SRINLIM

THROUGH THE COLLABORATION WITH B&O (BANG & OLUFSEN), SARINYA LIMTHONGTIP, DESIGN DIRECTOR OF SRINLIM TRANSFORMS BLACK, PLAIN SURFACE OF BEOPLAY A9 INTO THE COLOURFUL CANVAS WITH  THAI  AUSPICIOUS WORDS

(For English please scroll down)

หลังจาก Typotown ได้รับราวัล Demark ในสาขากราฟิกดีไซน์ไปเมื่อปี 2017  ศริญญา ลิมป์ทองทิพย์ บอกกับ art4d ว่า โปรเจ็คต์นี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากฟอนต์กลายเป็นคำ จากปักบนเฟรมผ้าก็ขยับไปเป็นมาเป็นเซรามิก เฟอร์นิเจอร์เหล็กดัด หลอดไฟนีออน และ งาน Artwork เจริญกรุง ที่เรียงร้อยด้วยลวดทองแดงด้วยมือ มาในปีนี้ ด้วยการชักชวนของ Bang & Olufsen เธอจึงมีโอกาสได้มาทำงานบนพื้นผิวที่มีพลวัตกว่าเดิมกับ Beoplay A9 ลำโพงตั้งพื้นของ Bang & Olufsen ที่มีดีไซน์ราวกับเป็นกรอบรูปตั้งพื้นที่ส่งเสียงได้

Typotown เป็นงานออกแบบฟอนต์ไทยที่มีที่มาจากการนำองค์ประกอบของอาคารเก่า เช่น ลวดลายเหล็กดัดอาคาร บานประตู หน้าต่าง ไปจนถึงสี มาใช้ออกแบบ ศริญญา บอกกับ art4d ว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือ aesthetic แบบไทยๆ ที่มีชีวิตอยู่จริงและ “มันน่าเสียดายมากที่อาคารหลายๆ หลังในย่านเจริญกรุง / สำเพ็ง ที่เราอาศัยอยู่ กำลังจะถูกทุบ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น” สำหรับเธอ Typotown จึงไม่ใช่แค่กราฟิกดีไซน์แต่คือการเก็บบันทึกเรื่องราวของพื้นที่ และความเป็นไทยในช่วงเวลาหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่า Typotown ทำได้ดีคือการ บาลานซ์ระหว่างความหมายกับความงามของผลงาน

การร่วมงานกันระหว่าง ศริญญา และ Bang & Olufsen จึงถือว่าเป็นการจับคู่ที่ลงตัวทีเดียว เพราะมันดูเหมือนจะเป็นงานที่เข้ามือ และ ตรงกับจุดแข็งในการทำงานของศริญญาอย่างการ apply กราฟิกดีไซน์เข้าไปในพื้นผิวต่างๆ พอดิบพอดี “กราฟิกดีไซน์สำหรับเรามันไม่ใช่แค่การทำงานบนระนาบสองมิติ แต่มันสามารถเป็นอะไรที่มีปริมาตรกว่านั้นได้” ศริญญา บอกกับเราว่า ครั้งนี้เธอเลือก 3 คำมาใช้นั่นคือ สุข รัก และโชค ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาสวยงามทีเดียว ความกังวลตอนแรกที่เธอกลัวว่า คำที่เป็นภาษาไทยจะไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาตินั้นไม่เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว “กราฟิกมันเป็นภาษาที่มีความสากล ด้วยสี ด้วยฟอร์มของมัน มันสื่อความรู้สึกดีๆ ได้ โดยไม่ต้องเข้าใจความหมาย”

After Typotown won itself the Demark award in the graphic design category in 2017, Sarinya Limthongtip  spoke with art4d about the continual development of the project. From  its evolution from font to words, from embroidery on framed fabrics to ceramic ware, wrought iron furniture, Charoenkrung, the hand made artwork from cooper wire, to neon light bulbs. This year, following the invitation from Bang & Olufsen, Limthongtip works her magic on the more dynamic texture of Beoplay A9, B&O’s multi-room speaker. The result of this collaboration is the magnificent piece of graphic visual that also delivers high quality audio.

Typotown is a series of Thai font, whose design originates from the eclectic elements of old buildings. The inspiration comes from patterns of wrought iron windows and doors, including colors. Limthongtip explains that all of the aforementioned are the Thai aesthetics that  exist as a part of our life. “It’s shame that many of the buildings in the Charoenkrung and Sampeng neighbourhood where I grew up and am living in are about to be demolished and replaced by something else.” To her, Typotown isn’t just a piece of graphic design but rather, a documentation of stories behind certain spaces, and the Thai identity that encapsulates a certain period of time. What Typotown succeeds in capturing, at least to us, is the balance between the series’ aesthetic quality and the meaning it conveys. 

The collaboration between   Limthongtip and Bang & Olufsen is undoubtedly a perfect match. The application of graphic design to different, sometimes unconventional mediums and spaces is what Limthongtip is able to masterfully deliver and what Bang & Olufsen is looking for. “For me, graphic design goes beyond the two-dimensional plane and reaches  many other possible surfaces and volumes. The three words Limthongtip choose for this special collaboration are สุข (happiness) รัก (love) and โชค (luck), and the result is satisfyingly beautiful. While the initial concern over the use of Thai language and its inability to reach international users isn’t really an issue after all. “Graphic design is a universal language. Through colors and forms, a piece of graphic design can communicate positive feelings without the need for literal understanding.

fb.com/srinlim

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *