SUNSHINE PHILOSOPHY 2018

SUNSHINE PHILOSOPHY IS A GROUP OF 11 VETERAN AND YOUNG ARTISTS WHO WORK PRIMARILY IN PAINTING

Having said that, they don’t seem to restrict themselves to one particular artistic medium. Their first exhibition, Sunshine Philosophy 2018, which takes over the space next to Ku Bar on the third floor of 469, Phra Sumen Road, has much more than painting to offer the audience.

Almost the entire floor of an old publishing house where the concrete surface of the walls are intentionally left exposed accommodates an incredibly spacious and airy exhibition room with plenty of openings and windows. While the raw element of the space is its charm, such comes with a challenging task for the artists who had to figure out a way for the displayed works to generate the visual impact they intended. Yingyod Yenarkarn installed his ‘I Paint the Door’ (2018) piece next to an actual door. The pairing of the works to the new context, which allows for the art to tell its story and communicate with the audience through the exhibition space’s physical context, can also be seen with the installation of Watcharapon Homchuen’s work that incorporates the ‘feeling when you give flowers, whether to the people you love or congratulate or for the departed where you give flowers and knock on a coffin to let the person know.’ The drawing of flowers with elements of a child’s drawing is installed near paintings that were originally hung on one of the space’s walls. By playing with the position of the walls, the works interact with the existing paintings as the artists leave behind an interpretation of the occurring relationship as an opportunity for viewers to read between the lines. Another interesting issue is an observation that someone raised about whether or not this group of artists, who once held an exhibition at N22 and the fact that they chose this secluded space as the latest exhibition venue would be an implication of any hidden political agenda. Such accusation is a bit of a generalization since each of the artists creates works from the subject matter of their own interests. And if there were someone trying to send out a certain political message, it would be representing their personal interests rather than the group’s manifesto.

Sunshine Philosophy เป็นการร่วมกลุ่มของศิลปินรุ่นใหม่ปนเก่า 11 คน ที่ทำงานเพ้นท์ติ้งเป็นหลัก แต่ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่ได้ยึดติดกับสื่อใดสื่อหนึ่งมากเท่าไหร่นัก เพราะนิทรรศการแรก Sunshine Philosophy 2018 ที่ใช้พื้นที่ข้างๆ Ku Bar บนชั้นสามอาคารเลขที่ 469 ถนนพระสุเมรุ เป็นที่จัดนั้นมีมากกว่าเพ้นท์ติ้งให้เราไปดูกัน

พื้นที่ว่างเกือบทั้งชั้นของอาคารโรงพิมพ์เก่า ผนังยังถูกปล่อยเป็นปูนเปลือย อีกทั้งเปิดโล่งด้วยหน้าต่างและช่องลม ความดิบของสเปซที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่มาพร้อมกับโจทย์ว่าจะทำให้ชิ้นงานถูกมองเห็นได้อย่างไร ยิ่งยศ เย็นอาคาร จัดวางภาพวาดประตู I paint the door (2018) ไว้ข้างบานประตูจริง การจับคู่ผลงานเข้ากับบริบทเพื่อให้ชิ้นงานเล่าเรื่องและสื่อสารกับผู้ชมได้ด้วยบริบทของพื้นที่ยังเห็นได้จากการติดตั้งงานของ วัชรพล หอมชื่น ที่นำ “เมื่อเรารู้สึกยินดีเราให้ดอกไม้ เมื่อเรารู้สึกรักเราให้ดอกไม้ เมื่อมีคนจากไปเราให้ดอกไม้และเคาะโลง” รูปดอกไม้ที่มีลายเส้นเหมือนภาพเด็กวาดไปติดไว้ใกล้กับกลุ่มภาพเดิมที่ค้างอยู่บนฝาผนัง การเล่นกับตำแหน่งของผนังห้องทำให้ผลงานมีความสัมพันธ์กับภาพที่มีอยู่เดิม ส่วนความสัมพันธ์ที่ว่าจะเป็นอย่างไร ศิลปินปล่อยให้ผู้ชมอ่านข้อความระหว่างบรรทัดกันเอาเอง อีกประเด็นที่น่าสนใจคือข้อสังเกตที่ใครไม่รู้ยกขึ้นมาว่า กลุ่มศิลปินที่ยกพวกจาก N22 มาจัดนิทรรศการในสเปซเปลี่ยวๆ แห่งนี้ มี hidden agenda เรื่องการเมืองหรือไม่ เราคิดว่าข้อครหานี้เหมารวมเกินไป เพราะเท่าที่เห็น เรื่องที่ศิลปินแต่ละคนพูดผ่านผลงานค่อนข้างกระจัดกระจายไปตามความสนใจส่วนตัว และถ้าจะมีใครคนหนึ่งทำงานเกี่ยวกับการเมือง ก็คงจะมาจากความสนใจส่วนตัวมากกว่าที่จะเป็นแถลงการของกลุ่มศิลปินกลุ่มนี้

TEXT : PIMPAKAPORN PORNPENG
PHOTO : KETSIREE WONGWAN
fb.com/sunshinephilosophy2018

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *