FRAMEMUST

Femme Atelier was initially formed for a class project before they saw the opportunity to use the assets of aluminum door and window frames in the design of their furniture.

Aluminum door and window frames are a major industry in the world of modern architecture. The material offers many upsides from its light weight, ability to withstand different climatic conditions, convenience of installation including the recyclable quality of aluminum scraps, not to mention the diversity of section, thickness, and applications such as railings of glass panels or fixtures used for installation on angles and corners.

Femme Atelier is the name of a group of two students from the Department of Industrial Design, Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Lalita Kitchachanchaikul and Kamonwan Mungnatee. They connect the conceptual roles of door and window frames (something used to define a spatial boundary) to the fundamental structure of a table and a stool. The duo uses acrylic with gradients of colors to accentuate the dimensions of the door. The color scheme was chosen, not to control the unoriginality of this ubiquitous architecture, but to play with the upbeat decorative styles of cafés or retail spaces. In addition to its physical appeal, Framemust is interesting for the approach to and standard of design the group was able to attain, especially when considering the fact that the work comes from the minds of a couple of undergraduates from an educational institution. This design creation is living proof that no matter where you are in the world, with an interesting enough idea, well-provided information and nice pictures, you can get your work published and recognized in renowned media platforms just like any other professional designer. This student project is a testament to such possibility and we’re excited to see whether or how it will be developed into actual consumer products. If achieved, the experience will serve as an interesting final chapter to student life before their transition into careers as professional designers.

เฟรมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมถือเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ในวงการสถาปัตยกรรมด้วยข้อดีหลายอย่างทั้งในเรื่องน้ำหนักที่เบา ความทนทานต่อสภาพอากาศ การประกอบติดตั้งที่ทำได้ง่าย และการนำเศษอะลูมิเนียมกลับไปรีไซเคิลอีกครั้ง รูปแบบของหน้าตัดมีหลากหลายรูปแบบและความหนา มาพร้อมกับรางสำหรับวางกระจก และอุปกรณ์ยึดเข้ามุมต่างๆ ด้วย

Femme Atelier คือชื่อกลุ่มของ 2 นักศึกษา กมลวรรณ มุ่งหน้าที่ และลลิตา กิจจาชาญชัยกุล จากภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่รวมทีมกันทำาโปรเจ็คต์ส่งอาจารย์ พวกเขามองเห็นถึงโอกาสในการใช้ต้นทุนที่มีอยู่แล้วจากวงการก่อสร้าง อย่างเฟรมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมมาใช้ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โดยเชื่อมต่อแนวคิดของประตูหน้าต่างที่ใช้กั้นขอบเขตของพื้นที่ไปที่โครงสร้างส่วนฐานของทั้งโต๊ะและเก้าอี้สตูล ทั้งสองคนยังเลือกใช้อะคริลิคไล่เฉดสีเข้ม-อ่อนเพื่อเน้นให้มิติของประตูชัดเจนขึ้น ชุดของสีที่เลือกใช้ไม่ได้พยายามที่จะคุมโทนเพื่อล้อกับงานสถาปัตยกรรมเดิมๆ แต่สามารถนำไปใช้กับการตกแต่งร้านค้าให้ดูสนุกและสดใสได้หลากหลายขึ้น นอกจากความน่าสนใจของตัวผลงาน Framemust แล้ว ยังมีความน่าสนใจในวิธีการและมาตรฐานในการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นงานที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน หากมีผลงานที่น่าสนใจและเตรียมพร้อมในเรื่องข้อมูลและรูปภาพที่มีคุณภาพพอก็สามารถมีผลงานเผยแพร่อยู่ในสื่อดีๆ ทั่วโลกได้ไม่แพ้นักออกแบบมืออาชีพ เช่นเดียวกันกับโปรเจ็คต์ของสองนักศึกษานี้ ซึ่งน่าติดตามต่อไปว่าจะสามารถพัฒนาผลงานให้สมบูรณ์และส่งต่อถึงมือผู้บริโภคได้จริงๆ ในอนาคตหรือไม่ นับเป็นบทพิสูจน์ท้ายๆ ของการขยับจากนักเรียนดีไซน์สู่การเป็นนักออกแบบอย่างเต็มตัว

TEXT: DECHA ARCHJANANUN
PHOTO: FEMME ATELIER
behance.net/gallery/65669637/Framemust

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *