HIGH RISE

THIS STRANGE-LOOKING BUILDING DESIGNED BY BUNDIT CHULASAI, MAY BE THE ANSWER TO THE CHANGES IN THE THAI WAY OF LIVING IN LATE 1990S –  EARLY 2000S IN THAILAND

รูปทรงต่างๆ ของบ้านที่เกิดขึ้นในระยะรอยต่อระหว่างทศวรรษ 1990 – 2000 ในบ้านเรา ต่างมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความหนาแน่นของประชากร เศรษฐกิจ มูลค่าที่ดิน รวมทั้งรสนิยมต่อที่พักอาศัย (ซึ่งในปัจจุบันก็ดูไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไรนัก) อาคารรูปทรงแปลกตาที่ออกแบบโดย บัณฑิต จุลาสัย หลังนี้ อาจจะเป็นอีกคำตอบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงวิถีการอยู่อาศัยของคนไทยในช่วงเวลานั้น

(For English, please scroll down)

คำถามหนึ่งที่ต้องพบต้องเจออยู่เสมอในหมู่สถาปนิกและนักออกแบบไม่ว่าจะเป็นสาขาไหนก็ตามก็คือ ความคิดสร้างสรรค์นั้นมาจากไหน? คำตอบที่เคยได้ยินมาในครั้งหนึ่งว่าความคิดสร้างสรรค์มาจาก “การแก้ปัญหา” นั้น ฟังดูไม่ค่อยน่าเชื่อเลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับกันว่ามันเป็นความจริงบางส่วน ค่าที่ว่าบรรดาสิ่งที่เรายอมรับกันว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องซ่อนคำตอบสำหรับปัญหาบางอย่างเสมอ ในระยะไม่นานมานี้ที่สภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจเข้าขั้นวิกฤติ แล้วได้ยินคนพูดกันเสมอๆ ว่าให้พยายามพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสหรือพลิกปัญหาให้เป็นความคิดสร้างสรรค์ แล้วมีความรู้สึกช่วยสนับสนุนว่าความคิดสร้างสรรค์สัมพันธ์กับการแก้ปัญหานั้น มันจริงมากขึ้นทุกที เมื่อ บัณฑิต จุลาสัย พูดถึงบ้านใหม่ของเขาที่เพิ่งสร้างเสร็จว่า เป็นบ้านที่เขาพยายามเปลี่ยนปัญหาต่างๆ ให้เป็นโจทย์ แล้วตอบโจทย์นั้นเสีย ในที่สุดก็ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น “บ้านชั้นเดียวใต้ถุนโล่ง 6 ชั้น” ทำให้รู้สึกขึ้นมาทันทีว่าบ้านหลังนี้ต้องมีอะไรที่น่าสนใจแน่นอน

ที่ตั้งของตัวบ้านอยู่ในซอยแยกย่อยจากถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเป็นบริเวณที่เรียกว่า ‘อาคารสงเคราะห์แบบบ้านจัดสรร’ เมื่อราวยี่สิบสามสิบปีก่อน ไม่นานมานี้เมื่อมีการตัดถนนเชื่อมระหว่างถนนสาทรกับถนนจันทน์ ไปจนถึงถนนพระราม 3 ทำให้ถนนเส้นใหม่นี้แบ่งพื้นที่บริเวณที่เรียกว่าอาคารสงเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ด้วยการเข้าถึงและการคมนาคมที่สะดวกขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ทำให้ที่ดินในบริเวณนี้ขยับราคาสูงขึ้นไปแบบก้าวกระโดด ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ซึ่งมีฐานะพอสมควรก็เริ่มย้ายออกไปหาทำเลที่พักอาศัยอื่นเป็นจำนวนมาก ที่ดินหลายต่อหลายแปลงที่เดิมเคยเป็นบ้านพักอาศัยกลายสภาพมาเป็นสำนักงานชั่วคราวหรือไม่ก็ถูกรื้อสร้างใหม่เป็นอาคารสูง 7 ชั้น ซึ่งเป็นขนาดความสูงสุดตามที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเอื้ออำนวยและใช้เป็นอพาร์ทเมนต์ให้เช่า จนเมื่อเกิดภาวะพลิกผันทางเศรษฐกิจเมื่อประมาณ 3 ปีก่อนทำให้การเปลี่ยนแปลงที่ว่าเริ่มหยุดชะงัก บัณฑิต จุลาสัย ซึ่งได้ซื้อบ้านหลังเล็กในพื้นที่ขนาดมาตรฐานประมาณ 22 ตารางเมตรในอาคารสงเคราะห์เมื่อเกือบสิบปีก่อนเช่นกัน ได้ตัดสินใจรื้อบ้านหลังเก่าทิ้งและสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ในที่ดินเดิม บ้านสูง 8 ชั้นหลังใหม่มีแนวคิดมาจากสภาพของที่ตั้งโครงการ ความต้องการ และงบประมาณในการก่อสร้าง
 
สถาปนิกไม่ได้คิดแบบด้วยวิธีคิดปกติ แต่เป็นการพัฒนาความคิดจากการแก้ปัญหาและตอบโจทย์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในข้อจำกัดของที่ตั้งและงบประมาณ แม้จะไม่ได้ทั้งหมดแต่ในที่สุดก็สามารถตอบปัญหาหลักๆ หลายๆ เรื่อง จนกลายเป็นการออกแบบที่น่าสนใจ บัณฑิตตีกรอบของสเปซที่สามารถสร้างได้มากที่สุดเพื่อให้คุ้มค่ากับราคาที่ดิน สร้างอาคารเต็มพื้นที่ดินด้านข้างทั้ง 2 ด้าน อาคารขึ้นสูง 7 ชั้นเปิดที่โล่งด้านหน้าติดกับถนนซอย พื้นที่ใช้สอยส่วนที่เป็นตัวบ้านถูกยกขึ้นไปอยู่บนชั้นบนสุด 2 ชั้นของอาคาร โดยสามารถเข้าถึงโดยลิฟท์ขนาดเล็กและบันไดซึ่งรวมไว้อยู่เป็น circulation core ด้านหนึ่ง ส่วนที่เป็น service quarter ถูกจัดไว้ในบริเวณชั้นลอยด้านล่างขึ้นจากบันได โดยเปิดให้พื้นที่ชั้นล่างจนถึงชั้น 6 โล่งทั้งหมดเห็นเพียงแค่โครงสร้างของคานที่เชื่อมส่วน core ของอาคาร 2 ตัวอยู่
 
 

ภายใต้ข้อจำกัดของที่ดิน ที่ตั้ง และงบประมาณ บ้านที่เกิดขึ้นจึงสามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆ ได้ เช่นในเรื่องความเป็นส่วนตัว เมื่อสภาพที่ตั้งรอบๆ ตัวบ้านเปลี่ยนไป ความเป็นส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่หาได้ยากขึ้น ในขณะที่สถาปนิกนึกถึง space ที่สามารถแก้ผ้าเดินไปเดินมาข้างบนได้โดยอิสระในขณะที่ถนนในบริเวณพลุกพล่านขึ้นทุกวัน ลักษณะที่อยู่อาศัยแบบเบาบางก็เริ่มกลายเป็นเขตที่พักอาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ การยกส่วนตัวบ้านขึ้นสูงยังช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการรับลม แก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย ซึ่งสามารถควบคุมได้จากจุดๆ เดียว รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องการต่อเติมในอนาคต ซึ่งสถาปนิกได้ออกแบบเผื่อสำหรับการขยายตัวในลักษณะลงไปด้านล่างแทนที่จะเป็นลักษณะต่อขึ้นไปด้านบนบ้านเช่นอาคารทั่วๆ ไป การต่อเติมลงมาด้านล่างสามารถทำได้โดยสะดวกกว่าเมื่อคิดถึงปัญหารบกวนจากการก่อสร้างส่วนต่อเติม เมื่อมองจากภาพรวมของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น ยังเห็นได้ว่าโอกาสในการต่อเติมนั้นมีความเป็นไปได้อย่างหลากหลายและน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงประโยชน์ใช้สอยหรือในเชิงสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะส่วนหรือทั้งอาคาร โอกาสในการออกแบบส่วนต่อหรือส่วนขยายที่ทำให้เกิดความแตกต่าง (variations) ที่น่าสนใจได้มากมายจากกรอบของตัวบ้านที่เป็นอยู่

รายละเอียดของสถาปัตยกรรมถูกตัดสินด้วยงบประมาณ โดยแรกเริ่มเดิมทีสถาปนิกสนใจที่จะใช้คอนกรีตเปลือยเป็นผิวอาคารทั้งหมด แต่เกรงว่าอาจไม่สามารถควบคุมงานคอนกรีตให้เป็นพื้นผิวที่ประณีตและมีคุณภาพดีทั่วถึงอย่างที่ต้องการได้ ในที่สุดจึงตัดสินใจใช้คอนกรีตบล็อคที่เป็นผิวลอนไม่ฉาบปูนพื้นผิวส่วนใหญ่ทั้งเป็นผิวโครงสร้างตรงไปตรงมา และทาสีหรือทำ finishing เฉพาะส่วนที่ต้องการ หลังคาเป็นหลังคาแบนซึ่งออกแบบให้เป็น 2 ชั้น (double roof) โดยใช้เสารั้ววางแล้วเอากระเบื้องลอนวางอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยเป็นฉนวนกันความร้อน เสารั้วคอนกรีตยังถูกนำมาใช้ในรายละเอียดส่วนอื่นๆ เช่น ราวระเบียงซึ่งให้ความรู้สึกคล้ายระแนงไม้

บัณฑิต จุลาสัย บอกว่าบ้านหลังนี้เป็นตัวตนของเขาอย่างแท้จริง ส่วนหนึ่งเพราะเขาเป็นคนที่พยายามเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโจทย์แล้วก็แก้โจทย์หรือหาคำตอบให้กับมัน สำหรับคนที่สนใจงานออกแบบสถาปัตยกรรมและติดตามงานของบัณฑิต บ้านหลังนี้อาจไม่มีลักษณะของการ approach งานด้วยการจัดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรมเหมือนกับหลายๆ โครงการที่ผ่านมา ที่เขามีอิสระในการคิดแล้วใช้ architectural composition เป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายสถาปัตยกรรมในขั้นแนวความคิด แต่ในงานที่มีปัญหาจากข้อจำกัดต่างๆ มากๆ เขาก็มักจะสามารถปรับเปลี่ยนข้อจำกัดเหล่านั้นมาเป็นความคิดทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจได้เหมือนกัน บ้านหลังนี้อาจไม่ใช่บ้านที่สวยงามออกจะเป็นบ้านธรรมดาๆ ด้วยซ้ำ แต่เป็นบ้านที่มีความคิดน่าสนใจเหมือนเส้นผมบังภูเขาเวลาที่เราเห็นงานที่สถาปนิกเสนอความคิดง่ายๆ แต่ฉลาดหลักแหลม

แนวคิดของบ้านยังทำให้บ้านหลังนี้สามารถใช้เป็นบ้านต้นแบบ (prototype) ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต เมื่อนั่งอยู่บนระเบียงโล่งบนชั้น 7 ของตัวบ้าน มีความรู้สึกเหมือนกับชานบ้านของไทย บัณฑิตบอกว่าบ้านหลังนี้เหมือน “บ้านไทยทางตั้ง” เมื่อลมเย็นๆ พัดมาทำให้เห็นภาพของการนั่งสนทนาสังสรรค์กันบริเวณนอกชานที่มีใต้ถุนโล่งของบ้านไทย space มีความยืดหยุ่นที่จะปรับเปลี่ยนใช้งานได้ตามความต้องการไม่ว่าสถาปนิกจะตั้งใจไว้แต่แรกหรือไม่ก็ตาม บ้านหลังนี้ได้เสนออีกความคิดหนึ่งซึ่งน่าสนใจของบ้านไทย บ้านซึ่งคนไทยอยู่ ไม่ใช่บ้านทรงไทยราคาแพงระยับซึ่งทำให้ฝรั่งอยู่ หรือบ้านไทยแท้แต่โบราณซึ่งเอาไว้ปรับประยุกต์โชว์หรือส่งเข้าประกวดโครงการเอกลักษณ์ไทย แต่เป็นบ้านที่มีชีวิตมีจิตวิญญาณแบบบ้านไทย แต่ปรับไปตามวิถีของชีวิตและสังคมแบบใหม่ในปัจจุบัน

art4d: ปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง? และสถาปัตยกรรมตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร? คุณอาจจะยกตัวอย่างสถานการณ์ในปัจจุบันหรือมองแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้
 
บัณฑิต จุลาสัย: ในขณะนี้สังคมไทยต้องการคำตอบสำคัญเรื่องหนึ่ง คือหากไม่สามารถหันกลับไปสู่รูปแบบประเพณีหรือพื้นถิ่นแบบเดิมๆ ได้ด้วยสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเปลี่ยนไปอย่างมาก ขณะเดียวกันไม่สามารถเดินไปตามแนวทางของประเทศที่พัฒนาด้วยข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยี แล้วสังคมไทยจะมุ่งหน้าไปทิศทางใดได้ สถาปนิกในฐานะหน่วยเล็กหน่วยหนึ่งในสังคม ทำหน้าที่สร้างสรรค์รูปแบบอาคารสิ่งก่อสร้างให้กับผู้คนคงต้องรับภาระหาคำตอบเรื่องนี้ด้วย เช่น การแสวงหารูปแบบบ้านที่เหมาะสมกับปัจจุบันกาลและอนาคตต่อไป บ้านหลังนี้เป็นเพียงความพยายามเสนอคำตอบดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
 
art4d: มีบ้านที่มีชื่อเสียงหลังใดบ้างที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ? อยากให้ช่วยระบุชื่อบ้านที่คุณคิดว่ามีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 ด้วย
 
บัณฑิต: บ้านของผุสดี-บุญวัฒน์ ทิพทัส กับ Maison de Verre โดย Pierre Chareau
 
 
Among architects and designers, there is a question that everyone is familiar with. Where do ideas come from? Some say that creativity comes from attempts to solve problems. It’s quite unbelievable but we have to accept that creativity is likely to be hidden within the process of problem solving. Recently, many people have been saying that we should turn crisis into an opportunity which supports the relation of creativity and problem solving. So when Bundit Chulasai told us about his recently built house in which he tried to change the problem into a question and then answer it, we suddenly felt that this house must have a lot of interesting aspects. His answer is “a vertical Thai house”.
 
Located around Narathiwatrachannakarin road which has now become one of Bangkok’s prime areas, the new eight-floor building was built to accommodate the demands and the budget. To get maximum utility, Chulasai designed a full space building completely fitting the site. The two highest floors are the functional space of this house which are accessible by a small elevator and stair case in the circulation core. Service quarter space is on the mezzanine while the space from the ground to the sixth floor is left open while only the structures that connects two cores can be seen.
 
 
With limitations of the site and budget, this house aimed to solve major problems including privacy. As the surroundings change, privacy becomes rarer. The condition was that the architect could have more privacy in his space while the nieghbourhood turns increasingly condensed. The raised house also solved ventilation and security problem which can be controlled from one centre. Future expansion can be done downwards instead of upwards. The extension can be in diverse and interesting ways. Architectural details were decided by the budget. The architect was interested in showing the roughness of concrete but he was afraid that it would be hard to get good work done. So he decided to use blocked concrete. The facade is straight forward, painted and finishing done in some parts. The flat roof is double layered for heat protection. The concrete fence also gives a feeling of wood.  Chulasai said that this house reflects his self.
 
Because he’s a problem solving man. However, despite its simple look, this house conveys smart and simple ideas which makes it the prototype of the future house. This house is neither an or a traditional Thai house which aims to entry in Thai identity competition. But, when you get into the real space, it’s a living house with a Thai spirit applied to fit a modern way of living. expensive contemporary Thai house or a traditional Thai house which aims to entry in Thai identity competition. But, when you get into the real space, it’s a living house with a Thai spirit applied to fit a modern way of living.
 
 
art4d: How the way of living change and how will the architecture of the house respond to this change, you can refer to the present situation or make a trajectory to the coming future.
 
Bundit Chulasai: At the moment, our society is facing the dilemma. We are to live back on traditional and vernacular ways because of the deteriorated environment and of the change of our way of living, and neither are we able to follow the same path of the developed country because of the limited of our economic, technological and human resources. So which direction do we go? The architect as the part of our society, must take a responsibility for our present and future habitation. This house is merely an attempt to answer that question.
 
art4d: Is there any famous house or houses that inspire you? Could you name the house you think may be the most influential house in the 20th century.
 
Chulasai: The Tiptus house by Pusadee – Boonyawat Tiptus and Maison de Verre by Pierre Chareau.
 

Originally published in art4d No.57 (February, 2000)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *