WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON ART4D WRAP UP WEEKLY
FUTURE ARC PRIZE 2020 : BRINGING NATURE BACK INTO THE CITY
ไอเดียหลักๆ ของงานประกวดแบบอาคารเขียว FuturArc Prize 2020 คือการตั้งคำถามว่าหัวเมืองใหญ่ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียจะเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติได้อย่างไร? การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในเมืองนั้นเป็นอย่างไร? และนอกจากการเพิ่มพื้นที่เขียวและระบบน้ำแล้ว สามารถเป็นอะไรอย่างอื่นได้อีกหรือไม่? สถาปนิก และนักเรียนนักศึกษาด้านสถาปัตยกรรม (ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม) สามารถส่งผลงานการออกแบบโครงการก่อสร้างอาคารเขียวที่สามารถตอบโจทย์คำถามข้างต้นนี้ได้ โดยผลงานครอบคลุมทั้งหมด 6 หมวดหมู่ ได้แก่
1) Residential – Individual Houses
2) Residential – Multiple Houses
3) Commercial
4) Institutional
5) Urban
6) Socially-Inclusive
ปิดรับการยื่นแบบในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 สามารถยื่นแบบและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง futurarcprize.com หรือ bit.ly/32Dgx1A
TUDA2019 : CITY WALK BY URBAN DESIGN
นิทรรศการประจำปีที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (Thai Urban Designers Association – TUDA) ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาฟื้นฟูเมืองให้ตอบสนองต่อการเดินเท้า งานในปีนี้ได้ภาคีพัฒนาเมืองเข้ามาร่วมจัดงานกันอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) กลุ่มระยองพัฒนาเมือง (RYCD) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลุ่ม MAYDAY รวมทั้งสถาบันการศึกษาด้านการออกแบบชุมชนเมือง และสถาปัตยกรรมผังเมือง (Urban Design) ทั่วประเทศ และอีกมากมาย โดยนิทรรศการจะจัดขึ้นระว่างวันที่ 17 – 23 กันยายน นี้ ที่ลานกิจกรรมแฟชั่นฮอล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ในขณะเดียวกัน ก็จะมีกิจกรรมเสวนาใหญ่ภายใต้หัวข้อ “ยี่สิบสี่เมืองออกเดิน – Twenty Four Citys Walk” ว่าด้วยการสร้างดัชนีเมืองเดินได้เดินดี (Goodwalk Index) จาก 24 เมืองแรกในประเทศไทย ที่นำมาสู่การประยุกต์เป็นการออกแบบเมืองเดินเท้าที่ผู้คนสามารถสัญจรได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยกิจกรรมนี้ได้ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และ อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักผังเมือง / หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ร่วมวงสนทนา ดำเนินรายการโดย ผศ.คมกริช ธนะเพทย์
จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม BACC หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และต่อด้วยการประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย ในเวลา 16.00-17.30 น.
กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถสำรองที่นั่ง และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของกิจกรรม TUDA 2019 ได้ทาง bit.ly/fb-tuda-event และ tuda.or.th
UP IN THE AIR
โรงละคร SINGHA D’LUCK Cinematic Theatre เกิดมาจากแนวคิดของกลุ่มทุนในโลกธุรกิจ IT ที่อยากสร้างการแสดงที่ดูแปลกไปจากโชว์อื่นๆ ในประเทศไทย จากแนวความคิดของการแสดงที่เน้นเรื่องการผจญภัยในโลกวรรณคดี ซึ่งนำพาความตื่นตาของเทคนิคการเหาะเหินเดินอากาศมาใช้ ARCHITECTS 49 LIMITED ผู้ออกแบบโครงการจึงเลือกใช้คอนเซ็ปต์ในการสร้างภาพมายาที่ทำให้อาคารทรงกล่องดูเหมือนลอยอยู่กลางอากาศ อ่านได้ ที่นี่
SINGHA D’LUCK Cinematic Theatre was conceived from the idea of a group of investors from the IT industry who shared a wish of bringing something new and different to the theater scene in Thailand. From the show’s concept that highlights the adventurous story in the literary world, where aerial stunts play an important part in creating an element of surprise and excitement, ARCHITECTS 49 LIMITED’s design was developed from the concept of optical illusions, which is executed into the theater’s seemingly levitating structure. Read here.
art4d BITES: PAGA ARCHITECTS
PAGA Architects เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมและงานออกแบบอื่นๆ เช่น ตกแต่งภายใน อินสตอลเลชั่น และออกแบบผลิตภัณฑ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 โดย สาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ Jakub Gardolinski การทำงานสร้างสรรค์ในหลากหลายรูปแบบเป็นสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า การสำรวจ เรียนรู้ และทดลอง และเชื่อว่าจะเป็นตัวช่วยให้ความสนใจหลักในการออกแบบสถาปัตยกรรมของพวกเขาพัฒนามากยิ่งขึ้น อ่านได้ ที่นี่
PAGA Architects is an architecture studio and involved in interior, installation and product design founded in 2016 by Savitri Paisalwattana and Jakub Gardolinski. The various kind of creative work is what they called explore, learn and experiment, what they believe helps develop core focus of their practice which is architecture. Read here.