DRAWING ARCHITECTURALLY

A COLLECTION OF DRAWINGS IN THIS COFFEE TABLE BOOK WILL TRANSPORT YOU THROUGH TO THE HISTORY OF ARCHITECTURAL REPRESENTATIONS DATED BACK TO 2130 BC

TEXT: PAPHOP KERDSUP
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)


Photo courtesy of Phaidon Press

Drawing Architecture
Helen Thomas

Phaidon, 2018
Hardback, 320 pages, 25 x 29 cm
ISBN 978-0-714-87715-0

ภาพแทนทางสถาปัตยกรรม (architectural representation) หรือถ้าจะเรียกให้เพาะลงไปกว่าเดิมที่ตัว แบบ หรือ ภาพเขียน ด้วยภาษาอังกฤษว่า architectural drawing นั้น เป็นของที่อยู่คู่กับการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยหากเราสืบย้อนกลับไปให้ไกลที่สุด จะพบการขุดพบภาพผังพื้นของพระราชวังที่ถูกสลักอยู่บนรูปปั้นหินไดออไรต์ของกษัตริย์ Gudea จากอารยธรรมสุเมเรียนในชื่อ ‘Architect with a Plan’ ในปี 1924 นั้นเป็นหลักานชิ้นสำคัญที่ช่วยเผยให้เราทราบว่าได้มีความพยายามสร้างภาพแทนความคิดนามธรรมทางสถาปัตยกรรมให้เกิดเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่เมื่อราว 2130 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้ว

สถาปนิกใช้ ภาพเขียน เหล่านี้เป็นทั้งตัวแทนและเครื่องมือในการริเริ่มและพัฒนาความคิดเรื่อยมาอยู่แทบทุกยุคสมัย (แม้จะเพิ่งเริ่มมีลักษณะที่เป็นการถ่ายทอดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่คุ้นตากันในช่วงที่สถาปัตยกรรมกอธิครุ่งเรืองขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 13 และเริ่มถูกใช้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในยุคเรอเนซองส์ก็ตาม) จนแม้แต่การเกิดขึ้นของเครื่องมือดิจิตอลในปัจจุบันก็ไม่ได้ทำให้ ภาพแทนทางสถาปัตยกรรม มีสถานะแบบเดียวกับที่ภาพวาดจิตรกรรมต้องเจอเมื่อภาพถ่ายหรือภาพยนตร์เกิดขึ้นสักเท่าไร จะเป็นก็เพียงการเปลี่ยนพื้นที่ของสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดจากพื้นผิวของวัตถุ เช่น แผ่นหิน แผ่นหนัง แผ่นกระดาษ มาเป็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือในพื้นที่ความเป็นจริงเสมือน (immersive virtual reality) อย่างที่พบได้ในปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งหากพิจารณาในแง่ความกว้างของข้อมูลแล้ว เนื้อหากว่า 300 หน้า ที่ Helen Thomas พยายามรวบรวมไว้ใน ‘Drawing Architecture’ ซึ่งครอบคลุมภาพวาดทางสถาปัตยกรรมจากทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก นั้นถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว

อย่างไรก็ดี ความกว้างที่ดูอาจจะมากจนเกินไปข้างต้น กลับทำให้เราในานะผู้อ่านรู้สึก ไม่ เต็มอิ่ม กับความคิดบางอย่างที่ Thomas พยายามนำเสนอในเนื้อหาสักเท่าไร แน่นอนว่าการคาดหวังความลึกจากหนังสือประเภท หนึ่งหน้าหนึ่งผลงาน ของสำนักพิมพ์ Phaidon นั้นเป็นสิ่งที่ดูจะเป็นไปได้ยากอยู่แล้ว แต่กระนั้นศักยภาพของประเด็นที่ Thomas ได้เริ่มอภิปรายไว้ในบทนำของหนังสือ ถึงบทบาทและความหมายโดยนัยของ ภาพแทนทางสถาปัตยกรรม ในมิติต่างๆ ทั้งที่ปรากชัดและซ่อนเร้นอยู่ ผ่านการกล่าวถึงและเปรียบเทียบภาพวาดต่างๆ ภายในเล่ม ตั้งแต่มุมมองเรื่องโลกภายนอก-ภายในของสถาปนิก เส้นและสีที่ใช้ในานะของสัญลักษณ์แทนความหมายที่กลายมาเป็นภาษาร่วมอีกภาษาหนึ่งของสถาปนิก จนถึงการแสดงให้เห็นภาพของสเปซในวิธีการต่างๆ กลับกลายเป็นส่วนที่ชวนให้รู้สึกติดตามได้มากที่สุด น่าเสียดายที่ Drawing Architecture นั้นเปิดให้ความคิดดังกล่าวได้มีพื้นที่โลดแล่น (แบบเล็กๆ จนอาจต้องใช้แว่นขยายช่วยอ่าน) บนหน้ากระดาษแค่เพียง 4 หน้าเท่านั้น

phaidon.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *