40 UNDER 40 WINNER | EKAR ARCHITECTS

EKAPHAP DUANGKAEW
ARCHITECT, 1982

EKAR’s past works range from a the Multi-Place, a building that combines residential and commercial spaces which was shortlisted for the Architizer A+ Awards and World Architecture News Awards to the Pusayapuri building currently under construction in Suphan Buri province. The works often reflect an exciting dynamic between the use of materials and the site’s context, making EKAR highly promising firm.

art4d: Who has been the most influential figure regarding the way you work?

EKAR Architects: My father, my hometown and the place where I grew up (Chiang Mai), and Bangkok where I work. These things together became the foundation of my belief and who I am, and they eventually influenced the way I think and work.

art4d: Do you think freedom of expression affects one’s creative ability?

EKAR Architects: Creativity should come from our own definition, it shouldn’t have any frame or any line and it shouldn’t be necessary to have freedom or not. It can be many things depending on how it comes. Sometimes a wide area with nothing is less creative, while sometimes this condition can spark creativity. It depends on how we respond to something and what type of feeling comes about through interpreting. I still believe if we specify how creativity must be, freedom or not, you’re destroying your creative beginning. 

art4d: What is your opinion on the notion of a national or regional identity and its role in a creative product?

EKAR Architects: I think every artwork can’t run away from the owner, in the case of real creative work intentionally created by the creator. If the creator creates with the intention to be creative, but he is Chinese who designs in a Scandinavian style, and if it is perfect, the work will tell. Then the Scandinavian style will convey something about the artist. If I ask if this is Chinese or Scandinavian?, it is absolutely Chinese because the creator is Chinese even if the work looks like a real Scandinavian style. That means the true self of the artist is Scandinavian and we can see such through their work. What I want to say is that if the work is a sense of release, it’s not necessary to define what is this or what is that, China must be Chinese, Thai must be Thai. 

This is my opinion of other works but with my own work it is different (laugh). I mean that my work is not different if it is focused around some questions and my passion for Thai society. I want to experiment with investigating if the current identity is true or not and whether or not, at the very least, it is Thai or not, we can discuss later.     

art4d: What is the thing that seems to be the least important but turns out to be the most important when you work?

EKAR Architects: Sometimes something useless can create something new and lead to creativity, but not often. In one work a useless tiny area can help or be necessary to provide an empty space for an architecture that is full of logic, function, politics, context and reason.  

ผลงานของ EKAR อาทิ บ้านพักอาศัยผสมฟังก์ชั่นพาณิชยกรรม Multi-Place ที่ได้เข้ารอบ shortlist ของทั้ง Architizer A+ Awards และ World Architecture News Awards หรืออาคาร Pusayapuri ที่กำลังก่อสร้างอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี มักจะแสดงให้เราเห็นความสนุกของการเลือกใช้วัสดุที่สัมพันธ์ไปกับบริบทอยู่เสมอ และเป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัทออกแบบที่กำลังเติบโตนี้ถึงน่าจับตามอง

art4d: ใครที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของคุณที่สุด

EKAR Architects: อาจจะเป็น คุณพ่อ ครอบครัว และสถานที่เกิด เติบโต (เชียงใหม่) และทำงาน (กรุงเทพฯ) เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นรากฐานทั้งหมดที่หล่อหลอมความคิดความเชื่อและตัวตน ซึ่งนั่นแหละ น่าจะส่งผลเป็นอิทธิพลต่อการทำงานทั้งหมดต่อๆ มา

art4d: เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ส่งผลต่อขีดความสามารถในการ “คิดสร้างสรรค์” จริงหรือไม่ ในความคิดของคุณ

EKAR Architects: ความคิดสร้างสรรค์มันควรจะเป็นดังนิยามของมัน มันควรไม่มีกรอบอะไรเลย ไม่มีขีด ไม่มีความจำเป็นต้องมีเสรีภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ มันเป็นไปได้หลายแบบ มันแล้วแต่วิธีการที่มันได้มา บางครั้งที่โล่งกว้างอันปราศจากสิ่งใด มันก็ทำให้หมดความคิดสร้างสรรค์ บางครั้งการมีกรอบของเงื่อนไข ก็ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์พุ่งทะยาน คงอยู่ที่วิธีการได้มา อยู่ที่ช่วงจังหวะ ห้วงนึงของความรู้สึก หรือช่วงของการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ผมยังเชื่อว่า ตราบใดที่เราเริ่มขีดเส้นของความคิดสร้างสรรค์ว่าต้องมีเสรีภาพหรือไม่มีเสรีภาพนั่นก็เป็นการเริ่มต้นทำลายสารตั้งต้นของความคิดสร้างสรรค์ไปเรียบร้อยแล้ว

art4d: คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ (identity) ความเป็นชาติ/ภูมิภาค ในผลงานสร้างสรรค์

EKAR Architects: ผมว่าผลงานทุกงาน มันหนีไม่พ้นตัวจากผู้สร้างสรรค์ กรณีเป็นผลงานสร้างสรรค์จริงๆ นะครับ ถ้าผู้สร้างสรรค์ ตั้งใจทำงานจริงๆ ไม่ว่าเขาเป็นคนจีน แล้วออกแบบงานแสกนดิเนเวียน ถ้ามันเฟค มันก็จะฟ้องของมันเอง ทีนี้ ถ้ามันเป็นมีกลิ่นอายของแสกนดิเนเวียน มันก็แสดงว่าเค้าสื่อสารบางอย่างในตัวเค้าออกมา ถามว่า มันจะใช่งานจีน หรืองานแสกนฯ มันก็งานจีนแน่ๆ ก็คนทำคนจีนนี่นา…แต่ถ้ามันออกมาดูแสกนฯ แท้ๆเลยเนี่ย ก็แสดงว่าตัวตนเค้ามันแสดงออกที่ผลงานมาหมดแล้วว่ามันแสกนฯ  คือที่ผมจะสื่อสารคือ ถ้าผลงานมันสร้างสรรค์ออกมาจริงๆแล้ว ก็ไม่ได้จำเป็นต้องไปยึดติดกับว่ามันต้องเป็นนั่น เป็นนี่ อยู่จีนต้องออกแบบจีน อยู่ไทยต้องออกแบบไทย

อันนี้คือความคิดเห็นของการดูงานคนอื่นๆนะครับ แต่งานของตัวเอง ก็อีกเรื่อง (หัวเราะ) คือ ถ้าหมายถึงงานตัวเอง ก็คงไม่ต่างกัน แต่เรามีความคำถามกี่งแรงปรารถนาส่วนตัวบางอย่างกับสังคมไทยเราแค่นั้นเอง เลยอยากทดลองดูว่ามันใช่หรือไม่ใช่ ในอัตลักษณ์ของเราในยุคสมัยนี้ครับ ซึ่งสุดท้าย มันจะไทยหรือไม่ไทยก็ไม่ได้ซีเรียส ถกเถียงกันได้

art4d: คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่จำเป็นแต่กลับจำเป็นที่สุดเวลาทำงาน

EKAR Architects: บางครั้งสิ่งที่ไม่จำเป็นมันกลายเป็นสิ่งที่สร้างอะไรใหม่ๆแล้วมันอาจนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แต่ในที่นี้คงไม่ต้องเยอะ สิ่งที่ไม่จำเป็นในหนึ่งงาน มันคือพื้นที่เล็กๆ ที่ให้งานสถาปัตยกรรมที่ล้วนเต็มไปด้วยตรรกะ ฟังก์ชั่น การเมือง บริบท และเหตุผลต่างๆ มีพื้นที่เหลือให้กับความรู้สึกที่ไม่จำเป็นบ้าง ผมว่ามันจำเป็นนะ

ekararchitects.com
art4d 258

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *