THIS LONG-TERM PROJECT BY THE ARTISTS DUO EXAMINES THEIR ROLE IN SOCIETY portrait jiandyin
Since 2010, through their ongoing research and development project [Dialogue: Seeing and Being], the artists’ group Jiandyin (Jiradej Meemalai and Pornpilai Meemalai) continues to explore and experiment with various forms of art media in their practice, considering their relationship to and place within the society. Historical and social, their message is also political. With their exhibition, ‘The Ontology of Gold: Magic Mountains’ held in June/July 2017 at Cartel Artspace, Jiandyin chose to highlight the lives of the local communities of Ban Khao Mo, Khao Chet Luk, Tap Khlo, Phichit province who, by living near one of the biggest industrial gold mines in Thailand, have suffered from exposure to high levels of cyanide and toxic chemical compounds used in gold extraction.
Though [Dialogue: Seeing and Being] has already given birth to several exhibitions in different countries (The United States, Germany, Taiwan…), the project remains active because of its nature of perpetual movement brought about through creation and exchange between archives and new elements. Influenced by the ‘Relational Aesthetics’ of Nicolas Bourriaud as well as criticisms formulated by Claire Bishop, the practice of the couple Jiandyin reminds us of the ‘Best Years’ of the art duo formerly composed by Marina Abramović and Ulay (Frank Uwe Laysiepen). This repetition of exhibitions can be compared to, as described by Jim Batcho when referring to both Kierkegaard and Deleuze, “a creation of the new as an expression of time, a memory, which is an imagination of the past.” The aim of the exhibition at Gallery Seescape titled Portrait [Archives of Dialogue: Seeing and Being], is to show all kinds of archives including photographs, drawings, videos and sculptures from the initial project that have been collected since 2010. If for artists who practice performance – photographs or videos of the latter are not important – what is essential is to be present, to experience it, for Jiandyin, it is otherwise. Archives are not assembled a posteriori with an artistic aesthetic but they are, from the beginning, regarded as works of art. This is also an initiative to rethink the nature of the work of art in a context away from the ready-made.
Chosen as the theme of this exhibition, portrait, seen mainly as a genre of paintings, has always been a way to record the appearance of someone, but more than that to show the power, importance, virtue, beauty, wealth, taste, learning or other qualities of the sitter. Seen here in this exhibition, the portrait becomes a symbol of the relationship between Jiandyin and others, a kind of game of relations in time and space. Jiandyin’s drawing performance with the couple Torlarp Larpjaroensook and Clairy Khunsuthum as its models held on the day of the inauguration of the exhibition was a perfect illustration of this. Through doing so, Jiandyin re-emphasized human beings ahead of the material and financial sides in a way to reintroduce a part of humanity into the world of art which has become an umpteenth avatar of capitalism. In this installation, the challenge is to share relationships from the past with those of the present, and to create new ones for the future. In this sense, this installation is a relevant example of what Umberto Eco called an “open work” of art, an artwork rendered open by its author, and further completed by the performer, viewer, reader or audience.
ตั้งแต่ปี 2553 ศิลปินคู่ จิแอนด์ยิ่น (จิระเดช มีมาลัย และ พรพิไล มีมาลัย) กับโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาระยะยาวของพวกเขา [Dialogue : Seeing and Being] ได้ค้นคว้าและทดลองสร้างสรรค์ผลงานด้วยสื่อศิลปะที่หลากหลาย รวมถึงความสัมพันธ์ของเขาทั้งสองที่มีต่อพื้นที่และบทบาททางสังคม ตัวอย่างงานนิทรรศการชื่อ สัตตะแห่งทอง :ภูเขาอัศจรรย์ (The Ontology of Gold: Magic Mountains) ที่จัดแสดงไปเมื่อเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2560 ที่ Cartel Artspace เป็นนิทรรศการที่มีเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม และการเมือง โดยจิแอนด์ยิ่นได้นำเสนอภาพชีวิตของชุมชนบ้านเขาหม้อ ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ที่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่เหมืองทองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมจากสารไซยาไนด์ในร่างกายเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีที่ใช้ในการสกัดแร่ทองคำ
แม้ว่าผลงาน [Dialogue: Seeing and Being] จะจัดแสดงผลในรูปแบบนิทรรศการมาแล้วในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ไต้หวัน ฯลฯ ตามธรรมชาติของโครงการระยะยาวที่ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างบันทึกผลงานและองค์ประกอบใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ ผลงานของเขาทั้งสองได้รับอิทธิพลจาก “สุนทรียศาสตร์สัมพันธ์” ของ Nicolas Bourriaud รวมถึงบทวิจารณ์ที่บัญญัติโดย Claire Bishop การทำงานของ จิแอนด์ยิ่น ย้ำเตือนเราถึงผลงาน ‘Best Years’ สร้างสรรค์ โดย Marina Abramović และ Ulay และในส่วนของนิทรรศการที่มีการจัดหลายครั้ง เปรียบเทียบได้กับที่ Jim Batcho เขียนไว้โดยมีการอ้างถึง Kierkegaard และ Deleuze ที่ว่า “สิ่งสร้างสรรค์ใหม่เสมือนการแสดงออกของเวลา และความทรงจำซึ่งเป็นจินตนาการของอดีต” วัตถุประสงค์ของนิทรรศการที่จัดขึ้นที่ Gallery Seescape ในชื่อ Portrait [Archives of Dialogue: Seeing and Being] คือการนำเสนอบันทึกในรูปแบบของสื่อต่างๆ ตั้งแต่ ภาพถ่าย งานวาดเส้น วิดีทัศน์ และประติมากรรม ที่รวบรวมไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2553 ในฐานะศิลปินผู้พัฒนาผลงานแสดงสด – ภาพถ่ายหรือวิดีทัศน์ สองสิ่งหลังไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับจิแอนด์ยิ่น เนื้อแท้ของงานของเขาทั้งสองอยู่ที่การอยู่กับปัจจุบันขณะ และการมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งนั้น บันทึกไม่ใช่การประกอบรวบรวมของมโนทัศน์หลังประสบการณ์ที่ผ่านการจัดการทางทัศนศิลป์ แต่เป็นสิ่งที่พิจารณาได้ถึงความเป็นผลงานศิลปะตั้งแต่จุดแรกเริ่ม เหตุนี้จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสของการริเริ่มเพื่อย้อนทบทวนเนื้อแท้ของผลงานศิลปะภายใต้บริบทที่ออกจากแนวคิด “วัสดุสำเร็จรูป” (ready-made)
“ภาพเหมือน” ถูกเลือกเป็นประเด็นหลักในนิทรรศการครั้งนี้ ซึ่งแต่ไหนแต่ไรภาพเหมือนถูกจัดให้เป็นงานจิตรกรรมบันทึกรูปร่างหน้าตาของบุคคล แต่มากกว่านั้น ภาพเหมือนในที่นี้แสดงถึงอำนาจ ความสำคัญ ความน่าชื่นชม ความงาม ความมั่งคั่ง รสนิยม การเรียนรู้ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ที่นั่งเป็นแบบวาด จากที่เห็นในนิทรรศการครั้งนี้ ภาพเหมือนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างจิแอนด์ยิ่นและผู้อื่น เป็นกลไกของสัมพันธภาพในพื้นที่จำเพาะและเวลา จากการที่จิแอนด์ยิ่นแสดงสดการวาดภาพเหมือนบุคคลคู่ คือ ต่อลาภ ลาภเจริญสุข และ ธารวิมล ขันสุธรรม ในวันเปิดนิทรรศการเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบตามแนวคิดที่กล่าวมา โดยจิแอนด์ยิ่น ย้อนกลับไปให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์ก่อนหน้าอิทธิพลทางวัตถุและเศรษฐกิจ ด้วยกระบวนการย้อนกลับที่เสนอส่วนเสี้ยวของมนุษยชาติในโลกแห่งศิลปะที่กลายเป็นอวตารไม่รู้จบภายใต้ลัทธิทุนนิยม การจัดวางของนิทรรศการครั้งนี้มีความท้าทายประการหนึ่งคือการเผยแผ่ความสัมพันธ์จากอดีต ร่วมกับผู้คนในปัจจุบันเพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต โดยนัยนี้ศิลปะจัดวางดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่สอดคล้องกับสิ่งที่ Umberto Eco เรียกว่า “ผลงานปลายเปิด” เป็นผลงานศิลปะที่ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์ผลงานส่งผ่านพื้นที่ปลายเปิดและสำเร็จสมบูรณ์ได้โดยผู้แสดง ผู้ดู ผู้อ่าน หรือ ผู้ชม
TEXT : SEBASTIEN TAYAC
PHOTO COURTESY OF JIANDYIN
jiandyin.com