BEHIND THE WALL

Soft Square building is no ordinary one. Take a look and you will see that the architects combine a fascination for materials stemming from tropical conditions.

“I went there two weeks ago. The brick wall by the road is very high, resembling a western church or a house. I walked into the side entrance and found an inner court with walls and trees, and even birds eating worms! It’s like a maze: you can get lost easily. I was tired and sat down on a cold stairway, watching a fly trying to get out.”

With business growing rapidly, programme company Soft Square decided to build a new office for its staff at Muang Ake. The software-drawing process requires both logic and imagination. So the space must be relaxing and support a working atmosphere. The rest corner is regarded as important as the working space. This is what the architects perceived and interpreted it through space, which is homogenous with planning.

“We wanted to create space and tropical light – no other concept. We just wanted to make tropical mood. We considered spaces which interplay with light in different times.”

The architect team include Natee Supawilai, Wibol Tharanjarn, Somkiat Singhaworawuthi and Kampol Lorpanpaibol. All of them have been Ongard Sartabhandu’s staff since the “post-modern” period. The post-modern approach was explored many times during 1977 – 1997 – for instance the use of western historic forms and proportion relations. Some techniques generate less value but some are still effective. The design skill taken from ongard’s office helped the architect team when they were considering which components would be sustainable for changes. The pure beauty of space was the primary concern. The impression of Baragan’s space, Aldo Rossi’s context and Geoffrey Bawa’s open court are described by Natee, who designs the overall plan: “I want to maki it ‘vanish’ within the surroundings, as if we have done nothing. We studied the plan’s proportion but did not calculate the exact number. We pushed the building at the front and made the high wall in order to create space at the back, because we cannot be certain what would be built on the land next door. We tried to make a comfortable terrace and [overall] design that would stay for a long time.” Indeed, users confirm that the inner space and court do help the corporate’s internal activities.  Besides, clients are impressed: some even look from the outside, trying to guess what is inside. “I was there in the afternoon. The shadow of the front brick wall played on the grass court. It’s quite a place. Dog enjoyed playing over there. Inside the building, each floor is a half step divided to create a living atmosphere rather than an office one. The interiors are brick walls in many parts. All material are in natural colours except some white portions.” Material substance is king, brick, wood, ceramic floor tiles and teak floors, all together providing a peaceful feeling in a 3×3-metre open well, as seen in Bawa’s work, employed at every toilet window on each floor. They function as ventilation. Baragan’s space planning is also adapted to create a livable condition in a tropical city with a serene European facade. European characteristics are not surprising at all. As we are all familiar with Ongard’s architecture that refers to classic works. The interesting part is the way they are adapted in Thailand. Soft Square building goes hand in hand with tropical architecture, but some parts are to the contrary. “I have been in the opaque glass room on the top floor. It was very hot. I heard that they use it only at night.”

This reception room on the top floor, however, is not intended to be tropical. And it is the hottest room of the building. What the architects have done in return is brought the quality of light through the opaque glass during a night reception, which has made the building a landmark in the area. Compared with Ongard’s works in the same period, Soft Square reflects the acceptance of new approaches; Ongard goes back to simple forms and traditional serenity. Both demonstrate the art of construction that show the materials’ nature. Both pay attention to space. But one thing is different: While one’s approach is to explore the quality of tropical space through tropical architectural form, the other creates the space from western architecture.

“ผมได้ไปที่นั่นเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน ด้านติดถนนเป็นกำแพงสูงมาก คล้ายโบสถ์ฝรั่งหรือบ้าน ผมเดินเข้าด้านข้างลอดใต้หลืบเงาข้างบน ข้างในมีลานอยู่ ลานมีกำแพงล้อมหลายจุด มีคนปลูกต้นไม้ในลาน มีนกมากินหนอน บางทีผมหลงเพราะทางเดินมันวนๆ ผมเมื่อย และนั่งพักบนพื้นบันไดเนื้อเย็น ผมเห็นแมลงวันตัวหนึ่งกำลังวนหาทางออกตรงช่องบนหลังคา”

วิธีในการสร้างสรรค์งานของนักออกแบบนั้นมีหลายอย่าง แต่วิธีที่ใช้กันมากที่สุดก็คือการทำตามแบบคนที่เราชอบ ส่วนสาเหตุว่าทำไมเราถึงชอบคนนั้นคนนี้ นั้นอาจเป็นเรื่องยากเกินไปที่จะสืบค้น ผมเองชอบงานขององอาจ อาร์คิเทคส์ในช่วงหลังเสมอ เพราะอะไรผมไม่สามารถบอกได้ แต่ยังจำได้ว่าครั้งหนึ่งที่ไปที่สำนักงานของคุณองอาจที่ตึกไอคอน 3 ผมหลงทางเดินขึ้นลงลิฟท์และชั้น 11-12-13-AA อยู่หลายรอบ แต่ละชั้นทางเดินมันวนเหลื่อมๆ กัน ผมเคยคุยเรื่องนี้กับคุณองอาจพร้อมกับได้เห็นภาพสเก็ตช์ในสมุดของคุณองอาจ ซึ่งพูดบางคำกับผมว่า “ลี้ลับ ลีลา” แปลนของอาคารโบราณหลายแห่งที่อยู่ในสมุดนั้น ทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมงานช่วงหลังของสำนักงานแห่งนี้จึงเปลี่ยนไปในทิศทางของปัจจุบัน หลายคนพูดว่างานของที่นี่เป็นการนำผลงานของสถาปนิกหลายคนมารวมกันซึ่งเป็นเรื่องที่ผมไม่สนใจ ผมกลับไปสนใจที่ศิลปะของการสร้างและคุณภาพของที่ว่าง ที่แสดงออกในผังโดยเฉพาะงานช่วงหลัง เนื่องจากที่ว่างมีสภาพเป็นสากล ไม่ใช่สมบัติด้านรูปแบบของชนชาติหรือฟังก์ชั่นใดๆ คุณภาพเรื่องที่ว่างสำหรับคนทั้งในยุคฮารัปปาหรือยุคไอทีจึงไม่แตกต่างกัน การปิดล้อมที่ว่างในเมืองร้อนกับเมืองหนาวย่อมแตกต่าง แต่การซาบซึ้งและใช้งานในที่ว่างนั้นมีเนื้อหาเดียวกัน ผมจึงเห็นว่าการนำที่ว่างที่โบราณเคยใช้มาใช้ในตึกปัจจุบัน แล้วคนในนั้นมีความอยู่เย็นเป็นสุข จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีแม้เปลือกที่ปิดล้อมจะเปลี่ยนแปลงแต่ศักยภาพของที่ว่างยังคงอยู่ เพื่อส่งเสริมหรือลดทอนประสิทธิภาพของคนในนั้น แม้บางคนจะเชื่อมั่นว่าไอทีจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะกับอาคารที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือการสื่อสารอย่าง VPRO แต่บางอาคารที่มีเนื้อหาบางส่วนคล้ายกันกลับยังคงใช้ผังที่มีรากมาจากอาคารโบราณ

ด้วยกิจการที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว Soft Square บริษัทโปรแกรมเมอร์ จึงตัดสินใจสร้างสำนักงานใหม่ขึ้นที่เมืองเอก กระบวนการเขียน software ที่ต้องการทั้งตรรกะและจินตนาการ ทำให้เกิดความต้องการพื้นที่ที่ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานและดูผ่อนคลายไปพร้อมกัน มุมพักผ่อนถูกให้ความสำคัญใกล้เคียงกับมุมทำงาน ความเข้าใจในกิจกรรมดังกล่าวถูกรับรู้โดยทีมสถาปนิกที่ได้ตีความกิจกรรมดังกล่าวผ่านที่ว่าง ซึ่งสอดคล้องกับวิธีวางผังที่ผู้ออกแบบสนใจมาเป็นเวลานาน

“เราอยากจะทำที่สเปซทำแสงแบบเมืองร้อน ที่ทำให้เกิดจินตนาการโดยใช้การเชื่อมต่อและปิดล้อมที่ว่าง ที่จะส่งผลต่อแสงธรรมชาติซึ่งจะเปลี่ยนไปเมื่อตกกระทบกับอาคารในเวลาต่างๆ”

กลุ่มผู้ออกแบบคือวิบูล ธรณจันทร์ สมเกียรติ สิงหวรวุฒิ กำพล ลอพันธุ์ไพบูลย์ และนที ศุภวิไล ซึ่งทั้ง 4 มีที่เคยและยังเป็นสถาปนิกขององอาจ สาตรพันธุ์ มาตั้งแต่ช่วงโพสต์โมเดิร์น วิธีคิดหลายอย่างในช่วงโพสต์โมเดิร์นได้ถูกลองใช้หลายครั้งในงานช่วง 2525 – 2540 เช่น การใช้รูปทรงจากประวัติศาสตร์ตะวันตก การหาสัดส่วนสัมพันธ์ เทคนิคในการออกแบบเช่นนี้บางอย่างให้ผลลัพธ์ที่มีคุณค่าน้อยลงตามเวลา แต่บางอย่างก็ยังใช้ได้ดี ความคุ้นเคยกับกระบวนการการออกแบบในสำนักงานของคุณองอาจมีส่วนช่วยสำคัญที่ช่วยทำให้ทีมสถาปนิกสามารถเลือกสรรองค์ประกอบเฉพาะที่ผ่านการทดลองมาแล้วว่า น่าจะเป็นสิ่งที่ยืนยาวต่อการเปลี่ยนแปลง ความงามในความจริง เรื่องที่ว่างถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ความประทับใจในที่ว่างของลุยส์ บารากอง หรือความคิดเรื่องบริบทของอัลโด รอสซิ และอีกบางความคิดเกี่ยวกับการเปิดลานในกลุ่มอาคารของเจฟฟรีย์ บาว่า ยังคงถูกนำมาใช้โดยทีมผู้ออกแบบที่มีความเห็ดสอดคล้องกันในเรื่องภาพรวมของอาคาร

“เราพยายามใช้เนื้อวัสดุเช่นอิฐ ปูนฉาบ กระจก มาประสานกันเป็นมิติให้เกิดระนาบและรูปทรง โดยคำนึงถึงทิศทางแดดลมสภาพแวดล้อม ที่ช่วยให้เกิดที่ว่างภายในที่มีบรรยากาศในการทำงานที่น่าสบาย เราดันตึกมาอยู่ด้านหน้า ทำกำแพงสูงให้เกิดที่ว่างด้านหลังและแยกออกจากภายนอก เพราะในอนาคตเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าที่ดินข้างๆ จะสร้างอะไรขึ้นมาบ้าง เราพยายามทำระเบียงให้เย็น และพยายามทำงานที่อยู่ได้นาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย เราจึงให้ความสำคัญกับแสงและแสดงผ่านการใช้ระนาบปิดล้อม เช่น แนวต้นไม้ รั้วกำแพง แสงและเงาต้นไม้ที่ตกกระทบลงบนผนังจะสะท้อนให้เห็นความงามของแสงที่มีอยู่เหลือเฟือในประเทศเมืองร้อน ซึ่งเราสามารถควบคุมและนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย”

ที่ว่างและลานภายในที่เกิดขึ้น ได้รับการยืนยันจากผู้ใช้อาคารว่า ช่วยส่งเสริมกิจกรรมขององค์กรเป็นอย่างมาก และยังช่วยทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจครั้งแรกเมื่อมาที่บริษัท หลายคนพยายามมองจากด้านนอกแล้วทายว่าหลังแนวกำแพงอิฐสูง 13 เมตร คืออะไร แนวกำแพงสูงได้ทำหน้าที่ปิดล้อมพื้นที่ภายในเป็นคอร์ทขนาดใหญ่ และผนังอิฐต่อเนื่องไปสู่คอร์ทเล็กๆ ที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้น ข้างในแบ่งแต่ละชั้นด้วยระดับแบบครึ่งชั้น ซึ่งทำให้ที่นี่มีบรรยากาศของความเป็นบ้านมากกว่าสำนักงาน ตัวตึกใช้ผนังอิฐหลายส่วนและใข้วัสดุสีธรรมชาติทั้งหมด ยกเว้นผนังบางจุดที่ทาสีขาว

เนื้อแท้ของวัสดุยังคงถูกให้ความสำคัญ ผนังอิฐโชว์แนว ผนังไม้แดง พื้นกระเบื้องดินเผา และพื้นไม้สักสีขี้ควาย สีที่กลมกลืนกันให้ความรู้สึกสงบ คล้ายที่พักพิงของบางสิ่ง ผิวไม้และดินเผาชวนให้บางคนถอดถุงเท้าออกเดินเล่นในอาคาร วิธีการสร้างและรอยต่อระหว่างวัสดุหลายชนิดถูกทดลอง เช่น รอยต่อของโครงสร้างเหล็กและผนังอิฐ รวมถึงท้องเพดานที่ใช้อิฐเป็นแบบ ระดับชั้นที่เหลื่อมกันครึ่งชั้น และลานภายในช่วยให้ภายในตึกเย็นสบายเป็นอย่างมาก ช่องแสงที่ได้ความคิดมาจากงาน Jayakody House ของบาว่า ถูกนำมาใช้ในขนาด 3×3 เมตร เจาะทะลุทุกชั้น บริเวณหน้าต่างห้องน้ำซึ่งทำหน้าที่เป็นปล่องระบายอากาศไปพร้อมๆ กัน ลานใหญ่ ลานเล็ก แนวกำแพง แสงเงาที่เปลี่ยนแปลง ระเบียงและการเจาะช่องระบายอากาศ นอกจากให้ผลทางความงามของแสงเงาแล้ว ยังทำหน้าที่ระบายอากาศในอาคารอย่างได้ผล ความรู้สึกที่ชื้นเย็นในตึกทำให้บางคนและสุนัขบางตัวยินดีที่จะสิงสถิตย์อยู่ตามซอกบันได ระเบียง หรือทางเดิน เพื่อประกอบกิจตั้งแต่พักผ่อน พูดคุย จนถึงนินทาเจ้านาย แสงจ้าจากทุ่งโล่งรอบๆ ที่ถูกกรองจากแนวผนังแล้ว เมื่อสาดลงสู่ลานได้ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้กับผนังที่นิ่ง ที่ว่างแบบบารากองถูกนำมาใช้เพื่อสร้างภาวะน่าสบายในเมืองร้อนชื้นด้วยเปลือกห่อหุ้มที่มีลักษณะเคร่งขรึมแบบยุโรป

อารมณ์แบบยุโรปไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าการออกแบบในสำนักงานขององอาจ อาร์คิเทคส์ มีรากที่อ้างอิงจากงานคลาสสิคอยู่มาก ส่วนที่น่าสนใจจึงอยู่ที่การนำวิธีคิดเหล่านี้มาออกแบบอาคาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ขณะที่ผังอาคาร Soft Square โดยรวมให้ความสำคัญกับความเป็นสถาปัตยกรรมเมืองร้อน บางจุดกลับตรงกันข้าม “ผมเคยเข้าไปห้องกระจกฝ้าชั้นบนสุดครั้งหนึ่ง มันร้อนจนตับแลบเทียวละคุณ แต่ก็ได้ยินว่าเขาใช้ห้องนี้เฉพาะตอนกลางคืน” ยามคนหนึ่งเล่า นี่คือห้องที่ร้อนที่สุดในอาคารนี้ แต่สิ่งที่สถาปนิกต้องการกลับมาเพื่อแลกกับการยอมเรื่องความร้อนก็คือ คุณภาพของแสงที่ฉายผ่านกระจกฝ้าในขณะจัดเลี้ยงยามค่ำคืน ซึ่งจะเป็นเหมือนโคมไฟดวงใหญ่ในตอนกลางคืน และช่วยเน้นให้ตึกกลายเป็น landmark ในบริเวณนั้นได้

เมื่อเทียบกับงานช่วงเดียวกันของคุณองอาจแล้ว งาน Soft Square แสดงความคิดที่ยังเปิดรับกระแสการออกแบบใหม่ๆ ขณะที่งานขององอาจ อาร์คิเทคส์ช่วงท้ายย้อนกลับไปสู่รูปแบบที่ง่ายและสงบแบบประเพณีขึ้นทุกที งานจากทั้ง 2 แห่งถูกแสดงออกด้วยศิลปะของการสร้าง ที่เน้นเนื้อแท้ของวัสดุในระดับที่ใกล้เคียงกัน ให้ความสำคัญกับคุณภาพของที่ว่างมากพอๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันคือแนวทางหนึ่ง เริ่มมุ่งเข้าไปค้นหาคุณภาพของที่ว่างแบบเมืองร้อน ผ่านรูปทรงของอาคารเมืองร้อน ในขณะที่อีกแนวทางหนึ่งยังคงสร้างที่ว่างแบบเขตร้อนชื้นขึ้นมาจากรูปโฉมอาคารในเมืองหนาว อาคาร Soft Square ใช้เวลาในการออกแบบ รวมถึงขั้นตอนที่โครงการถูกพักนั้นกินเวลาหลายปี ตั้งแต่ปี 2540 – 2544 เราจึงอาจได้เห็นรูปแบบบางอย่างที่เริ่มล้าสมัยเมื่อบทความนี้ถูกตีพิมพ์ สิ่งเดียวที่อาจคงอยู่ก็คือคุณภาพของที่ว่างที่จะยังอยู่ตลอดไป ตราบเท่าที่ยังมีคนมานั่งพักในหลืบเงาของระเบียง และยังมีสุนัขหลับสนิทอยู่ตรงซอกบันไดใต้เงาไม้

FROM THE ARCHIVE
First published in art4d No.68, February 2001

 TEXT:  WORAPAN KLAMPAIBOON

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *