VISUAL COMMUNICATION DESIGN PROGRAM, SILPAKORN UNIVERSITY

Degree show2024-feature

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เสนอผลงานวิทยานิพนธ์ดีไซน์ 8 เรื่องจากนักศึกษา

(For English, press here)

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นหลักสูตรซึ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศด้านการคิด วิเคราะห์และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับหลักการออกแบบนิเทศศิลป์ เพื่อสร้างผลงานออกแบบที่มีประสิทธิภาพ เต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตอบสนองความต้องการของตลาด ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของชาติให้เติบโต ควบคู่กับการปลูกฝังจรรยาบรรณ จิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นักศึกษาสามารถเลือกปฏิบัติโครงการศิลปนิพนธ์ในขอบเขตที่หลากหลายดังต่อไปนี้ 

  • หมวดกราฟิก เช่น การออกแบบอัตลักษณ์ การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบภาพข้อมูล การออกแบบตัวอักษร และโมชันกราฟิก เป็นต้น 
  • หมวดสื่อดิจิตอลและสื่อใหม่ เช่น การออกแบบแอปพลิเคชัน การออกแบบประสบการณ์ และการออกแบบสื่ออินเทอร์แอคทีฟ เป็นต้น 
  • หมวดสื่อสารการตลาด เช่น การออกแบบโฆษณา การออกแบบอีเวนต์ และการออกแบบคอนเทนต์ เป็นต้น 
  • หมวดภาพประกอบ  เช่น ภาพประกอบ การออกแบบคาแร็กเตอร์ และคอนเซ็ปต์อาร์ต เป็นต้น 
  • หมวดภาพนิ่งและภาพยนตร์ เช่น การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ มิวสิควิดีโอ และอนิเมชัน เป็นต้น

 

Degree show 2024

ภาพยนตร์อนิเมชันตัวอย่าง ‘SUMMER ๒๕๔๕’
โดย อรณิชชา โลกวิภาส 


SUMMER 2545 เป็นอนิเมชันแนว Coming-of-age ผ่านช่วงเวลาแห่งความเยาว์วัยในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนเล่าถึงเรื่องราวการ เติบโตของเด็กสาวจากเมืองกรุงที่บังเอิญพบเข้ากับเด็กสาวที่มีท่อนล่างเป็นนกกิ่งกะหร่าในป่าหลังหมู่บ้านของคุณยาย คนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อมิตรภาพ ความฝันของเพื่อนต่างสายพันธุ์ก็ได้พัฒนากลายเป็นสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งภายใต้ สถานการณ์ที่ยุ่งเหยิง เรื่องราวของพวกเธอสองคนจะเป็นอย่างไรต่อไป

นักศึกษา: อรณิชชา โลกวิภาส
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/Dt_oBO3oVUQ
อีเมล: trufflesoup.2002@gmail.com

 

Degree show 2024

ภาพยนตร์อนิเมชัน 2 มิติ ‘ห่างไกล’
โดย ภัทธรินทร์ สีหานาท

ภาพยนตร์อนิเมชันที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลง หากฉันรู้มาก่อน – TRYST นำมาตีความและเล่าเรื่องราวขึ้นมาใหม่ภายใต้แนวคิด Nostalgia เป็นเรื่องราวของนักศึกษาที่มาเรียนไกลบ้าน สิ่งแวดล้อมในเมืองต่างๆ ทำให้หวนคืนนึกถึงอะไรที่บ้านเกิดของตัวเอง ซ้อนทับลงไปในบรรยากาศชีวิตประจำวันที่ตัวละครได้ผ่านไปผ่านมา

นักศึกษา: ภัทธรินทร์ สีหานาท
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/gPHct2fWUAI
อีเมล: fince2529@gmail.com

 

Degree Show2024

การออกแบบสื่อเพื่อสร้างประสบการณ์ ‘เทศกาลหยวนเซียว ตลาดน้อย’
โดย วิศัลยา จิตมาลีรัตน์

การออกแบบสื่อสร้างประสบการณ์ภายใต้งานเทศกาล Love at First Light ตกหลุมรักใต้แสงโคมไปกับเทศกาลหยวนเซียว ตลาดน้อย พบกับความฉูดฉาด และประสบการณ์แปลกใหม่ผ่าน interactive media ทั้งเว็บไซต์ สื่อ AR และโมชันที่จะปลุกสีสันของเทศกาล หยวนเซียวให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง พาผู้คนย้อนรอยเส้นทางของโคมจีนอันเป็นเอกลักษณ์ของตลาดน้อย สร้างประสบการณ์ด้วยสื่อผสม ทั้งรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ ร่วมกับการออกแบบของที่ระลึก โดยคงกลิ่นอายประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นเก่าคิดถึง กับความทันสมัย เพื่อเชิญชวนให้คนรุ่นใหม่ได้ค้นหา

นักศึกษา: วิศัลยา จิตมาลีรัตน์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/VMK_2RQg0Zw
อีเมล: visulya.j@gmail.com

 

Degree Show2024

การออกแบบสื่อเชิงปฏิสัมพันธ์ ‘เส้นตาย’
โดย ฉันฉาย กสิวงศ์สุนทร

ทุกคนรู้จัก work life balance แต่มักทำไม่สำเร็จ เพราะยังติดค่านิยมที่ต้อง productive อยู่ตลอดเวลา นี่คือสื่อเชิงปฏิสัมพันธ์ visual novel เทคนิคภาพ 2 มิติ ผสม 3 มิติ ที่จะทำให้คุณรู้ว่า ไม่ว่าจะวางตารางชีวิตไว้ดีแค่ไหน ชีวิตก็ไม่อาจเป็นไปตามที่ คาดหวังได้ทั้งหมด ผู้เล่นรับบทเป็นนักวาดฟรีแลนซ์ เมื่อส่งงานไม่ทันกำหนด คุณจะตายและย้อนเวลากลับไปทำงานเรื่อยๆ วิธีไปสู่ตอนจบคือเลือกสิ่งที่ต้องทำในปฏิทิน ให้ผ่านเส้นตาย ไม่ให้งานพัง และไม่ให้ชีวิตพัง

นักศึกษา: ฉันฉาย กสิวงศ์สุนทร
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/ZMTlKiNmIIg
อีเมล: chanchay.work@gmail.com

 

Degree show 2024

การออกแบบเพื่อสื่อสารและสร้างประสบการณ์สำหรับงาน ‘Phra Nakhon Sound Music Festival’ 

โดย กฤติลักษณ์ โหมดตาด

โครงการออกแบบสื่อสารและสร้างประสบการณ์สำหรับงานเทศกาลดนตรีไทยร่วมสมัย ‘Phra Nakhon Sound Music Festival’ งานเทศกาลดนตรีที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ได้ทำความรู้จัก และตกหลุมรักกับดนตรีไทยร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด ‘Phra Nakhon Soundscape’ บอกเล่าเรื่องราว ของดนตรีและสถานที่เพื่อสร้างอรรถรสในการเสพดนตรีไทยร่วมสมัยผ่านงานออกแบบภาพ กราฟิก และสื่อภายในงานที่จะทำให้การฟังดนตรีไทยครั้งนี้ มีมนต์เสน่ห์กว่าครั้งไหนๆ

นักศึกษา: กฤติลักษณ์ โหมดตาด
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/_AACO_r0F2Y
อีเมล: kittilak.m@gmail.com

 

มิวสิควิดีโอเทคนิคแอนิเมชัน 2 มิติ เพลง ‘ยินดีที่ได้พบเธอ’ ของศิลปิน ‘Stoondio’ 

โดย สิตานัน เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

ในปัจจุบันโลกได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วจนทำให้คนเราต้องใช้ชีวิตเร็วให้ทันโลก จนบางครั้งพวกเขาอาจจะหลงลืม หรือไม่เห็นสิ่งสำคัญรอบตัวที่ตนเองมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเพื่อนหรือสัตว์ และกว่าพวกเขาจะรู้ตัวว่าพวกเขามีสิ่งที่ดีรอบตัวอยู่ ก็อาจจะสายเกินกว่าที่จะได้ใส่ใจกันให้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการสร้างสรรค์มิวสิควิดีโอเพลง ‘ยินดีที่ได้พบเธอ’ ของศิลปิน ‘Stoondio’ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับชมวิดีโอเพลงนี้ได้กลับไปนึกถึงสิ่งสำคัญรอบตัวที่ทำให้พวกเขามีความสุขขึ้นมา

นักศึกษา: สิตานัน เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/WGR6S1ehaZ4
อีเมล: khamuu28@gmail.com

 

Degree show2024

การออกแบบภาพประกอบหนังสือ ‘หลบบ้านเรา’ 

โดย อัญชิสา เกษม

โดยปกติแล้วคนเรามักหาประสบการณ์ใหม่ ๆ จากข้างนอก น้อยคนนักที่จะสังเกตสิ่งรอบตัวและมองเห็นว่าบ้านของตนเองดีที่สุด จึงต้องการออกแบบหนังสือบันทึกการเดินทางกลับบ้าน พร้อมนำเสนอจังหวัดสุราษฎร์ธานีในมุมมองที่เป็นมากกว่าแหล่งท่องเที่ยว ผ่านเรื่องราวการกลับบ้านของ ‘ข้าวหอม’ เด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยความทรงจำ ความสนุกสนาน และความรักของครอบครัวที่อบอุ่นหัวใจ ด้วยเทคนิคสีน้ำและการเขียนการ์ตูนแก๊ก

นักศึกษา: อัญชิสา เกษม
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/JHC8Apn_FWw
อีเมล: aunchisa.kasem01@gmail.com

 

Degree show2024

การออกแบบคอนเซ็ปต์อาร์ตสําหรับเกม ‘The Mystical of Herbal Alchemy’ 

โดย ณิชาภา ตันเจริญ

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ผู้คนมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันและมีสมุนไพรเป็นทางเลือกใน การรักษาที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเทียบเท่ากับยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันคนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรน้อยลงมาก จึงอยากให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรผ่านการออกแบบคอนเซ็ปต์อาร์ต สำหรับเกมเพื่อให้สมุนไพร เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพร และการแปรรูปสมุนไพร เพื่อใช้ในทางการรักษาผ่านการออกแบบคอนเซ็ปต์เกมและตัวละคร

นักศึกษา: ณิชาภา ตันเจริญ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://youtu.be/ITAr5Zehx7k
อีเมล: nichapha.tancha@gmail.com

 

decdna.su.ac.th
decorate.su.ac.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *