WHEN COOKING WAS A CRIME: MASAK IN THE SINGAPORE PRISONS, 1970S-1980S

RELIVE THE MEMORIES BEHIND THE KITCHENS OF PRISONERS IN SINGAPORE DURING THE 1970S – 1980S WITH THIS PHOTO BOOK THAT PORTRAYS THE MASAK OR THE PRISONER’S SECRET KITCHEN SMUGGLING OPERATION THROUGH THE PHOTOGRAPHS OF FOOD AND KITCHEN UTENSILS WHICH CELEBRATE THE FREEDOM (OF TASTE) OF THOSE WHO ARE NOT FREE

TEXT: PRATARN TEERATADA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

(For English, press here)

Research and Text by Sheere Ng
In Plain Words, 2020

176 x 250 x 10 mm
128 pages
Soft cover with plastic sleeves
ISBN 978-9-811-48239-7

มีข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ดีๆ นั่นมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผู้สร้างประสบความยากลำบากจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตมากไปกว่ามีความเป็นอยู่ที่สุขสบายแบบคนทั่วไป ลองนึกถึงงานยุคแรกๆ ของวงคาราบาว วงโอเอซีส สมัยที่ยังยากจนอยู่ หนังทุนต่ำยุคแรกแรกของ จาง อี้โหมว หรือกระทั่งภาพวาดของ แวนโก๊ะห์ เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้รวมประสบการณ์ ความทรงจำของเหล่านักโทษที่ถูกจองจำในคุกที่สิงคโปร์ยุค 1970s – 1980s พวกเขาเรียกปฏิบัติการครั้งนั้นว่า MASAK หรือยุทธการลักลอบทำครัว นักโทษเหล่านี้ส่วนใหญ่จะติดคุกในคดียาเสพติดและการเข้าร่วมกับแก๊งอาชญากรรม ในวัฒนธรรมชาวเอเชีย อาหารคือสัญลักษณ์แห่งความรัก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่บ้านเมืองสุขสงบและสมบูรณ์พูนสุข แต่ในบรรยากาศของเรือนจำนั้น การได้แอบจิ๊ก ข้าวของ วัตถุดิบ และนัดแนะกันมาทำอาหารกินโดยไม่ให้ผู้คุมจับได้นั้น มันคือการเฉลิมฉลองอิสรภาพชัดๆ

ชีวิตในคุกนั้นมีอาหารเสิร์ฟสามมื้อก็จริงอยู่ ทว่าการที่ต้องกินอาหารเย็นชืดมีแต่เมนูซ้ำๆ กันทุกวันนั้น มันก็คือการลงทัณฑ์ซ้ำอันน่าทรมานดีๆ นี่เอง ยุทธการ MASAK จึงกินความถึงการขบถ ลักขโมย ครอบครองของต้องห้าม ทำลายทรัพย์สมบัติของราชการ เพื่อนำมาประกอบอาหารท้องถิ่นที่พวกเขาคิดถึง โดยการ mix and match วัตถุดิบเท่าที่จะค้นพบได้จากห้องครัว ห้องพยาบาล และโรงฝึกงาน ในช่วงเวลากลางวัน อีกนัยหนึ่ง มันหมายถึงการประกาศอิสรภาพ ด้วยการทำของร้อนๆ และรสชาติจัดจ้านเลียนแบบอาหารท้องถิ่นที่หากินไม่ได้ในเรือนจำ บางครั้งศักยภาพของพ่อครัวยังทะลุเพดานไปสู่การทำเค้กวันเกิด การเล่นเกมไปจนถึงการอุปมาอุปไมยในเรื่องเพศ

ทีมสร้างสรรค์หนังสือเล่มนี้ ประกอบไปด้วย Sheere Ng นักเขียน นักวิจัย ผู้สนใจอาหารและวัฒนธรรมชายขอบ เป็นผู้ตระเวนสัมภาษณ์อดีตนักโทษที่ติดคุกอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวและนำมา reproduce ใหม่และถ่ายทอดเป็นภาพถ่ายโดยฝีมือของ Don Wong พร้อมออกแบบจัดทำรูปเล่มโดย Practice Theory จนออกเป็นหนังสือรวมภาพถ่ายอาหารและอุปกรณ์การทำครัวจากคำบอกเล่าและความทรงจำของนักโทษในยุค 1970s – 1980s

มันคือช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตของผู้คน ที่อบอวลไปด้วยมิตรภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และความโหยหาถึงเสรีภาพ

shop.inplainwords.sg

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *