WITHOUT THE CONVENTIONAL STRUCTURE OF A BIENNALE – SPONSORS, ARTISTIC DIRECTOR, CURATORIAL TEAM AND THEME, THE FIRST EDITION OF BANGKOK BIENNIAL HAS PROVED THAT THERE’S ANOTHER WAY TO ORGANIZE AN ART FESTIVAL
2018 was a great year for the people of Bangkok with the city welcoming two major art festivals held almost simultaneously. And despite having similar names that confused audiences as to if these were the same event or not, Bangkok Art Biennale and Bangkok Biennial barely had anything in common.
Compared to other festivals of a similar nature, Bangkok Biennial is a world of true artistic freedom. The intention behind its conception is to allow for Bangkok Biennial to exist free from all rules brought about by the power structures and norms that other art festivals have conformed to. Such structure, which is normally made up of investors, sponsors, institutes, a chief curator and curatorial team, is made absent to allay the topdown creative control. The role of the organizer, apart from the opening event that took place under Rama VIII Bridge, was to be a hub providing information about all the pavilions participating in the event (with a platform that works similar to Wikipedia where each pavilion contributes its own content). A compact-sized guidebook was also created for festival goers to use as they roamed the art spaces emerging scattered across Bangkok.
Such approach resulted in Bangkok Biennial being the international art festival with the largest number of participating artists. 249 artists from 26 countries brought their works to 73 pavilions where each operated independently under its own creative and artistic control. They were free to put together exhibitions wherever they wanted and talk about whatever issues they wanted through their works of art. The upside that ensued was that the event worked like a magic pill getting people in the art world going, organizing art exhibitions all over Bangkok, from inside and outside of art galleries, at public spaces and in temples to more private spaces such as the artists’ own homes and studios, which were turned into semipublic venues (advance appointments were needed for a visit).
The other good thing was how Bangkok Biennial worked pretty much like a ‘fieldwork’ that allowed for artists to engage in the entire process of their exhibitions, from finding the venue, writing a budget proposal, installing the works, managing the exhibition all the way to preparing welcoming goody bags for the opening day. This led to another advantage that the event has brought because exhibition openings became a platform that brought artists, writers, art students and interested individuals together. The greater the frequency of exhibition openings, the stronger and more extensive the artistic network will become.
In this article, art4d brings you intros to art pavilions that exhibited some interesting interactions with their surrounding contexts, from Charoen Contemporaries Pavilion, 454/278-281, and The House of Flowing Reflection to RE/FORM/ING PATANI, which took place in Pattani province of Thailand.
Charoen Contemporaries is an art collective whose members, Nut Srisuwan, Pojai Akratanakul, Napat Vatanakuljaras, Pongsakorn Yananissorn and Abhijan Gupta, used the ‘Praisaneeyakarn’ building as the venue for their PostScripts exhibition. The building has accommodated a number of functionalities. It was originally built as a 1:75 model of Thailand’s first Mail & Telegraph Office building (demolished as a result of Phra Pok Klao Bridge) in 2003 and later used as the Museum of Postal Affairs in 2009 before it was left unoccupied until its latest role acting as the venue of one of Bangkok Biennial’s pavilions.
‘Monument of Time,’ the concept of PostScripts exhibition resonated with the ‘Monument of Time’ status of the Praisaneeyakarn building, from the illuminated sign ‘A Monument to Taste, A Monument to Heritage’ (2018) that Miti Ruangkritya used to replace the postal building’s original sign to ‘Time Freezer’ (2018) by Kansuda Panprom, a fridge installed inside the building amidst the echoing sounds of utensils, cars honking, etc. as if the space was still occupied. The artist linked the functionalities of a paper and the fridge together, viewing this household appliance as a tool that ‘extends time’ (in this case, the process of food preservation), which bears no difference from the documentation of something on a piece of paper or through the construction of a monument, which all serve as reminders of things. ‘Golden Hour: from 8 minutes ago to what is yet to come’ (2018) by Sornrapat Patharakorn is situated outside of the building. This particular large mirror doesn’t seem to have any specific functionality until the right time comes and it begins to reflect the sunlight coming through the building’s windows. The light window then appears on the canvas set up at the back of the building. The location of the canvas is where the annex is going to be built while the artist grants viewers freedom of interpretation about the future image that will happen for only 10 minutes each day.
Another old building turned alternative art space is The House of Flowing Reflections by Moom Mong Collective. A building named ‘Eah Seng’ on Charoen Krung Road, the designated venue of the pavilion, was awarded the ASA Architectural Conservation Award by the Association of Siamese Architects for its preserved architectural compositions inspired by the shape of the Chinese junk ship. ‘Flow’ (2018) by Jeanne Penjan Lassus takes inspiration from the way of life of people in the area surrounding the building. The footage of water hyacinths floating on streaming water projected on the exposed concrete wall on the third floor of the building reminds one of the time when the area below Thanon Mangkon was still a waterway before it was turned into a road in the reign of King Rama VI, resonating with the Chinese letters symbolizing the message of the overseas Chinese immigrants who migrated to the Southeast Asian region.
454/278-281 Pavilion is more private than most spaces. Punch Viratmalee, the exhibition’s curator, turned her old house into an exhibition space, causing its unoccupied space to regain its status as a home. ‘Notes on Matriarch’ (2017) features photographs of Komtouch Napattaloong displayed at the landing of the house’s staircase. Suspended at the center of the house is ‘Klokkestreng (We gonna treat the backside as important as the front side)’ (2018), a bell that Danielle Brown created out of fabric. ‘Dusk’ (2018) is Pam Virada’s video of clothes displayed on the clothesline out at the terrace. Within the same space, one can also see ‘J288x431-04443. jpg’ (2018), a fragment of photographs taken 10 years ago salvaged from Miti Ruangkritya’s hard disk. ‘And how should I start telling you about the place I left behind’ (2018) by Punch Viratmalee, an installation of different pieces of paper, each with a message on it, found throughout the space The work tells the stories of incidents and periods of time that get viewers to contemplate the people who used to live in the house. Every exhibited work brings a sense of space back to the house. There is also a sense of obscurity with the messages on the papers as viewers are left to ponder whether those stories are real or fabricated by the artist.
Apart from the pavilions in Bangkok, the festival has made its way to other provinces of Thailand. RE/FORM/ING PATANI was held at three different art spaces in Pattani, attracting art enthusiasts down to the three southern provinces that have long been trapped in an insurgency. The birth of RE/FORM/ING PATANI Pavilion reflects an interesting point of view from the role of a discourse generator that doesn’t necessarily have to answer to Bangkok as a result of the country’s over-centralization of power. The voices of the Malay population are expressed into the work ‘Untitled’ (2018) by Sopida Ratta, who tied up countless pieces of cloth into an expansive net that is laid over the white sand of Datok Beach. The installation piece invites people to participate and expand the size of the net to be even larger and longer. The work is an anti-Bangkok established discourse that has long diminished the identity of the three provinces only to ‘violence,’ presenting the other and ‘real’ side of the Pattani where the way of life is simple and deeply associated with the sea.
Apart from the opening of Bangkok Biennial, which took place almost seamlessly alongside the daily aerobic activity under Rama VIII Bridge and successfully integrated ordinary evening exercise into a part of the Contemporary art festival, it’s undeniable that throughout the three-month duration of the festival, the participation of the general public has still been rather minimal. Perhaps it’s the locations of the pavilions that are not public enough for most people to access or maybe it’s the works that are not visually appealing enough for an Instagram snap, but it seems like the viewers of Bangkok Biennial haven’t really been ‘anybody’ like the way the opening had managed to attract. Nevertheless, the issue over the diversity of viewers can become Bangkok Biennial’s strength because it can simply mean that the number of viewers is not an important enough factor that will affect the artistic freedom of artists, artistic processes and the direction of the festival after all.
This article is from art4d No.265
ปีนี้ถือเป็นปีดีสำหรับคนกรุงเทพฯ ที่มีเทศกาลศิลปะถึงสองรายการจัดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน นั่นคือ Bangkok Art Biennale และ Bangkok Biennial จนหลายๆ คนสับสนว่ามันเป็นงานเดียวกันหรือคนละงาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าชื่องานจะคล้ายๆ กัน แต่ทั้งสองงานนี้ก็แทบจะไม่มีอะไรเหมือนกันแม้แต่น้อย
ถ้าเทียบกับเบียนนาเล่อื่นๆ Bangkok Biennial คือโลกเสรีของศิลปะที่แท้จริง ความตั้งใจของผู้จัดคือการทำให้ Bangkok Biennial ปราศจากกฎเกณฑ์ของโครงสร้างเชิงอำนาจตามขนบของการจัดงานที่เบียนนาเล่อื่นๆ มี โครงสร้างที่ประกอบไปด้วย นายทุน ผู้สนับสนุน สถาบัน หัวหน้าและทีมภัณฑารักษ์ถูกตัดออกไปเพื่อไม่ให้มีอำนาจแบบ top-down ในงานนี้ ส่วนบทบาทของผู้จัด นอกจากจัดงานเปิดที่ใต้สะพานพระราม 8 จะทำหน้าที่เป็นแค่ศูนย์กลางที่คอยรวบรวมข้อมูลพาวิลเลียนที่เข้าร่วมในครั้งนี้ (ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มเหมือนกับ Wikipedia ขึ้นมาให้แต่ละพาวิลเลียนเข้ามากรอกข้อมูลกันเอง) และเป็นผู้จัดทำ guide book เล่มเล็กๆ ไว้ให้เราใช้เป็นลายแทงเดินดูงานตามจุดต่างๆ
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Bangkok Biennial กลายเป็นมหกรรมศิลปะนานาชาติที่มีศิลปินเข้าร่วมมากที่สุด นั่นคือ 249 คน จาก 26 ประเทศ นับเป็นทั้งหมด 73 พาวิลเลียน ที่แต่ละพาวิลเลียนเป็นอิสระจากกัน ใครใคร่จัดงานที่ไหนก็ “จัด” อยากจะนำเสนอเรื่องอะไรก็ “ทำ” ข้อดีที่ตามมาคือ ปฏิเสธไม่ได้ว่า Bangkok Biennial ครั้งนี้เหมือนเป็นยาวิเศษที่กระตุ้นให้ศิลปินรวมตัวกันจัดนิทรรศการศิลปะกันทั่วเมืองทั้งในแกลเลอรี่ ตามพื้นที่สาธารณะ วัด รวมไปถึงพื้นที่ส่วนตัว ที่ศิลปินเปลี่ยนบ้าน / สตูดิโอของตัวเองให้กลายเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (เพราะต้องนัดกับศิลปินก่อนถึงจะเข้าไปได้)
ข้อดีถัดมาคือ Bangkok Biennial เป็นวิชาภาคสนามให้ศิลปินได้ทำนิทรรศการตั้งแต่เริ่มจนจบ ตั้งแต่หาที่จัดแสดง เขียนโครงการของบประมาณ ติดตั้งงาน บริหารนิทรรศการ ไปจนถึงจัดเตรียมของเล็กๆ น้อยๆ ไว้ต้อนรับแขกในวันเปิดนิทรรศการ ซึ่งก็นำมาสู่ข้อดีอีกข้อ เพราะพิธีเปิดนิทรรศการเป็นพื้นที่ที่ทำให้ศิลปิน นักเขียน นักศึกษาศิลปะ และผู้สนใจทั่วไปได้มาเจอกัน การเปิดนิทรรศการถี่ๆ ทำให้เครือข่ายของคนทำงานศิลปะเชื่อมต่อกัน และมีแนวโน้มว่าจะแข็งแรงมากขึ้นในอนาคต
ในบทความนี้ art4d จะแนะนำพาวิลเลียนที่ทำงานศิลปะกับบริบทของพื้นที่ได้น่าสนใจดังนี้ Charoen Contemporaries Pavilion, 454/278-281 และ The House of Flowing Reflection รวมไปถึง RE/FORM/ING PATANI ที่แตกตัวจากกรุงเทพฯ ไปจัดไกลถึงจังหวัดปัตตานี
Charoen Contemporaries กลุ่มนักปฏิบัติการศิลปะของ ณัฐ ศรีสุวรรณ พอใจ อัครธนกุล ณภัทร วัฒนกุลจรัส พงศกรณ์ ญาณะณิสสร และ Abhijan Gupta ใช้ไปรสนียาคาร เป็นที่จัดนิทรรศการ PostScrips หลังจากอาคารนี้ถูกเปลี่ยนการใช้งานมาหลายครั้ง เดิมทีมันถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารจำลองในสัดส่วน 1:75 ของอาคารไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรกของไทย (ที่ถูกทุบเพราะการสร้างสะพานพระปกเกล้า) ในปี พ.ศ. 2546 ก่อนจะถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์การสื่อสารไปรษณีย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และถูกทิ้งร้างในเวลาต่อมา จนกระทั่งกลายมาเป็นพาวิลเลียนใน Bangkok Biennial ครั้งนี้
“Monument of Time” คอนเซ็ปต์ของพวก ซ้อนทับกันกับความเป็น “อนุสรณ์สถานแห่งกาลเวลา” ของไปรสนียาคารพอดิบพอดี ตั้งแต่ป้ายไฟ ‘A Monument to Taste. A Monument to Heritage’ (2018) ที่ มิติ เรืองกฤตยา เอาไปติดแทนที่ป้ายไปรษณีย์เดิมหน้าทางเข้า ‘แช่เวลา’ (2018) โดย กัลย์สุดา ปานพรม คือ ตู้เย็นที่ถูกเอาไปตั้งไว้ภายในอาคาร ส่งเสียงกระทบกันของช้อนส้อม เสียงแตรรถ ฯลฯ ราวกับว่ายังมีคนอยู่ในนั้น ศิลปินเชื่อมโยงฟังก์ชั่นของกระดาษกับตู้เย็นเข้าด้วยกัน และมองว่าตู้เย็นก็เป็นเครื่องมือสำหรับ “ยืดเวลา” (ในที่นี้คือการถนอมอาหาร) ไม่ต่างอะไรกับการจดบันทึกลงกระดาษและการสร้างอนุสรณ์สถานเป็นเครื่องเตือนความจำ หรือ Golden Hour: from 8 minutes ago to what is yet to come (2018) โดย ศรภัทร ภัทราคร ที่ตั้งอยู่ภายนอกอาคาร กระจกขนาดใหญ่บานนี้เหมือนไม่มีฟังก์ชั่นการใช้งาน จนกระทั่งถึงเวลาที่พอเหมาะพอเจาะ กระจกจะสะท้อนแสงอาทิตย์ทะลุผ่านหน้าต่างของอาคาร ไปปรากฏเป็น “หน้าต่างแสง” บนผ้าใบที่ขึงเตรียมไว้ด้านหลังอาคาร ตำแหน่งของผ้าใบนั้นเป็นตำแหน่งเดียวกันกับจุดที่อาคารหลังนี้กำลังจะถูกต่อเติมออกไป ศิลปินปล่อยให้คนดูตีความเอาเองว่า “ภาพของอนาคต” ที่จะเกิดขึ้นเพียงไม่ถึง 10 นาทีต่อวันนั้นหมายความว่าอย่างไร
อีกพาวิลเลียนที่นำอาคารเก่ามาใช้คือ The House of Flowing Reflections โดยกลุ่ม Moom Mong Collective ที่ใช้อาคาร “เอี๊ยะเซ้ง” ริมถนนเจริญกรุงเป็นที่จัด ความพิเศษของอาคารนี้คือมันเป็นอาคารที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามเพราะยังสามารถเก็บองค์ประกอบของอาคารที่คล้ายกับโครงสร้างเรือสำเภาไว้ได้ Flow (2018) โดย Jeanne Penjan Lassus ได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตของผู้คนที่รายล้อมตึกอยู่ งานชิ้นนี้ฉายอยู่บนผนังปูนเปลือยชั้น 3 ของอาคาร เป็นวิดีโอผักตบชวาที่กำลังไหลไปตามกระแสน้ำตามลำคลอง ชวนให้นึกถึงเมื่อครั้งถนนมังกรที่อยู่บริเวณด้านล่างตัวอาคารยังคงเป็นลำคลองก่อนจะถูกทำให้เป็นถนนในสมัยรัชกาลที่ 6 พ้องไปด้วยกันกับตัวอักษรภาษาจีนจากชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
454/278-281 Pavilion เป็นพาวิลเลียนที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวมากกว่าที่อื่นๆ Punch Viratmalee คิวเรเตอร์นิทรรศการนี้ นำบ้านหลังเก่าของตัวเองมาเป็นพื้นที่นิทรรศการ แต่ผลที่ได้คือมันกลับทำให้บ้านเก่าที่ไม่ได้ใช้งานในฐานะบ้านได้กลับมาเป็นบ้านอีกครั้ง Notes on Matriarch (2017) ภาพถ่ายห้องนอนของ คมน์ธัช ณ พัทลุง ติดอยู่ที่ชานพัก Klokkestreng (We gonna treat the backside as important as the front side) (2018) ระฆังผ้าของ Danielle Brown แขวนอยู่กลางบ้าน ในขณะที่ Dusk (2018) วิดีโอผ้าบนราวตากของ Pam Virada ตั้งอยู่นอกระเบียง ในพื้นที่เดียวกับ J288x431-04443.jpg (2018) เศษเสี้ยวของภาพถ่ายเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่กู้คืนมาได้จากฮาร์ดดิสก์ของ มิติ เรืองกฤตยา โดยเฉพาะกับ And how should I start telling you about the place I left behind (2018) ของ Punch Viratmalee ข้อความบนแผ่นกระดาษถูกแปะอยู่ตามบริเวณพื้นที่จัดแสดง บอกเล่าถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับช่วงเวลาหรือบุคคลที่ชวนให้ผู้ชมคิดถึงความเป็นอยู่ของคนในบ้านหลังนี้ในอดีต ชิ้นงานทั้งหมดทำให้พื้นที่บ้านกลับคืนมาคนละแบบกับที่มันเคยเป็น เมื่อเรื่องเล่าจากศิลปินคาบเกี่ยวอยู่บนความจริง และผู้ชมแยกไม่ออกว่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงข้อความที่ถูกเขียนขึ้น
นอกจากพาวิลเลียนในกรุงเทพฯ บางจังหวัดในพื้นที่ประเทศไทยยังได้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลในครั้งนี้ด้วย RE/FORM/ING PATANI ที่จัดขึ้นที่ art space ถึง 3 แห่ง ในจังหวัดปัตตานี ถือเป็นงานที่ดึงกลุ่มผู้ชมจากเมืองหลวงลงไปยังพื้นที่สามจังหวัดได้ไม่น้อยทีเดียว การเกิดขึ้น RE/FORM/ING PATANI Pavilion สะท้อนมุมมองที่น่าสนใจนั่นคือ การแสดงถึงบทบาท “ผู้ผลิตวาทกรรม” โดยไม่ขึ้นตรงกับศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯ และการส่งเสียงของชาวมลายูผ่านงานศิลปะ ในผลงาน Untitled (2018) โสภิดา รัตตะ นำเศษเสื้อผ้าชิ้นเล็กมากมายมาผูกยาวต่อกันเป็นร่างแหวางบนทรายสีขาวของหาดดาโต๊ะ เป็นงานอินสตอลเลชั่นที่เปิดให้ผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยการผูกผ้าตาข่ายผืนนี้ให้กว้างและยาวขึ้นเรื่อยๆ ผลงานชิ้นนี้ต่อต้านคำนิยาม “พื้นที่สีแดง” จากทางกรุงเทพฯ ที่ลดทอนอัตลักษณ์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีแต่ภาพ “ความรุนแรง” เท่านั้น ด้วยการนำเสนออีกด้านจริงๆ ของปัตตานี นั่นคือวิถีชีวิตที่ผูกพันกับท้องทะเลอันเรียบง่าย
นอกจากวันเปิดงาน Bangkok Biennial ที่เนียนจัดไปพร้อมกับกิจกรรมเต้นแอโรบิกใต้สะพานพระราม 8 ซึ่งทำให้กิจกรรมธรรมดาๆ ที่มีทุกวันตอนเย็น กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยไป ในระหว่าง 3 เดือนของกิจกรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่ค่อยเห็นการมีส่วนร่วมของผู้ชมทั่วไปเท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะด้วยเหตุเพราะที่ตั้งของพาวิลเลียนนั้นไม่สาธารณะ “เพียงพอ” เปิดให้คนทั่วไปจะเข้าถึงได้ การประชาสัมพันธ์งานที่ไม่ได้ขยายออกไปยังสื่อหลัก หรือไม่ก็เป็นเพราะผลงานมันไม่เตะตาพอที่จะเชิญชวนให้คนทั่วไปถ่ายรูปอัพรูปลงอินสตาแกรมกันเก๋ๆ ผู้ชมของ Bangkok Biennial จึงไม่ได้เป็น “ใครก็ได้” อย่างที่ปรากฏมากมายในวันเปิดงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องความหลากหลายของคนดูก็อาจจะเป็นจุดแข็งของ Bangkok Biennial เพราะเท่ากับว่า จำนวนของผู้ชมไม่ได้เป็นตัวแปรที่สำคัญสำหรับการทำงานศิลปะและการจัดเทศกาลศิลปะมากเกินไปจนสูญเสียอิสระในการทำงาน
บทความจาก art4d No.265
TEXT: PIMPAKAPORN PORNPENG
PHOTO COURTESY OF THE PHOTOGRAPHERS