CONSTITUTION IN A NUTSHELL

IN ORDER TO GRASP THE DEBATE, A GROUP OF GRAPHIC DESIGNERS CREATED A LEARNING TOOLKIT ABOUT THE JAPANESE CONSTITUTION

TEXT: PAKPOOM LAMOONPAN
PHOTO COURTESY OF KENPO NO KIHON 

 (For English please scroll down) 

ช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการถกเถียงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคง เดิมทีมาตรา 9 นี้มีขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการชี้นำของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการทำให้ประเทศญี่ปุ่นปราศจากกองทัพ และจำกัดให้มีแค่กองกำลังป้องกันตัวเองเพื่อเป็นหลักประกันว่าญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วมสงครามใดๆ อีก เมื่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe ประกาศเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขมาตรานี้ ข่าวการแก้ไขที่ว่าก็แพร่กระจายออกไปโดยสื่อทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่ต่างประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีข้อเสียหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ และทำให้เกิดข้อถกเถียงในหมู่คนญี่ปุ่นอย่างกว้างขวาง

“ขั้นแรกเราต้องเรียนรู้รัฐธรรมนูญและสร้างพื้นฐานสำหรับการอภิปราย” ในบ้านของสองดีไซเนอร์สามีภรรยา Takuya Hoda และ Yuuri Mikami ก็เหมือนกับครอบครัวทั่วไปที่มีการพูดคุยกันในเรื่องอนาคต และเมื่อทั้งคู่จะตั้งกลุ่มกิจกรรมเพื่อสัมมนาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ (เพื่อที่จะหลบเลี่ยง “อคติ” ที่สอดไส้มากับข่าวที่นำเสนอโดยสื่อฝ่ายซ้ายและขวานั้น) ทั้งคู่ก็พบว่าพอจะหาข้อมูลที่มีอยู่ในตอนนั้นมาพูดคุยกันในกลุ่ม ด้วยความจริงจังและความ “หนัก” ของรูปแบบรัฐธรรมนูญ มันก็เป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนทั่วไปสนใจอ่านตัวบทกฎหมายในรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง และเมื่อไม่มีการทำความเข้าใจด้วยตัวเอง จึงเป็นการยากที่จะได้คิดและทบทวนผลกระทบของการแก้ไขครั้งนี้ในด้านของประชาชนจริงๆ

หลังจากปรึกษาผู้รู้และตัดสินใจที่จะทำออกมาเป็นวัสดุการเรียนการสอนไว้ศึกษากันเองในกลุ่ม ทั้งสองคนจึงตั้งใจที่จะทำให้รัฐธรรมนูญดู “เบา” ขึ้นด้วยการออกแบบ จนเป็นที่มาของการออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับโมเดิร์นฉบับนี้ ด้วยความหนาเพียง 3 มิลลิเมตรและหนักเพียง 22 กรัม ถ้าจะเรียกงานออกแบบชิ้นนี้ว่าหนังสือก็คงจะไม่ตรงนัก ทั้งคู่ตั้งใจออกแบบให้เป็นเหมือนกับแผ่นพับที่บรรจุรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 103 มาตรา ไว้ในนั้นเพื่อให้คนพกไปไหนมาไหนหรือแม้แต่สอดไว้ในหนังสือได้ การทำให้เป็นแผ่นพับก็สะดวกเวลากางออกมาเห็นภาพรวมในที่เดียวและสะดวกเวลาจะเปรียบเทียบมาตราต่างๆ ตัวซองใส่ก็ออกแบบซ่อนธงชาติญี่ปุ่นไว้ตรงกลางโดยไม่ใช้วงกลมแดงบนพื้นขาวอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ แต่เป็นวงกลมสีขาวบนพื้นสีฟ้าอ่อน

นอกจากฟอร์มด้านนอกที่ดูดึงดูดแล้ว ด้านในยังมีการเว้นที่ว่างให้สบายตาและเป็นพื้นที่สำหรับการเขียนโน้ตในหัวข้อที่ตัวเองสนใจคล้ายกับสื่อการเรียนการสอน ส่วนการจัดหน้าก็ถูกเปลี่ยนจากการเขียนแบบบนลงล่างที่ดูอนุรักษนิยม มาเป็นการเขียนจากซ้ายไปขวาเพื่อให้ความรู้สึกร่วมสมัยและดึงดูดคนอ่านรุ่นใหม่ นอกจากนั้นตัวเลขต่างๆ ในหัวข้อใหญ่ๆ ก็เลือกที่จะใช้เลขโรมันแทนคันจิตามปกติของเอกสารทางการแบบนี้

ผลที่ได้นอกจากทำให้คนที่เข้าร่วมกลุ่มศึกษากว่าร้อยคนได้มีสื่อที่เอาไว้อ่านเพื่อพูดคุยถกเถียงกันแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนักออกแบบนี้ยังได้รางวัล Good Design Award ในปี 2017 และมีเสียงตอบรับอย่างมากจนยอดพิมพ์ขาดตลาด นี่เป็นตัวอย่างการออกแบบสื่อที่ช่วยทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการเมืองได้ง่ายขึ้น อย่างน้อยก็เริ่มจากการอ่านฆ่าเวลาตอนรอรถไฟก็ยังดี

Throughout the past several years, the amendment of Article 9 of the Japanese Constitution concerning Japan’s homeland security measures has been widely debated. Article 9 was originally created after the Second World War with significant influence from the United States. The art explicitly renounces war and the maintenance of war potential and rejects Japan’s right to belligerency, limiting self-defense force and guaranteeing the country from never going into war ever again. When Shinzo Abe’s Government proposed to amend Article 9, both right and left wings intensely promoted the pros and cons of the amendment, prompting widespread and intense discussion amongst the Japanese people

“First off, we have to study the constitution and build the right foundation for the debate.” The home of the designer couple,Takuya Hoda and Yuuri Mikami, is like an ordinary household where talk about the future is perfectly common. When the two decided to organize an activity group where a seminar and studies about the issue could take place objectively (free of prejudices that the news from both sides is trying to incorporate), Hoda and Mikami discovered how hard it is to cause the general public to be come seriously interested in the details of the constitution. And without proper self-understanding, it’s even harder for one to contemplate and realize what effects the amendment of Article 9 could bring, especially from the people’s side of the spectrum.

The consultation with experts led to the creation of a series of learning media tools that could be used within the group with design being incorporated in to make the constitution look and feel ‘lighter.’ The final result of such intention brought about a redesigned and modernized version of the Japanese Constitution. With a thickness of just 3 millimeters and a weight of only 22 grams, to call this particular design a book wouldn’t be quite accurate. The two designers intended for the design to function Ii pamphlet containing all 103 sections of the Japanese Constitution that people could carry around or keep between the pages of a book they may read during their daily commute. The pamphlet form makes it super easy to spread out the entire Constitution on one large piece of paper, allowing for all the articles to be easily presented and compared. The envelope was designed to hide Japan’s national flag in the middle with the graphic of a white circle on the blue background instead of the red and white of the original flag.

Apart from the appealing outward appearance, inside, a space is provided for users to note down topics of their interest regarding the constitution. The page layout was changed from the conservative top-bottom columns of the writing to a more contemporary left-right format to attract younger readers while Roman numbers were used with major topics instead of Kanji, which is predominantly used in most official Japanese documents.

The design, which gives birth to a highly functional learning media tool used by the over one hundred students in the activity group, was the winner of 2017’s Good Design Award and received such overwhelmingly positive feedback that the pamphlet was soon in short supply. This is another interesting example of how a successful media design can help engage people in politics more easily and effectively. Turning the Constitution into reading material fit for spending time with during a train ride definitely counts as a good start.

kenponokihon.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *