PAK KHLONG STRIKE BACK!

THE RETURN OF THE ‘HUMANS OF FLOWER MARKET’ IS HERE TO TELL US ABOUT HOW A FLOWER CAN BRING CHANGE TO PAK KHLONG MARKET WITH A TOUCH OF ITS OWN STYLE

TEXT: RATCHADAPORN HEMJINDA
PHOTO: SASAMON RATTANALANGKARN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

คนทั่วไปยังคงมองปากคลองตลาดเป็นแหล่งดอกไม้ใหญ่ของกรุงเทพฯ แม้ว่าจริงๆ แล้ว การเข้ามาจัดระเบียบโดยกรุงเทพมหานครปี 2559 จะทำให้หลายๆ คน โดยเฉพาะคนในพื้นที่กลับมาตั้งคำถามว่าอะไรคือสิ่งที่ปากคลองเป็น หากวันหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือต้องเจอกับสถานการณ์ไม่ปกติ

Photo: Buncha Lekkong

ย้อนกลับไปถึง Humans of Flower Market หรือนิทรรศการมนุษย์ปากคลองฯ นำทีมโดย ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ของกลุ่มคนที่แตกต่างซึ่งต่างก็มีบทบาทที่เอื้อเฟื้อกันในพื้นที่โดยรอบของย่านปากคลองตลาด รวมถึงความเห็นของพวกเขาที่มีต่อ “ความเป็นย่านของปากคลองตลาด” ที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากการเจริญเติบโตของเมืองและนโยบายจากภาครัฐ ครั้งนั้นมนุษย์ปากคลองได้ส่งเสียงให้คนรอบนอกรับรู้ว่า ย่านปากคลองตลาดไม่ได้เป็นเพียงตลาดขายดอกไม้ แต่คือ “ระบบนิเวศ” หรือสังคมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความรู้สึกของคนจำนวนไม่น้อย นอกจากนั้นยังมี โครงการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามมาจากการทำงานร่วมกับนักออกแบบ เช่น Flowerlab โปรเจ็คต์ห้องแล็บดอกไม้ที่ทดลองชวนคนภายในและภายนอกชุมชนมาทำความรู้จักกับ คุณป้าดอกไม้ไซเบอร์ หรือ flowerhub.space เว็บไซต์ที่ย้ายทั้งปากคลองตลาดจากออนกราวนด์ไปสู่ออนไลน์ TEDxปากคลองฯ เป็นต้น

 

มาในปีนี้ เมื่อวันที่ 25 กันยายน – 11 ตุลาคมที่ผ่านมา ปากคลองตลาดกลับมาคึกคักและโอบล้อมไปด้วยหมู่มวลคนรักดอกไม้อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลง เบื้องหลังความสดใสของดอกไม้ที่แบ่งบานในย่านปากคลองตลาดครั้งนี้ คือการร่วมมือกันระหว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคนในย่าน นำทีมโดย มนุษย์ปากคลอง (Humans of Flower Market) และ Splendour Solis กลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กฎบัตรแห่งชาติ และกฎบัตรรัตนโกสินทร์ พวกเขาเชื่อว่า sense of place หรืออัตลักษณ์ของปากคลอง และมนุษย์ปากคลอง คือสีสันและชีวิตที่ทำให้ย่านปากคลองไม่มีวันตาย!

Photo: Buncha Lekkong

ปากคลอง Strike Back! คือกิจกรรมที่พาคนเข้ามาในพื้นที่ด้วย mission บางอย่างที่เข้ากับจริตของคนรุ่นใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวและดึง user ใหม่ๆ เข้ามาในย่าน เริ่มต้นจากไปหยิบแผนที่ที่ร้าน Sunflower Store ตรงถนนอัษฎางค์ เล่น Flower Quiz (ในสมาร์ทโฟน) เป็นกิมมิคเล็กๆ ที่บอกว่าคุณคือดอกไม้ชนิดอะไร ก่อนออกมาตามหาดอกไม้ (ของคุณ) ที่ซ่อนอยู่ตามร้านค้าหรือซอกซอยกับ Flower Tracking: Hide and Seek in Flower Market ด้วยการสแกน QR Code และปรากฏเป็น interactive filter ภาพดอกไม้เสมือนจริงที่เติมเต็มพื้นที่ว่างเปล่าด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ที่ออกแบบโดยทีม Splendour Solis

Photo: Buncha Lekkong

นอกจากการตามหาดอกไม้ในโลกเสมือนแล้ว งานนี้ยังชวนให้เราออกไปตามหา มนุยษ์ปากคลอง (Humans of Flower Market) ผู้ซ่อนตัวอยู่ทั่วปากคลองตลาด โดยเป็นผลงานของ นุ้ย–ศศมน รัตนาลังการ นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการภาพถ่ายบุคคลที่มีบทบาทในย่านปากคลองตลาด ซึ่งนับได้ว่าเป็นแก่นสำคัญของงานครั้งนี้เลยก็ว่าได้ เป้าหมายของ ปากคลอง Strike Back! ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างการรับรู้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในสิ่งที่ปากคลองเป็นในฐานะตลาดดอกไม้ แต่คือการเน้นย้ำให้คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่า “มนุษย์” ต่างหาก ที่คือหัวใจสำคัญในฐานะผู้ขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางให้ปากคลองดำรงอยู่ต่อไป

fb.com/manuspakkhlong

1 Comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *