UNSUI

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและงานออกแบบในญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของศาสนาพุทธนิกายเซนและข้อเขียนถึงสัจธรรมใน ‘เมฆาวารี’ โดย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ุ

TEXT: KITA THAPANAPHANNITIKUL
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ุ
ทวีวัฒน์การพิมพ์, 2567
24 x 16.5 cm
320 หน้า
ปกแข็งเย็บกี่สันกาว หุ้มแจ็คเก็ต
ISBN 978-616-612-304-3

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

อาจบอกได้ยากว่าหนังสือเล่มนี้ควรจะอยู่ในหมวดไหน อาจเป็นหนังสือศิลปะ อาจเป็นหนังสือวิชาการ หรือแม้แต่จะเป็นหนังสือธรรมะก็ควรค่าเช่นกัน ‘เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และสวนญี่ปุ่น ในมุมของเซน’ คือหนังสือที่เขียนโดย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ุ อาจารย์ นักวิชาการ นักเขียน ผู้เคยฝากผลงานหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นไว้หลายต่อหลายเล่ม กำกับศิลป์และเทคนิคงานพิมพ์โดยจิรายุ พงส์วรุตม์ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาหลักๆ อยู่ที่การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและงานออกแบบในญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นจากปรัชญาแนวคิดของศาสนาพุทธนิกายเซน จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เราอนุมานได้ว่าหนังสือเล่มนี้ทำงานในสองรูปแบบ หนึ่งคือการอธิบายว่ารากฐานของ ‘ความเป็นญี่ปุ่น’ ที่เราสัมผัสได้ในศิลปะและการออกแบบนั้นมีที่มาที่ไปทางความคิดอย่างไร ในส่วนที่สองเองนั้นอาจจะน่าเสียดายที่เราไม่สามารถนำมาขยายความได้ เพราะสัจธรรมนั้นเป็นเรื่อง ‘ปัจจัตตัง’ คือเป็นเรื่องเฉพาะตัวและไม่รู้จะบรรยายอย่างไร จึงขอเว้นว่างไว้โดยมิได้กล่าวถึงเพื่อเปิดพื้นที่สำหรับให้ผู้อ่านทุกท่านจะได้ตีความหนังสือเล่มนี้ในแบบฉบับของตัวเอง

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

ภาพรวมเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้จะมุ่งไปที่การอธิบายทุกองค์ประกอบในความสัมพันธ์ระหว่างเซนและประเทศญี่ปุ่นอย่างละเอียดโดยเฉพาะในด้านวิชาการ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวิถีปฏิบัติอันเป็นสิ่งจำเป็นในการพิจารณาถึงผลลัพธ์ทางกายภาพที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และสวน เพราะการทำความเข้าใจศิลปะเซนและเซนเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ วัดได้สะท้อนถึงวิธีปฏิบัติ งานศิลปะเองก็สะท้อนจิตของผู้สร้าง ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของ สุญญตา หรือ จิตว่าง ที่เป็นรากฐานของ โยะฮะคุ (Yohaku) หรือความงามที่เกิดจากพื้นที่ว่าง ซึ่งก็แสดงออกผ่านทั้งภาพเขียนจิตรกรรมหมึกดำอันมักทิ้งหนึ่งมุมของรูปให้เต็มไปด้วยที่ว่าง รวมไปถึงสวนทิวทัศน์แห้งที่แทนกรวดขาวแห้งในฐานะความ ‘ว่าง’ ร่วมกับหินและต้นไม้ในฐานะความ ‘มี’ เป็นต้น

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

แม้จะเนื้อหาที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ แต่ด้วยลักษณะของการเล่าของผู้เขียนที่อธิบายเนื้อหาทุกส่วนอย่างละเอียดและไม่รีบร้อนก็ได้ค่อยๆ ก่อร่างความเข้าใจในโครงข่ายของความสัมพันธ์อันซับซ้อนให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งการที่พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้ากระดาษในส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นถูกจัดสรรให้เป็นที่ว่าง ทำให้แม้จะมีตัวอักษรเยอะแต่ก็จัดว่าเป็นหนังสือที่อ่านค่อนข้างสบาย อีกทั้งยังมีการใช้รูปภาพและ drawing ในการช่วยอธิบายความคิดบางอย่างที่ตัวอักษรเพียวๆ อาจสื่อสารได้ไม่ครบถ้วน อาทิ ทั้งรูปตัดของวัดเท็นริวจิ (Tenryu-ji Temple) ที่ยาวตั้งแต่ตัวพื้นที่วัดไปถึงภูเขาอะระชิมะ (Arashiyama) ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดในการยืมทิวทัศน์ของธรรมชาติ หรือรูปภาพของก้อนหินทางเดินในสวนที่เรียงแตกต่างกันสามแบบอันให้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากการเขียนพู่กันแบบ ชิน เกียว โส (Shin Gyō Sō) อันไล่ลำดับจากความมีระเบียบมากที่ไปสุดไปยังการแสดงออกทางความรู้สึกที่มากที่สุด บางครั้งภาพเหล่านี้ก็พาผู้อ่านอย่างเราออกไปไกลกว่าเนื้อหาที่ตัวอักษรต้องการสื่อสาร อดคิดไม่ได้ว่าหนังสือเล่มนี้เผลอๆ กำลังทำหน้าที่เป็นปริศนาธรรมหรือ โคอัน (Koan) ในตัวเองอยู่หรือเปล่า

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

แนวคิดต่างๆ ของเซนนั้นได้ก่อให้เกิดความงามที่มีลักษณะเฉพาะตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรากฐานความคิดในการลดตัวตน และ ‘วัฒนธรรมของมุ (無)’ หรือ ‘วัฒนธรรมของความไม่มี’ ตัวอย่างที่เด่นชัดคือการชุมนุมชาอันเกิดจากการยกระดับกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้กลายเป็นศิลปะและเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ นำมาสู่สุนทรียภาพแบบวะบิซะบิ (Wabi-Sabi) หรือความงามของความไม่สมบูรณ์แบบอันปรากฏทั้งในถ้วยชากาน้ำที่บุบเบี้ยว รวมไปถึงการสร้างเรือนชาในรูปแบบสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก ที่มีวัสดุหลักคือผนังดินหยาบ ไม้ไผ่ กระดาษอันเป็นวัสดุที่ไร้มูลค่าที่สุดแต่ถูกปฏิบัติอย่างใส่ใจที่สุด 

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

ไม่เพียงแค่เรือนชา แนวคิดของเซนอีกหลายอย่างได้ตกทอดมายังแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมและสร้างอัตลักษณ์ที่เห็นได้ทั่วไปแม้ในช่วงเวลาปัจจุบัน อาทิ การผนวกเอาทั้งสถาปัตยกรรมและธรรมชาติเป็นเรื่องเดียวกัน การปฏิเสธการมองโลกแบบทวิลักษณ์ ทำให้ธรรมชาติและสิ่งเทียมธรรมชาติมิใช่คู่ขัดแย้งกันตามการรับรู้ทั่วไป หนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจคือแนวคิดด้านช่องว่างและรอยต่ออย่าง ‘มะ (間)’ อันหมายถึง พื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่างสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่งที่ครอบคลุมความหมายทั้งในด้านพื้นที่และเวลา มะ ปรากฏทั้งในฐานะความเงียบที่ถูกใช้ในบทสนทนาไปจนถึงช่วงเวลาที่คันธนูกำลังจะถูกปล่อย มะ เองก็เป็นแนวคิดที่พบได้ในสถาปัตยกรรมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น  Church of the Light (1999) โดย Tadao Ando ที่สร้างไม้กางเขนขึ้นจากความสัมพันธ์ของแสงและช่องว่างระหว่างกำแพง หรือ นิทรรศการ Ma: Space/Time in Japan Exhibition (1978-1981) โดย Arata Isozaki ที่เป็นการสำรวจสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นอย่างละเอียดเพื่อคลี่ให้เห็นความหมายอันซับซ้อนของคำว่า มะ ที่ทำงานในทุกส่วนสถาปัตยกรรมตั้งแต่องค์ประกอบ การรับรู้ พื้นที่ และเวลา

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซนเมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นบทแรกด้วยคำถามว่า ‘เซนคืออะไร’ พร้อมทั้งจบบทสุดท้ายด้วยคำถามเดียวกัน สาระสำคัญคือการที่เซนนั้นเป็นที่หาเจอได้ในชีวิตประจำวันมากกว่าเป็นเรื่องโลกุตระธรรมที่ยากเกินความเข้าใจ เซนนั้นมีมณฑลที่กว้างขวางสามารถเข้าถึงได้จากหลายทาง บ้างรู้จักเซนจากสวน บ้างรู้จักเซนจากการจัดดอกไม้หรือพิธีชงชา ในแง่การปฏิบัตินั้นเองก็หลายหลายไม่ต่างกัน ‘เมฆาวารี’ อันเป็นชื่อเรียกของนักบวชเซนเองก็เกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติเหล่านี้มักเดินทางไปยังที่ต่างๆ เพื่อตามหาความรู้โดยไม่ติดอยู่ ณ ที่ใดหรือแม้แต่วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เลื่อนไหลไปราวเมฆและสายน้ำ เราต่างอาจเคยได้ยินเรื่องเล่าของพระเซนที่ได้กลายเป็นพุทธะด้วยวิธีแตกต่างกันไป บ้างท่องพระสูตร บ้างดูปริศนาธรรม หนักเข้าบางคนเจออาจารย์ถีบโครมเข้าไปตื่นขึ้นมาบรรลุธรรมก็ยังมี

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

ไม่นานมานี้พึ่งมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจากญี่ปุ่นเข้ามาฉายในไทยอย่าง Perfect Days (2023) อันบอกเล่าถึงเรื่องราวของตัวเอกผู้เป็นพนักงานล้างห้องน้ำในโตเกียว ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สะท้อนถึงปรัชญาการทุ่มเทให้กับงาน ธรรมชาติ ความฝัน พร้อมสิ่งสำคัญที่สุดอย่างการอยู่กับปัจจุบัน คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เนื้อหาหลักของภาพยนต์เรื่องนี้ดันไปคล้ายกับปรัชญาหลายอย่างของเซน ภายใต้หลักการ ‘ใช้ชีวิตจริงนั่นแหละที่เซนปฏิบัติ’ ความเป็นเซนนั้นอาจมองได้ว่าทั้งง่ายและลึกซึ้งในเวลาเดียวกันอีกทั้งยังปรากฏตัวในทุกๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นวัด ภาพยนตร์ หนังสือ สถาปัตยกรรม สวน ดนตรี ฯลฯ ข้อความ ‘ทุกวันเป็นวันที่ดี’ ในหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้กับความหมายของชื่อภาพยนต์ Perfect Days (2023) นั้นคงไม่หนีห่างกันไกลและน่าจะปรากฏอยู่ในที่ไหนอีกสักที่ในชีวิตประจำวันของผู้คน

เมฆาวารี : สถาปัตยกรรม จิตรกรรมและสวนญี่ปุ่นในมุมของเซน

facebook.com/เมฆาวารี 雲水

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *