ARCHITECTURE IN CYBER-EVOLUTION

CAN ARCHITECTURE GROW ORGANICALLY AS THOUGH IT HAS ITS OWN (ARTIFICIAL) LIFE? BEFORE THE RISE OF THE ALGORITHMIC MODELING PROGRAMS WE EMPLOY NOWADAYS, LET’S HAVE A LOOK AT THE 1995’S PROJECT OF MANIT RASTOGI FROM THE AA IN LONDON, A STUDENT OF THE ORIGINATOR OF EVOLUTIONARY DIGITAL DESIGN, JOHN H. FRAZER, THAT HIS PROCESS OF USING ‘GENETIC CODING’ HAD TURNED COMPUTER FROM AN AID TO DESIGN INTO AN EVOLUTIONARY ACCELERATOR

สถาปัตยกรรมนั้นสามารถจะเจริญเติบโตได้อย่างสิ่งมีชีวิตราวกับว่ามันมีชีิวิต​ (เสมือน) เป็นของตัวเองได้หรือไม่? ก่อนที่โปรแกรมประเภท algorithmic modelling เช่น Grasshopper จะได้รับความนิยมอย่างในปัจจุบัน มาดูผลงานจากเมื่อปี 1995 โดย Manit Rastogi จาก AA ลูกศิษย์ของ John H. Frazer ผู้คิดค้น Evolutionary Digital Design ที่กระบวนการที่เขาเรียกว่า ‘genetic coding’ นั้น ได้เปลี่ยนให้คอมพิวเตอร์ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือช่วยในการออกแบบ (an aid to design) แต่คืออุปกรณ์เร่งสร้างระบบวิวัฒนาการ (evolutionary accellerator)

(For English, please scroll down)

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2538 art4d ยืนอยู่ในห้องนิทรรศการที่ Architectural Association ใน London ตรงหน้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 3 เครื่องบนจอภาพของเครื่องกลางปรากฎภาพโครงสร้างบางอย่างคล้ายกับหุ่นจำลองของ cell ที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา รูปทรงกลมเล็กๆ เรียงต่อกันเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงตัวเองราวกับเซลส์ของสิ่งมีชีวิต อีกเครื่องหนึ่งต่อเข้ากับอุปกรณ์จับความเคลื่อนไหวในห้องนิทรรศการ นำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในห้องเปลี่ยนเป็นข้อมูล เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นบนหุ่นจำลองของ cell ในหน้าจอของคอมพิวเตอร์เครื่องแรก รวมทั้งต่อเข้ากับระบบเครือข่าย Internet เพื่อรับคำสั่งในการเปลี่ยนแปลง cell นั้นจากทุกมุมโลก ในเวลาเดียวกันกับที่บนหน้าจอของคอมพิวเตอร์เครื่องสุดท้าย รูปทรงที่ซับซ้อนถูกสร้างขึ้นและมีอาการ “เจริญเติบโต” ที่คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของ cell ในคอมพิวเตอร์เครื่องแรกอยู่ตลอดเวลา

ในชั่วขณะที่กำลังยืนตะลึงและงุนงงกับสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า อันเนื่องด้วยพยายามคิดตามให้ทัน Manit Rastogi ก็เดินเข้ามาตบบ่าทักทายถามว่าชอบ project ของเขาหรือไม่ ก็ต้องรีบตอบกลับไปทันทีก่อนเพื่อไม่ให้เสียฟอร์มคนไทยว่าชอบมาก หลังจากใช้เวลาหลอกล่ออยู่พักใหญ่ จึงทำให้ Manit อธิบาย project นี้ให้ฟังได้ตั้งแต่ต้นจนจบ คำว่า architecture และ cyberspace จึงมาบรรจบกันอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ความพยายามดังกล่าวในการสร้างสถาปัตยกรรม ที่มีการเจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงคล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิต ใช้ความซับซ้อนของการคำนวณและเขียนคำสั่งของคอมพิวเตอร์ เป็นความสนใจของ Unit 11 ของ John H. Frazer และลูกศิษย์อย่าง Manit เป็นอย่างมาก และด้วยความช่วยเหลือจาก School of Design and Communication มหาวิทยาลัย Ulster ความพยายามในการสร้าง virtual space จากการร่วมมือจากทั่วโลก (global participation) โดยผ่านเครือข่าย Internet นี้ จึงเป็นผลสำเร็จขึ้นมาจนได้ ในนิทรรศการครั้งนี้ Unit 11 พยายามที่จะค้นหารูปทรงพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างขึ้น โดยมีกระบวนการเป็นของตัวเอง โดยการสร้างหุ่นจำลองของระบบที่คล้ายกับระบบวิวัฒนาการ (evolutionary) เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ขึ้นมาเป็นตัวกำหนดกระบวนการในการสร้าง form เหล่านั้นขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้น form นั้นยังจะต้องสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมภายในห้องนิทรรศการหรือ virtual environment เช่นข้อมูลใน Internet โดยที่ project นี้จะประสบความสำเร็จ เมื่อ form ที่เกิดขึ้นมีสาระคล้ายกับสภาพเสมือนชีวิต (artificial life) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ลักษณะใหญ่คือ morphogenesis, netic coding, replication และ selection

Try Evolutionary

form ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในจอ monitor เครื่องที่ 3 นั้นล้วนเป็น รูปทรงต้นแบบ (Prototype) ที่เกิดขึ้นจาก genetic coding จากภาพที่เกิดใน monitor เครื่องที่ 1 ในส่วนนี้เองที่ architectural concept ทั้งหลายถูกบันทึกไว้ในรูปของ genetic language ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นชุดรหัส (code Script) เพื่อกำหนด form ที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปทรงต้นแบบ ซึ่งแน่นอนเหลือเกินที่ในสภาพจำลองที่เกิดขึ้นนี้ สถาปนิกสามารถที่จะเร่งการเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนาการนี้ให้เร็วได้อย่างไม่น่าเชื่อ ผลที่ได้ก็คือ form นับร้อยนับพันที่เกิดขึ้นตลอดเวลาล้วนแต่คาดไม่ถึงทั้งนั้น ซึ่งถ้าการทดลองนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงสร้างของรูปทรงต่างๆ สามารถกำหนดได้ โดยใช้รหัสหรือเทคนิค ลักษณะเดียวกับระบบชีวภาพ (genetic algorithm) แล้วละก็ ในอนาคตคอมพิวเตอร์ คงจะไม่ได้จะมาแต่ช่วยการออกแบบ (an aid to design) เท่านั้น แต่จะเป็นอุปกรณ์เร่งสร้างระบบวิวัฒนาการ (evolutionary accelerator) หรือเครื่องสร้าง form เราดีๆ นี้เอง และอาจจะเป็นครั้งแรกที่ form ถูกสร้างด้วย inner logic ไม่ใช่ external force อีกต่อไป

Cyberspace access

การทดลองดูเหมือนจะน่าสนใจมากขึ้นเมื่อสภาพจำลองของระบบวิวัฒนาการนี้สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายของ internet โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชื้อเชิญให้คนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทดลองด้วย ในขณะที่ส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่แสดงอยู่นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปตามสภาพแวดล้อมตามแบบจำลองพื้นฐาน อีกส่วนหนึ่งของการทดลองซึ่งได้ตัดทอนรายละเอียดบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไป แต่ยังคงไว้ซึ่งหลักการเดียวกัน เพื่อให้ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็กลงและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยที่ผู้สร้างเรียกมันว่า Interactivator นี้ ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้ ทั้งจากในนิทรรศการและผ่านทางเครือข่าย Internet พร้อมๆ กัน ดังนั้นตัว นิทรรศการในส่วน Interactivator นี้ จึงสามารถเดินทางไปทั่วโลก และเพิ่มจำนวนไปสิงสถิตย์โดยการ download ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั่วโลก ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต่างๆ กัน หลังจากที่ Interactivator พัฒนาระบบ gene เป็นของตัวเอง ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว gene ใหม่เหล่านั้นก็สามารถส่งกลับมาที่นิทรรศการใน London เพื่อสะสมการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของ Interactivator ในรูปแบบต่างๆ ไว้ได้มากมายหลายรูปแบบ

ผลลัพธ์ที่ได้จากนิทรรศการครั้งนั้น สามารถสร้างความสนใจในวงการสถาปัตยกรรมได้วูบใหญ่ที่เดียว มีผู้สนใจหลายพันคน ส่งความเห็นผ่านระบบ Internet เข้ามาแก้ไขปรับปรุง model ดังกล่าวรวมทั้ง concept ของ project อย่างที่สถาปัตยกรรมชั้นไหนได้เคยได้รับมาก่อน เชื่อว่าอีกไม่ช้าไม่นาน คงมีการทดลองชุดใหม่ ที่ได้รับการปรับปรุงถูกส่งออกมาใน Internet อีกอย่างแน่นอน

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2538 ส่วนหนึ่งของนิทรรศการชุดเดียวกันนี้ติดมากับการแสดงนิทรรศการ AA Architecture in Asia ที่เกสรพลาซ่าด้วย หลายคนที่พลาดโอกาสชมอาจจะรู้สึกเสียดาย แต่ในขณะที่สถาปนิกไทยอีกหลายคนยังถามคำถามว่าทั้งหลายทั้งปวงนี้มันเป็นสถาปัตยกรรมตรงไหน ผลที่ได้คืออะไร หรือเป็นเพียงความเพ้อฝันลมๆ แล้งๆ ของคนกลุ่มหนึ่ง หากมองย้อนกลับไปเพียงแค่ 40 ปีจินตนาการมิใช่หรือคือสิ่งสำคัญ ที่ทำให้สิ่งที่เราเรียกว่า Modern Architecture เกิดขึ้นมาในโลกทุกวันนี้ เทคโนโลยีก็เป็นอีกส่วนหนึ่งโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศแบบเครือข่ายของ internet ซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงทศวรรษที่ผ่านมา art4d อยากให้คนไทยมองไปในอนาคตกันวันละนิดก็ยังดี เชื่อว่าสถาปัตยกรรมวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเดียวกับเมื่อ 100 ปีก่อน และในอีก 100 ปีข้างหน้า เราก็คงไม่ได้สร้างมันแบบที่เรานั่งทำกันอยู่ตอนนี้แน่นอน อนาคตน่าจะเป็นเรื่องง่ายๆแบบที่ว่าใครถึงก่อนชนะกระมัง

Note: ผู้อ่านท่านใดอยากได้ project นี้ไปเล่นที่บ้านสามารถ download ได้จาก http:www.gold.net/ellipsis/evolutionary.html หรือส่ง e-mail: 100415.1704@compuserve.com

At an exhibition room of Architectural Association in London early last year, art4d came across a display made up of three computers.

On the first computer’s monitors was a model of a structure composed of geometrical forms imposed one over the other like living cells. The second computer transform the changing environment of the room, captured by a motion detector to which it was connected, in to a database which would then generate the alteration of the cell appearing on the first monitor. The second computer was also linked with the internet to receive commands from all over the world evolution of the cell. The third computer’s monitor displayed the growth of the cell model according to the data input in the first and second computer.

This attempt at the evolution of architecture as similar to that of living beings was initiated by Unit 11 under John H. Frazer and his students, one of whom is Manit Rastogi. The unit received cooperation from the School of Design and Communication of Ulster University. From the exhibition, Unit 11 tried to find basic architectural forms which could evolve on their own. The project would succeed if the forms contained artificial life comprising of morphogenesis, genetic coding, replication and selection.

If it does indeed succeed, it will enable architects to change the evolution of forms in unlimited numbers. And if this attempt proves that structures of forms vary through the changing of different code scripts and techniques in the same way as genetic algorithm, than in the future, computers would not serve merely as an aid to design, but as an evolutionary accelerator in itself. It could end up being the first time that the making of forms is stimulated by inner logic rather than external force.

Originally published in art4d #12 (February 1996)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *