ATTENTION PLEASE

The latest show at MAIIAM Contemporary Art Museum brings the audience’s attention to the meaning of the three words – exit, exile and exodus

An excerpt from the description of Spirit Vitrines, 2016-2017, the work of artist, Sawangwongse Yawnghwe provides documentation of the violent suppression of a student demonstration at Rangoon University in 1962. The text is taken from Chao Tzang of Yawnghwe’s writing about the incident that took place on July 7th, when he, a professor of the university’s English department at the time, had to escape the bullets fired from the guns of soldiers under the military regime led by General Ne Win, who later, after gaining control over the situation, made a public announcement stating that a peaceful approach was taken to cease the protest, and that, unfortunately, the 16 bullets that were fired caused 16 people to lose their lives. The similarity between the aforementioned message and things that were said about certain incidents in Thailand is not only sadly uncanny but also a reminder that the world has never seen rest from human rights crises. The exhibition, DIASPORA: Exit, Exile, Exodus of Southeast Asia, held between the 4th of March and the 1st of October 2018 at MAIIAM Contemporary Art Museum brings the stories of diaspora in the Southeast Asian region since the Vietnam War back for the general public to revisit with Loredana Pazzini-Paracciani acting as the curator who selected the works of 18 artists, some of whom were there when the incidents took place, while some are artists who look into the phenomenon through different artistic approaches.

Sawangwongse Yawnghwe, son of Chao Tzang of Yawnghwe (the writer of the aforemetioned document) and grandson of Sao Shwe Thaik, the first president of the Union of Burma escaped to Thailand in 1962. Four of his works, which were featured in the exhibition, retrieve and archive undocumented memories of the country’s history in the form of artistic creations such as ‘War Zone in Kachin State and Northern Shan State,’ 2017, a painting of the fight of the Shan State Army (SSA) founded by Sao Nang Hearn Hkam Mahadevi of Yawnghwe, the artist’s biological grandmother, or the painting titled ‘Shane State Army,’ 2017, which is a reproduction of a group photographs of the Shan State Army taken in 1970.

The curator, Loredana Pazzini-Paracciani, said from the beginning that it has never been her intention to create an exhibition of an artistic survey over diaspora, and that the show is her attempt to discuss the phenomenon through the works of Contemporary art, with the highlights being placed on three different types of diaspora: Exit, Exile and Exodus. Such intention causes the exhibition’s narrative to encompass not just the history of diaspora, but also other factors that contribute to the migration of modern-day people such as economic drivers.

The birth of DIASPORA: Exit, Exile, Exodus of Southeast Asia comes with a significant implication simply because the issue of diaspora, which is something that should be considered a matter and responsibility of the State, has been packed in a private museum in Chiang Mai, far away from the center of the government. While it would be inappropriate to draw the conclusion that the government has failed to acknowledge the issue, in a way, Chiang Mai is a perfectly suitable place for an exhibition of such grand narrative and content to take place. MAIIAM has provided a platform for artists to discuss the issue of diaspora within the space that is physically near the place they left behind. Perhaps the voices spoken and echoed in that exhibition room will make their way across the border and be heard by someone on the other side.

ท่อนหนึ่งในคำอธิบายผลงาน Spirit Vitrines, 2016-2017 ของศิลปิน สว่างวงศ์ ยองห้วย เป็นบันทึกเหตุการณ์เข้าสลายการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งในปี 1962 ที่เจ้าช้าง ณ ยองห้วย เขียนไว้ว่า ในวันที่ 7 กรกฎาคม เป็นวันที่เขาผู้เป็นอาจารย์อยู่ในภาควิชาภาษาอังกฤษต้องวิ่งหนีตายจากห่ากระสุนของทหาร อย่างไรก็ดี รัฐบาลทหารที่นำโดยนายพลเนวีนก็ออกมาชี้แจงต่อสาธารณชนหลังจากเหตุการณ์สงบ ว่าเขามีเหตุจำเป็นต้องสลายการชุมนุมของสหพันธ์นักศึกษาอย่างละมุนละม่อม แต่น่าเสียดายว่ากระสุนจริงที่ยิงไปแค่ 16 นัดนั้นเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 16 ราย ข้อความข้างต้นเป็นแพทเทิร์นคำพูดที่ดูแล้วคล้ายกับบางเหตุการณ์ในประเทศไทยจนน่าตกใจ และเป็นเครื่องเตือนใจที่บอกกับเราว่าในสถานการณ์โลกปัจจุบันนั้น ต่างเต็มไปด้วยวิกฤติการณ์ทางมนุษยธรรมแบบนี้นับไม่ถ้วน นิทรรศการ DIASPORA: Exit, Exile, Exodus of Southeast Asia จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 มีนาคม – 1 ตุลาคม ที่ MAIIAM Contemporary Art Museum หยิบเอาเรื่องราวของการพลัดถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ในยุคสงครามเวียดนามขึ้นมาสู่การรับรู้ของคนทั่วไปอีกครั้ง โดยมี Loredana Pazzini-Paracciani เป็นคิวเรเตอร์ผู้คัดเลือกผลงานจากศิลปิน 18 คน คละกันระหว่างศิลปินคน “ใน” เหตุการณ์ และศิลปินที่พาตัวเองเข้าไปศึกษาปรากฏการณ์

สว่างวงศ์ ยองห้วย บุตรชายของเจ้าช้าง ณ ยองห้วย (ผู้เขียนบันทึกข้างต้น) และหลานแท้ๆ ของเจ้าส่วยแต๊ก ประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่าต้องหลบหนีเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1962 เขามีผลงานจัดแสดงถึง 4 ชิ้นในนิทรรศการนี้ ที่เป็นการดึงเอาความทรงจำต่อประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยถูกบันทึกมาทำ archive ด้วยการทำงานศิลปะ เช่น War Zone in Kachin State and Northern Shan State, 2017 เพ้นท์ติ้งภาพการต่อสู้ของกองทัพรัฐฉาน (SSA) ที่เจ้านางเฮือนคำมหาเทวีแห่งยองห้วย ภริยาของเจ้าส่วยแต๊ก ซึ่งมีศักดิ์เป็นย่าของศิลปินเป็นผู้ก่อตั้ง หรือภาพเพ้นท์ติ้งที่ศิลปินผลิตซำ้ภาพถ่ายหมู่กองกำลังรัฐฉานในปี 1970 ใน Shane State Army, 2017

อันที่จริงคิวเรเตอร์ Loredana Pazzini-Paracciani ออกตัวไว้แต่ต้นแล้วว่า เธอไม่ได้ต้องการทำนิทรรศการเซอร์เวย์ศิลปะที่ว่าด้วยการพลัดถิ่น แต่นี่เป็นโชว์ที่เธอต้องการพูดถึงการพลัดถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัย โดยเฉพาะการไฮไลท์ 3 รูปแบบของการพลัดถิ่นนั่นคือ Exit, Exile และ Exodus ซึ่งทำให้นิทรรศการนำเสนอมากกว่าประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น แต่รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานของคนในยุคนี้อย่างแรงขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ

การเกิดขึ้นของ DIASPORA: Exit, Exile, Exodus of Southeast Asia ครั้งนี้มีนัยสำคัญ เพราะประเด็นเรื่องปัญหาการพลัดถิ่น ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรอยู่ในความสนใจของภาครัฐ กลับมาอัดแน่นอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชน ในพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครองอย่างเมืองเชียงใหม่แห่งนี้ คงไม่เหมาะสมที่จะเหมารวมตรงนี้ว่า ภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจประเด็นเหล่านี้มากเท่าที่ควร แต่ควรมองในอีกประเด็นว่า เชียงใหม่นั้นเหมาะสมทีเดียวสำหรับนิทรรศการนี้ MAIIAM มอบพื้นที่ให้กับศิลปินได้มีโอกาสพูดถึงการพลัดถิ่นตรงพื้นที่ที่เกือบจะประชิดกับดินแดนที่เขาจากมา จนเป็นไปได้ว่าเสียงของพวกเขาที่ดังก้องอยู่ในห้องนิทรรศการนี้จะลอยข้ามเส้นแบ่งเขตแดนไปเข้าหูใครสักคนหนึ่งที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง

Read the full article on art4d No.262 | Click Here

TEXT:   NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO:   KETSIREE WONGWAN
maiiam.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *