PDM BRAND

(left to right) Doonyapol Sichan, Manrat Suensilpong | Photo: Ketsiree Wongwan

ART4D INVITES PDM BRAND, ONE OF THE MOST WELL-KNOWN THAI BRANDS OF HOUSEHOLD PRODUCTS, TO DISCUSS ITS DEVELOPMENT TRAJECTORY FROM DESIGNING AN ORDINARY PLASTIC MAT TO THE RECENT COLLABORATION WITH LEADING DESIGNERS AND BRANDS AND THE FOLLOWING PROJECTS IN THE FUTURE

TEXT: PRATARN TEERATADA
PHOTO COURTESY OF PDM BRAND EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

แมนรัตน์ สวนศิลป์พงศ์ และ ดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง PDM แบรนด์ที่เปลี่ยนโฉมเสื่อไทยบ้านๆ ให้เป็นงานดีไซน์โมเดิร์นที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำตลาดออนไลน์ จุดเด่นของแบรนด์ PDM อยู่ที่งานสื่อสารการตลาดที่แข็งแรงประกอบกับทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการ collab กลับแบรนด์ชั้นนำอื่นๆ ที่โดดเด่น art4d ชวนมาร่วมเรียนรู้โมเดลธุรกิจและกลยุทธ์การสื่อสาร การสร้างแบรนด์ที่เริ่มจากเพื่อนฝูงและแวดวงนักออกแบบจนถึงวันนี้ เสื่อและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ PDM กำลังติดลมบนและมีอนาคตที่สดใสงดงาม

Photo: Ketsiree Wongwan

Photo: Ketsiree Wongwan

art4d: PDM มีกลยุทธ์การทำแบรนด์อย่างไร

PDM: PDM ใช้การออกแบบเพื่อกำหนดทิศทางของแบรนด์ ผสมกับวิธีการทำงานในแบบ Start Up อยู่หลายส่วน เราโฟกัสที่การพยายามพัฒนาดีไซน์ของสินค้าให้ดีขึ้น สร้างตัวเลือกในการแต่งบ้านให้คนไทยได้ใช้ของดีระดับเดียวกับแบรนด์ยุโรป และการนำเสนอแบรนด์ให้โดดเด่นในตลาดออนไลน์ เป้าหมายคือผู้บริโภคที่อยากให้บ้านสวยขึ้น ชอบแต่งบ้านโดยไม่ได้จำกัดอายุกลุ่มเป้าหมาย 

ที่ผ่านมาเราเรียนรู้ว่าการสื่อสารสำคัญมากจริงๆ เรานำเสนอผ่านทั้งการให้ความรู้ แนะนำให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของศาสตร์การออกแบบ ทีม PDM พยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสารออนไลน์หลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนจดจำ PDM ในฐานะแบรนด์ของตกแต่งบ้านที่รวมกลุ่มคนที่อยากให้บ้านสวย ดูแลง่าย ใช้ดีไซน์บางอย่างเข้าไปช่วยแก้ปัญหาแล้วก็ให้ความรู้สึกเหมือนภาพจำเดียวกับที่ลูกค้าเคยเห็นบ้านสวยๆ ใน Pinterest หรือแมกกาซีนแต่งบ้านแนวดีไซน์ต่างประเทศ 

วิธีการทำงานแบบ Start Up คือความเร็ว การลองผิดลองถูก ถ้าใช่ค่อยไปต่อ ถ้าไม่ใช่อาจจะลองอีกทีแล้วค่อยตัดสินใจใหม่ เราลองผิดลองถูกมาหลายแบบจน PDM มีฐานแฟนที่สามารถวัดผลความชื่นชอบในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้โดยที่ยังไม่ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีทีมหลังบ้านและผู้ผลิตที่แข็งแกร่ง และการดูแลหลังบ้านสม่ำเสมอ ทำให้สามารถสร้างการซื้อขายแบบ Pre-Order ได้ค่อนข้างลงตัว สินค้าไม่ต้องสต๊อกมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับมิติความยั่งยืน การขายแบบ Pre-Order ทำให้เราผลิตสินค้าเท่ากับจำนวนที่คนต้องการเป็นเจ้าของ ไม่มีของเหลือ ส่งผลให้ไม่ต้องลดคุณค่าของผลิตภัณฑ์โดยการทำโปรโมชั่น หรือเซลล์ทิ้งตลอดเวลา แล้วลูกค้าก็ได้สินค้าที่มีดีไซน์ที่ดี ราคาที่ดีมาก เพราะไม่มีบวกค่าวางห้าง ตัดค่าคนกลาง กำไรไม่ต้องมากเพราะหลังบ้านไม่ได้เกิดการบริหารจัดการหลายขั้นตอน เราคิดว่าทิศทางนี้น่าจะดีที่สุดกับ PDM ในปัจจุบัน

Photo: Ketsiree Wongwan

ถ้าพูดให้เห็นการทำงานคือเราพยายามนำเสนอดีไซน์ที่ดี สื่อสารให้ชัดเจน ที่สำคัญต้องสร้างสรรค์

สวยงาม ครบถ้วน หลังจากนั้นก็รับออร์เดอร์ พอได้จำนวนก็เริ่มผลิตเท่าที่มีการสั่งซื้อ ลูกค้าสามารถติดตามความคืบหน้าได้ตลอด พอสินค้าเสร็จก็ส่งถึงหน้าบ้านตามระยะเวลาที่สัญญาไว้ตั้งแต่ก่อนเกิดการซื้อขาย ในภาพกว้างลูกค้าก็เกิดความเชื่อมั่นตามมา 

อีกอย่างที่สำคัญคือความที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของโรงผลิตแต่ใช้การพาร์ทเนอร์กับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายโรงงาน ทำให้ที่มาของโปรดักต์มีความหลากหลาย ไม่ได้ถูกการผลิตกำหนดข้อจำกัดไว้ 

art4d: อยากให้แนะนำงานที่น่าสนใจจากการ collab กับหลายๆ สตูดิโอ ว่ามีอะไรบ้าง

PDM: PDM มีทีมดีไซน์ภายในออฟฟิศที่ค่อนข้างแข็งแรงทั้งในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์และการสื่อสาร เพราะฉะนั้นมุมมองของการ Collab จะมีจุดประสงค์การร่วมงานของแต่ละโปรเจ็คต์แตกต่างกันออกไป

ถ้าเป็นงานออกแบบเพื่อ PDM โดยตรงเราจะเน้นไปที่ความเชี่ยวชาญและทิศทางที่เป็นเอกลักษณ์ของดีไซเนอร์ หรือ Studio นั้นๆ ทั้งจากในไทยและต่างประเทศ บางท่านเชี่ยวชาญงานคราฟท์ในขณะที่อีกคนอาจจะมีความถนัดรูปแบบการผลิตในระบบอุตสาหกรรม

เรามีโอกาสร่วมงานกับสตูดิโอที่มีประสบการณ์ทำงานสูง ไม่ว่าจะเป็น DOT Design Studio, ease studio, Jacob Jensen Design, Kaniit.Textile, Line Design Works, Sini Henttonen, SRINLIM, Studio KN, THINKK Studio, Tong Ren และอีกมากมาย

PDM x Atelier2+

หลายครั้งการ Collab ผลงานอาจจะไม่ได้ออกมาเป็นสินค้าเสมอไป PDM มองว่าการสื่อสารทำแบรนด์สามารถทำได้หลายรูปแบบเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เกิดการจดจำ ไม่ว่าจะเป็น Atelier2+, Pichai Kaewvichit, Suthipa kamyam (Artist) , 56thStudio ก็เคยช่วย PDM นำเสนอประสบการณ์ให้กับแฟนๆ ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปและทำให้ดีไซน์กลายเป็นเรื่องที่จับต้องง่ายมากขึ้นเรื่อยๆ 

ในส่วนของการ Collab กับแบรนด์ เรามองว่าเป็นการขยายฐานกลุ่มลูกค้าของกันและกัน พูดง่ายๆ คือรวมกันแล้วต้องไปข้างหน้าทั้งคู่ แฟนเค้ารู้จักเราในขณะที่แฟนเพจเราก็เห็นมิติใหม่ของแบรนด์เพื่อนๆ มากขึ้น

Sonar, PDM x Kenkoon

BOUTON, PDM x Kenkoon x Sini Henttonen

แก่นของการทำงานยังเหมือนเดิมคือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาการ Collab ต้องดีจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น Carnival, Mobella, Yothaka ไปจนถึงแบรนด์ระดับโลกอย่าง Bang & Olufsen ก็มีส่วนช่วยให้กันและกันเดินไปข้างหน้าพร้อมกับความสนุก ความท้ายทายใหม่ ที่สำคัญเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเต็มๆ

BeoplayA9, PDM x Bang & Olufsen

art4d: PDM มีแผนในอนาคตอย่างไรบ้าง

PDM: ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาสินค้าให้ครบไอเทมในบ้าน ดูว่าทิศทางไหนน่าสนใจ นำเสนอสิ่งที่เรามองว่าดีขึ้นกับคนชอบแต่งบ้านอย่างต่อเนื่อง ทางทีมสนใจการใช้ Data Science เข้ามาช่วยในการดูแลลูกค้า ระบบหลังบ้านที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้คนน้อยลงเพื่อลดความผิดพลาด

โปรเจ็คต์ที่กำลังจะทำเร็วๆ นี้คือ PDM Odyssey ให้ชื่อโปรเจ็คต์นี้เพราะมองว่าเป็นการผจญภัยร่วมกันของ PDM และแฟนๆ ภาพรวมคือคล้ายกับโมเดล Kickstarter เป็นการลงทุนร่วมระหว่างผู้เสนอไอเดียกับลูกค้าที่ต้องการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

Photo: Ketsiree Wongwan

PDM ตั้งใจจะทำโปรเจ็คต์นี้กับของแต่งบ้านที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงมากๆ ตั้งแต่เก้าอี้พลาสติกไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างพัดลม ซึ่งในภาพใหญ่วิธีการแบบนี้น่าจะทำให้ PDM เติบโตในทิศทางของการเป็น Platform สำหรับคนที่สนใจของตกแต่งบ้านที่ชื่นชอบดีไซน์อย่างเต็มรูปแบบ ทุกคนมีโอกาสช่วยผลักไอเดียผลิตภัณฑ์ ที่มีต้นทุนในการสร้างสูง ให้เกิดได้จริงในตลาดอย่างรวดเร็ว

pdmbrand.com
facebook.com/PDMBRAND

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *