THE SCHOOL OF ARCHITECTURE AND DESIGN, ASSUMPTION UNIVERSITY (AAU)

degree show2024-AAU

degree show -AAU

วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรม 5 เรื่อง จากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AAU)

(For English, press here)

ในปีการศึกษาที่เพิ่งผ่านพ้นไปนี้ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AAU) เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและพลังที่เป็นผลจากการทำงานหนักและการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์เป็นเวลาหลายปีของนักศึกษา วิทยานิพนธ์และโครงงานขั้นสุดท้ายที่เสร็จสิ้นไปถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับนักศึกษาจบใหม่ ในการแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถทางเทคนิค และความสามารถในการออกแบบ

ในปีการศึกษานี้มีผลงานที่โดดเด่นหลายโครงการ ในสาขาสถาปัตยกรรม เช่น ไร่องุ่นที่นำช้างเข้ามาในกระบวนการผลิตไวน์ที่เขาใหญ่ หอคอยสีเขียวสาธารณะสำหรับนักวิ่งเทรลในเมือง ในสาขาสถาปัตยกรรมภายใน มีงานออกแบบพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่อนุรักษ์ชีวิตและจิตวิญญาณของโนรา ด้วยการผสานเทคโนโลยีเข้ากับปฏิสัมพันธ์ และประสบการณ์ของผู้มาเยี่ยมชม และและศูนย์ exploratorium ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบอาชีพเชิงโต้ตอบสำหรับวัยรุ่น นอกจากนี้ยังมีสปาสีที่ใช้แสงและสีบำบัดเพื่อปรับสมดุลระบบต่างๆ ของร่างกายตามจักระ ในสาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยานิพนธ์แต่ละโครงการสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจและความหลงใหลที่หลากหลายของนักออกแบบรุ่นใหม่ โครงการเหล่านี้ไม่เพียงแต่แสดงถึงวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์อันไม่มีที่สิ้นสุดของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงสาระสำคัญระดับนานาชาติและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของ AAU อีกด้วย

 

degree show -AAU

โรงไวน์ Aretḗ เขาใหญ่
โดย Baze Charl Suaesakul

Aretḗ Winery แหล่งผลิตไวน์ระดับพรีเมียมที่จะเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเขาใหญ่ การออกแบบใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศด้วยการผลิตไวน์อย่างยั่งยืนด้วยแรงโน้มถ่วง ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมและเอกลักษณ์ของพื้นที่

โรงกลั่นไวน์แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่โรงงานผลิต ที่นี่จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับธรรมชาติ สถาปัตยกรรมผสมผสานประสบการณ์ของผู้คนกับกระบวนการผลิต ให้ความสำคัญระหว่างปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และความเป็นอยู่ของช้าง นักท่องเที่ยวจะได้ชมช้าง ได้เห็นในบทบาทของช้างในกระบวนการผลิตไวน์

ประสบการณ์นี้เป็นมากกว่าการทัศนศึกษาโรงผลิตไวน์แบบเดิม ลองจินตนาการถึงจุดชมวิวที่มองเห็นไร่องุ่นและพื้นที่อาบน้ำช้าง เสียงของพวกมันประสานกับเสียงของการชนแก้วไวน์ โรงกลั่นเหล้าองุ่นนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของเขาใหญ่ สถานที่ที่รวมนวัตกรรมและความยั่งยืน และประสบการณ์อันล้ำค่าของผู้มาเยือน พวกเขาจะได้รับแรงบันดาลใจจากทิวเขา ผลิตภัณฑ์จากผืนดิน และเรียนรู้ความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

นักศึกษา: Baze Charl Suaesakul
อาจารย์ที่ปรึกษา: Miguel Vélez
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.behance.net/superbaze
https://www.linkedin.com/in/superbaze/

อีเมล: superbaze@outlook.com

 

degree show -AAU

Runscape สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ
โดย พระนาย ดาวสุข

Runscape คือหอคอยสาธารณะสีเขียวเเห่งเเรกที่ชักชวนให้ผู้คนหลีกหนีมลพิษ เเละความวุ่นวายจากเมืองใหญ่ มันเป็นพื้นที่คอมมูนิตี้ของผู้รักสุขภาพใจกลางสวนเบญจกิติ ทั้งยังเป็นพื้นที่ฝึกซ้อมสำหรับนักวิ่งเทรลเเละนักผจญภัยผู้เเสวงหาความตื่นเต้น ด้วยความหลากหลายของพื้นผิวที่เลียนเเบบธรรมชาติ ค่อยๆ ก้าวเท้าไปสัมผัสกับความสูงกว่า 60 เมตร โดยการออกเเบบยังคงคำนึกถึงความปลอดภัยของนักวิ่งที่สามารถออกจากเส้นทางได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน Runscape เป็นตัวเเทนของภูเขาอันงดงามทั่วเมืองไทยที่ไร้การปนเปื้อนจากมลพิษ เเละเป็นเเรงบันดาลใจให้ชาวเมืองรักเเละโอบกอดธรรมชาติ เเม้ระหว่างเส้นทางเทรลจะยากลำบาก เเต่มันจะเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่ก้าวขึ้นมาด้วยสองเท้าของตัวเอง เพื่อให้ชาวเมืองได้เติมเต็มจิตใจด้วยธรรมชาติอันเงียบสงบ

นักศึกษา: พระนาย ดาวสุข
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์วีระ ลีลาพัฒนภูติ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.behance.net/gallery/198312239/RUNSCAPE
อีเมล: Pranai-58@hotmail.com

 

degree show-AAU

พิพิธภัณฑ์โนรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดย ธีรวี วูวงษ์

‘โนรา’ ได้รับสถานะมรดกโลกจาก UNESCO แต่ปัจจุบันยังไม่มีสถานที่ใดในประเทศไทยที่สนับสนุนและอนุรักษ์โนราอย่างเป็นทางการ พิพิธภัณฑ์โนรา เป็นสถานที่ที่สร้างความตระหนักรู้และความภาคภูมิใจให้กับวัฒนธรรมท้องถิ่นและมรดกของโลก จะเป็นสถานที่สำหรับผู้คนจากภาคใต้สู่ภูมิภาคอื่นๆ และชาวต่างชาติในการสำรวจและเข้าใจทุกแง่มุมของโนรา ดังนั้นการออกแบบนิทรรศการหลัก โรงละคร เวิร์กช็อป และสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนอื่นๆ จึงให้ความรู้สึกถึงเอกลักษณ์ของสถานที่เพื่อรักษาชีวิตและจิตวิญญาณของโนรา ด้วยการผสานเทคโนโลยีเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์แบบมีส่วนร่วมสำหรับคนรุ่นใหม่และผู้ชมในวงกว้าง

นักศึกษา: ธีรวีร์ วูวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์นทพร ทิพยวัฒน์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://fb.watch/rYxnGzqSbl/
อีเมล: teeravee.vws@gmail.com

 

Degree show -AAU

Teenbitz Exploratorium Center กรุงเทพฯ
โดย พิริยาภรณ์ สุวรรณอำภา

Teenbitz Exploratorium Center เป็นพื้นที่โต้ตอบและความสนุกสนานรูปแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความสนใจและความต้องการของเด็กรุ่นปัจจุบัน ศูนย์นี้ปลูกฝังความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และการค้นพบในหมู่เด็กอายุ 12-16 ปี ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ การจัดแสดงแบบไดนามิก และกิจกรรมเชิงปฏิบัติอย่างไร้รอยต่อ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต โครงการนี้นำเสนอเวิร์กช็อปและประสบการณ์ที่เข้มข้น โดยเน้นไปที่สาขาเกิดใหม่ เช่น สื่อดิจิทัล ศิลปะ ธุรกิจ และมนุษยศาสตร์เป็นหลัก ด้วยการมอบโอกาสในการให้คำปรึกษาและการเชื่อมต่อในโลกแห่งความเป็นจริง ช่วยให้คนหนุ่มสาวสามารถไล่ตามความปรารถนาของตนเองและนำพาไปสู่ความซับซ้อนของโลกสมัยใหม่ด้วยความมั่นใจและความกระตือรือร้น

นักศึกษา: พิริยาภรณ์ สุวรรณอำภา
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ดิชิลา ปสันตา
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/share/v/fbPVWVTGjGhJtHmM/?mibextid=K35XfP
อีเมล: piriyps@gmail.com

 

degree show -AAU

Color Sanctuary Spa
โดย นิธิกร สุวรรณเทวราช

โปรเจ็กต์นี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ออกแบบเกี่ยวกับความเครียดจากการทำงานและความไม่สบายกาย ทำให้เกิดแนวคิดสปาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหลากหลายและยกระดับอุตสาหกรรมสปา เพื่อดึงดูดทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาประสบการณ์สปาที่ผ่อนคลายและสร้างสรรค์ การวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มของสปาทั่วโลกถูกนำมาใช้กำหนดคุณลักษณะที่สำคัญของโครงการ

องค์ประกอบการออกแบบที่สำคัญสำหรับ Color Sanctuary Spa คือการบำบัดด้วยสี (chromotherapy) ซึ่งเป็นวิธีการที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียที่ใช้การบำบัดด้วยแสงและสีเพื่อปรับสมดุลระบบต่างๆ ของร่างกายตามจักระ แรงบันดาลใจหลักสำหรับแนวคิดคือสีของจักราและนำองค์ประกอบอื่นๆ ของสีจักระมาประยุกต์ใช้ เช่นความยาวคลื่นของสีที่แสดงผ่านจังหวะความถี่ที่แตกต่างกันของความยาวคลื่น และแต่ละสีก็จะมีความถี่ที่แตกต่างกัน อีกองค์ประกอบหนึ่งคือการเชื่อมต่อของจักระ แต่ละสีซึ่งแสดงผ่านความโปร่งใสที่ทับซ้อนกัน

นักศึกษา: นิธิกร สุวรรณเทวรัตน์
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์วิลาสินี เทพรัตน์, อาจารย์ ดร.สันทิตา พยุงพงศ์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://online.fliphtml5.com/nnech/cphw/
อีเมล: nithikornsuwan@gmail.com

 

arch.au.edu
facebook.com/architectureschool

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *