GLOBAL HOUSE DESIGN CONTEST 2017

The final result of the debut edition of the Global House Design Contest 2017 features 20 outstanding and usable design schemes following the theme of ‘NATURE HOUSE’

The winner, finalists and the project that took home the Popular Vote award from the GLOBAL HOUSE DESIGN CONTEST 2017 have now been officially announced. In collaboration with The Association of Siamese Architects under Royal Patronage, the event marks the first house design contest hosted by Global House, Thailand’s leading provider of construction materials and services, as a part of a celebration of the company’s 20 years of business operations. The contest welcomed competitors ranging from professional architects to architecture students from different universities and institutes to showcase their design potential. The 540-square-meters of land in Pha Nam Yoi sub district in Roi Et province’s Nong Phok district was the designated site where competitors worked under the concept ‘Nature House’ and competed for the prizes worth a total amount of over 1.3 million THB. 16 works were selected to be the finalists with 4 additional projects being awarded popular vote awards. All 20 works are currently featured on the company’s website, www.globalhouse.co.th/designcontest for those who are interested to further use and adapt them.

From the over 300 projects submitted, GLOBAL HOUSE DESIGN CONTEST 2017 chose just only 16 to be included in the finals. The winner of the student entries in the less than 1,000,000 THB construction cost category was ‘Thammada House’ by Thossapon Youngyu, a student from the Faculty of Fine Arts and Architecture of Rajamangala University of Technology Lanna. The work interprets the word ‘nature’ (Tham-ma-chat) into ‘ordinary’ (Thammada) through the simplest and most straightforward architectural design while perfectly serving the fundamental demands of its users. “The house may not look as physically striking as other works but it’s an ordinariness materialized from countless small, little details,” said Youngyu. The work also professes an interesting use of shed roofing with the design that opens up the structure to the mountain view while the eave inclining on the opposite side grants the nicely shaded terrace area a view of the river with all the functional spaces being perfectly ventilated.

GLOBAL HOUSE DESIGN CONTEST 2017

‘Floorless House’ by Sira Temjai, an architect from SOOK Architects Company Limited was the winning work of the professional entries in the less than 1,000,000 THB construction cost category. The design translates ‘nature’ in broader aspects beyond the notion of a ‘green space’ to include the ‘being of nature’ or the normality of the environment and people’s ways of life. The work is therefore designed to interfere with the state of nature as little as possible. “With the strong presence of nature, the house shouldn’t destroy or have any effect on the site, whether it’s the architecture as an individual structure or the way of life of the user.” Temjai further explained the idea he had for Floorless House in which, as the name implies, the house’s ‘absence of a floor,’ intends for the living space to be seamlessly united with the site’s surrounding nature and context. The unornamented design welcomes both the inhabitant and the environment to be a part of the house’s evolving design aesthetic and functionality.

The winner of the student entries in the less than 2,000,000 THB construction cost category ‘Outside-In House’ was created by an architecture student of Kasetsart University, Krit Parephan. Unlike most house designs that put ‘users’ as the primary focus, the work emphasizes the importance of the ‘site,’ which holds a special and distinctive character, as the protagonist of the project while consequentially giving birth to the outside-in concept. “The essence of the work is the presence of nature inside the living space and users can relish the beauty of nature that finds its way into the home,” explains Parephan. The interpretation of the word ‘nature’ of the work is made discernible with the allocation of the interior functional spaces where the common areas such as the living room and dining room are physically and freely connected to the surrounding outdoor space. A ramp is brought in, not only to facilitate connection between different functional spaces, but also to greater accentuate the spatial flow to be even more unobstructed than the use of a simple staircase of steps, corresponding with the dynamic presence of nature that moves between the interior and exterior spaces.

Last but not least is the winner of the professional entries in the less than 2,000,000 THB construction cost category, a project titled ‘Mue•Huen•101’ by Bhumipat Mekmullika. For the freelance architect, nature is not viewed as a green scape for humans and culture as all are included as a part of its existence. The work applies the temporariness of one of Thailand’s vernacular works of architecture such as a farmer’s hut to the more permanent functionality of a house. “If I went with the modern design, it would be contradicting with the site’s context. I want the architecture to be completely subsumed into the natural landscape of the site while at the same time maintaining the art and cultural characteristics of the user and possessing certain aspects of modernity,” explained Mekmullika of the design concept that was later translated into the house’s different functional spaces such as the living room that sees the use of a terrace and traditional bamboo sofa bed (Krae) or the presence of local materials at different parts of the house. The name ‘Mue•Huen•101’ means ‘going home’ in northeastern Thai language while the Thai number ๑๐๑(101) conveys the project’s location in Roi Et province of Thailand (the number 101 is pronounced ‘roi – et’ in Thai) and the rudiment of the things. Essentially, the translation of the work’s title is ‘going back home, going back to the basics (local art and culture) of Roi Et.”

With the limited budget being the contest’s main challenge, it was within such limitations that the new and interesting design concepts of ‘Nature House’ were born. It remains to be seen what other activities Siam Global House Company Limited will have waiting for architects, architecture students and us viewers in this coming year. For those who are interested to follow updates and activities from Global House, visit Global House’s Facebook page and website www.globalhouse.co.th.

ผ่านไปแล้วกับการมอบรางวัลชนะเลิศรอบตัดสินและรางวัลขวัญใจมหาชน (POPULAR VOTE) สำหรับโครงการ Global House Design Contest 2017 โครงการประกวดออกแบบบ้านที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดย โกลบอลเฮ้าส์ ผู้นำศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านของเมืองไทย ในโอกาสที่ดำเนินธุรกิจมาครบ 20 ปี ร่วมกับ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากกิจกรรมในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ทั้งสถาปนิกวิชาชีพ และนิสิต นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันต่างๆ ได้มีโอกาสแสดงฝีมือการออกแบบบ้านบนพื้นที่ขนาด 1 งาน 35 ตารางวา ในตำบลผาย้อย อำเภอหนองจอก จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้แนวคิด “Nature House บ้านใกล้ชิดธรรมชาติ” เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1,300,000 บาท แล้ว ผลงานแบบบ้านที่ชนะการประกวดในรอบตัดสิน จำนวน 16 ผลงาน และผลงานที่ได้รับรางวัล POPULAR VOTE จำนวน 4 รางวัล รวมเป็น 20 ผลงาน ยังจะได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของโกลบอลเฮ้าส์ (www.globalhouse.co.th/designcontest) เพื่อให้ผู้สนใจนำไปปรับใช้ได้ต่อไป

จากผลงานกว่า 300 ชิ้นที่ส่งเข้าประกวด มีเพียง 16 ผลงานเท่านั้นที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รอบตัดสินของโครงการ Global House Design Contest 2017 ในครั้งนี้ โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทมูลค่าบ้านไม่เกิน 1,000,000 บาท กลุ่มนิสิต นักศึกษา ตกเป็นของผลงานในชื่อ ‘บ้านธรรมดา’ โดย ทศพร ยังอยู่ นักศึกษาจากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ผลงานชิ้นนี้มาพร้อมกับการตีความหมายของคำว่า “ธรรมชาติ” ใหม่ให้กลายเป็นคำว่า “ธรรมดา” ผ่านการออกแบบให้สถาปัตยกรรมมีความเรียบง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด แต่ก็ยังคงสามารถตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้งานได้อย่างลงตัว “บ้านหลังนี้มันอาจจะไม่ได้พิเศษกว่าคนอื่นสักเท่าไร แต่ภายใต้ความ ‘ธรรมดาๆ’ ที่เห็นนี้ มันมีดีเทลเล็กๆ มากมายที่ซ่อนอยู่ข้างใน” ทศพรกล่าว นอกจากนี้ผลงานชิ้นนี้ยังมีการใช้หลังคาแบบ shed roof ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการเปิดมุมมองออกไปยังด้านที่เห็นภูเขา ในขณะเดียวกันก็เลือกที่ให้ชายคาลาดเอียงมายังทิศทางตรงข้าม เพื่อให้ผู้ใช้ที่อยู่บริเวณชานบ้านสามารถมองเห็นวิวด้านที่ติดกับแม่น้ำได้ภายใต้ร่มเงา พร้อมๆ กับให้อากาศสามารถไหลเวียนถ่ายเทผ่านแต่ละพื้นที่การใช้งานได้อย่างทั่วถึง

‘Floorless House’ โดย ศิระ เต็มใจ สถาปนิกจากบริษัท สถาปนิก สุข จำกัด เป็นผลงานชิ้นถัดไปที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทมูลค่าบ้านไม่เกิน 1,000,000 บาท กลุ่มสถาปนิกวิชาชีพ ผลงานชิ้นนี้ตีความคำว่า “ธรรมชาติ” ให้กว้างออกไปกว่าแค่การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่เป็น “ความเป็นธรรมชาติ” หรือ “ความเป็นปกติวิสัย” ของสภาพแวดล้อม ของการใช้ชีวิตของผู้คน เพราะฉะนั้นแล้วผลงานที่ออกมาจึงถูกออกแบบให้ไม่ไปแทรกแซงความเป็นธรรมชาติของพื้นที่โดยรอบให้ได้มากที่สุด “คือในเมื่อเรามีธรรมชาติที่ดีอยู่แล้ว ผมก็เลยคิดว่าบ้านมันก็ไม่ควรที่จะไปทำลาย หรือไปทำอะไรกับพื้นที่ตรงนั้น ทั้งในแง่ของตัวบุคคลเอง หรือการใช้ชีวิต” ศิระเสริมถึงไอเดียที่เขาใช้ภายใน Floorless House โดยนอกจากผลงานชิ้นนี้จะถูกออกแบบมาพร้อมกับการไม่มีพื้น (ตามชื่อผลงาน) เพื่อให้สเปซของการอยู่อาศัยนั้นกลืนไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสเปซทางธรรมชาติของที่ตั้งและบริบทโดยรอบแล้ว การออกแบบที่ไร้การตกแต่งใดๆ เพิ่มเติมเข้าไป ก็เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมมีส่วนในการร่วมออกแบบบ้านแต่ละหลังขึ้นมาด้วยตัวเองอีกด้วย

ในขณะที่ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทมูลค่าบ้านไม่เกิน 2,000,000 บาท กลุ่มนิสิต นักศึกษา เป็นของผลงานโดย กฤษฎ์ แพรพันธ์ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ชื่อ ‘Outside-In House’ โดยแทนที่จะโฟกัสไปที่ตัว “ผู้ใช้” ของอาคารเป็นหลักเหมือนกับการออกแบบบ้านทั่วๆ ไป ผลงานชิ้นนี้กลับเลือกที่จะชูโรงให้ “ที่ตั้ง” ซึ่งมีความพิเศษและเฉพาะตัวเป็นอย่างมากกลายมาเป็นพระเอกของโครงการแทน ผลที่ได้จึงเป็นที่มาของแนวคิด outside-in กฤษฎ์เล่าว่า “สิ่งสำคัญของผลงานชิ้นนี้ก็คือความต้องการที่จะให้ธรรมชาติเข้ามาในสเปซของบ้านได้อย่างเต็มที่ แล้วหลังจากนั้นเราค่อยให้คนที่อยู่อาศัยเป็นผู้ที่ไปเสพย์ความงามของธรรมชาตินั้นเอง” การตีความแนวคิดคำว่า “ธรรมชาติ” ของผลงานชิ้นนี้สะท้อนออกมาค่อนข้างชัดเจนผ่านลักษณะการจัดวางพื้นที่การใช้งานภายในที่เปิดโล่งให้พื้นที่ public ของบ้านอย่าง ส่วนรับแขกและส่วนรับประทานอาหารนั้นเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ภายนอกที่รายล้อมอยู่ได้อย่างอิสระ ในขณะที่ทางลาดซึ่งใช้ถูกนำมาใช้เชื่อมกับพื้นที่การใช้งานอื่นๆ นั้น ก็ถูกเลือกมาเพื่อสร้างให้เกิดความลื่นไหลของสเปซที่มากกว่าบันไดหรือ step ทั่วไป เหมือนกับที่ธรรมชาตินั้นก็ลื่นไหลไปมาระหว่างภายนอกและภายใน

ผลงานสุดท้ายของรายการประกวดแบบ Global House Design Contest 2017 ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทมูลค่าบ้านไม่เกิน 2,000,000 บาท กลุ่มสถาปนิกวิชาชีพ เป็นของผลงาน ‘เมือ•เฮือน•๑๐๑’ โดย ภูมิภัทร เมฆมัลลิกา สถาปนิกอิสระ ที่ไม่ได้มองคำว่าธรรมชาติเป็นเพียงแค่พื้นที่สีเขียว แต่มนุษย์และวัฒนธรรมเองก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติด้วยเช่นกัน ผลงานชิ้นนี้จึงเลือกนำเอาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีความชั่วคราวอย่าง “เถียงนา” มาประยุกต์ให้เข้ากับการใช้งานแบบถาวรของบ้าน “ถ้าเราเอาบ้านแบบโมเดิร์นไปตั้งมันก็จะเกิดความขัดแย้งกับบริบทของไซต์ ผมเลยอยากจะทำให้สถาปัตยกรรมมันดูหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติไปเลย เแต่ก็ยังมีความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมของผู้ใช้ผสมกับความเป็นสมัยใหม่อยู่” ภูมิภัทรกล่าวถึงแนวความคิดที่ถูกตีความออกมาเป็นพื้นที่การใช้งานต่างๆ เช่น ส่วนรับแขกที่ดึงเอาเอกลักษณ์ของชานและแคร่ไม้ไผ่มาใช้แทนโซฟา หรือการนำวัสดุท้องถิ่นในพื้นที่มาใช้กับส่วนต่างๆ ของบ้าน ชื่อ ‘เมือ•เฮือน•๑๐๑’ นี้ นอกจากจะหมายถึงการกลับบ้านในภาษาอีสานแล้ว ตัวเลข ๑๐๑ ที่ใช้ยังสื่อถึงจังหวัดร้อยเอ็ดที่ตั้งของโครงการ และความเป็นสิ่งพื้นฐานด้วย เมื่อแปลรวมๆ กันแล้วจะได้เป็น “การกลับบ้านไปสู่สิ่งพื้นฐาน (หรือศิลปวัฒนธรรมท้องที่) ของจังหวัดร้อยเอ็ด”

แม้ความท้าทายหลักของการประกวดแบบในครั้งนี้จากเสียงของผู้เข้าแข่งขันจะเป็นเรื่องของงบประมาณ แต่ดูเหมือนว่าด้วยข้อจำกัดนี้เองที่ทำให้เราได้พบกับแนวคิดการออกแบบ “Nature House บ้านใกล้ชิดธรรมชาติ” ที่ต่างรูปแบบกันไปได้อย่างน่าสนใจ ต้องมารอดูกันต่อว่าในปีถัดไป บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) จะมาพร้อมกับกิจกรรมดีๆ อะไรให้เหล่าสถาปนิก และนิสิต นักศึกษา ได้เข้าร่วมกันอีกบ้าง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมจากโกลบอลเฮ้าส์ได้ทั้งทางเฟซบุ๊กเพจ Global House โกลบอลเฮ้าส์ และทางเว็บไซต์ www.globalhouse.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *