้เหมือนเป็ดที่กำลังลอยน้ำอยู่

ส่วนที่ 2 คือ “Desire for Landscape” กับศิลปะแบบเอเชี่ยนสไตล์ที่พอพูดถึงน้ำหมึก ก็จะนึกถึงการเขียนภาพทัศนียภาพ ซึ่งซึ่งงานทัศนียภาพในครั้งนี้มีตั้งแต่ผลงานของศิลปินในช่วงสงครามเย็น มาจนถึงศิลปินสมัยใหม่ที่ทดลองใช้อัตลักษณ์ของภาพแลนด์สเคปแบบดั้งเดิมอย่างการใช้ต้นไผ่ ต้นสน หรือกระทั่งหินและกรวด มาตีความใหม่ใน เป็นเครื่องมือนำมาตีความหมายใหม่ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการจัดองค์ประกอบ ท้าทายขนบเดิมของการวาดภาพแลนด์สเคปแบบธรรมดา หรือเปลี่ยนสีสันรูปลักษณ์ แต่ยังคงยืนพื้นด้วยอัตลักษณ์ของวัตถุชิ้นเดิม

ส่วนสุดท้ายคือ “Beyond Material” การใช้น้ำหมึกบนวัสดุที่แตกต่างไป ไม่เพียงแค่บนกระดาษแบบจีน ศิลปินบางคนใช้งานอินสตอลเลชั่นเข้ามาตีความงานน้ำหมึกในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ตัวอย่างงานเพ้นท์หมึกลงบนเหรียญชิ้นเล็กๆ ติดตั้งเหมือนเป็นหมู่ดาวในจักรวาล หรืองานคอลลาจกึ่งประติมากรรมที่สร้างมิติที่สามของกระดาษผ่านการฉีก 

ความน่าสนใจของงานนี้ คือการทำให้เรามองเห็นภาพรวมของน้ำหมึกที่คงอิทธิพลต่องานศิลปะ แม้รูปแบบของงานจะเดินทางตามกาลเวลาจากยุคขนบแบบแผนมาจนถึงยุคอิสระของศิลปะ แต่น้ำหมึกก็ยังเป็นสื่อกลางผู้มีความหนักแน่นในบุคลิกของตัวเอง แต่ก็พลิ้วไหวปรับตัวได้ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในมือและผ่านความคิดของใคร ทำให้เราลบภาพน้ำหมึกแบบเดิมๆ ก่อนที่จะเดินเข้ามาชมงานนี้ออกไปได้จนหมดสิ้น

TEXT : NATHANICH CHAIDEE
PHOTO : NAPAT CHARITBUTRA
westkaoloon.hk

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *