AN ESSAY BASED ON OPINIONS AND EXPERIENCES BY GRIDTHIYA GAWEEWONG ABOUT THE PAST, PRESENT AND FUTURE OF ART AND CRAFTS IN CHIANG MAI, WHICH IS RELATED TO THE CHANGE OF THE CITY THAT MERGES OLD AND NEW IDEAS TOGETHER
(For English, please scroll down)
เรากลับไปเชียงใหม่หลังจากปิด Project 304 มองกลับไปจากตอนนี้แล้วรู้สึกว่าตอนช่วงปี 2000 เป็นช่วงที่เชียงใหม่มีความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เรากลับไปช่วยอาจารย์อุทิศ อติมานะ ปรับทิศทางของหอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือแต่เดิมหอศิลป์ มช. มีทิศทางที่ค่อนข้าง insular และแนวคิดในการทำนิทรรศการนั้นพูดถึงแต่ศิลปะที่อยู่ในโลกของศิลปะมากเกินไป ไอเดียของอาจารย์อุทิศคือ การพยายามเชื่อมโยงกับบริบทของเชียงใหม่ ที่มีทั้งงานฝีมือและวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อให้หอศิลป์กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยการดึงทั้งสล่า (ช่างฝีมือ) ศิลปะร่วมสมัย และวิถีชีวิตมาเจอกัน เราเลยทำให้หอศิลป์กลายเป็นตลาดที่มีกระทั่งเทศกาลหนังสือ เปิดกาดมั่ว ไปจนกระทั่งบางครั้งมีงานประกวดตีกลองของวัดต่างๆ ในเชียงใหม่ และขายผักจากดอยคำ จนคนแถวนั้นเริ่มไปหอศิลป์กันเป็นเรื่องปกติ และรถแดงเริ่มรู้จักชื่อหอศิลป์ มช. มากขึ้น จำได้ว่าตอนนั้นเชียงใหม่เริ่มเปลี่ยนไปแล้วมี community บางอย่างเกิดขึ้น ศิลปินหลายๆ คนไปใช้ชีวิตอยู่ในเชียงใหม่ มี The Land Foundation เกิดขึ้นมาหลังจากนั้นก็ทำ retrospective ให้กับฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช กับคามิน เลิศชัยประเสริฐ โดยรวมแล้วมันเป็นช่วงที่เราพยายามจะสร้างพลวัตให้กับเมืองและงานศิลปะ
ปัญหาของเชียงใหม่ที่เจอตอนนั้นคือมัน “หนืด” ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะบรรยากาศเมืองหรือเพราะสาเหตุใด แต่เราทำงานที่เชียงใหม่ไม่ได้เลย จากที่เคยงานหนึ่งเสร็จในหนึ่งชั่วโมงกลายเป็นใช้เวลา 3 วัน อีกสาเหตุหนึ่งคือ ด้วยความที่มันอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯ พอคนไม่มาแล้ว energy บางอย่างมันตก มันเหนื่อยมากที่เราต้องสร้างพลังนั้นขึ้นมาใหม่แต่ต้นทุกครั้ง ซึ่งทำให้เราตัดสินใจมาทำงานกับ Jim Thompson Art Center ที่กรุงเทพฯ ในปี 2006
ครั้งหนึ่งเราเคยมีโอกาสร่วมประชุมกับกระทรวงและหน่วยงานที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ เราโกรธมากที่เขาคอมเมนต์เมืองว่าเหมือนกับผู้หญิงที่ถูกกระทำชำเราตลอดเวลา มันน่าสนใจและน่าโมโหที่เขาพูดแบบนั้นอาจเพราะเชียงใหม่เป็นเมืองที่ตอนนั้นยังไม่มีการควบคุมเข้มงวด ใครไปใครมาจะทำอะไรก็ได้ด้วยความเป็นคนเมืองเหนือที่ต้อนรับทุกๆ คน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนกรุงเทพฯ ขึ้นไปอยู่สัก 4-5 ปี ก็รู้สึกว่าตัวเองกลมกลืนกับคนเชียงใหม่ ส่วนคนในเชียงใหม่เองก็แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม ทั้งอนุรักษ์นิยม หรือคนกลุ่มที่มีแนวคิด liberal หน่อยๆ ที่พยายามบาลานซ์ความเก่ากับใหม่เข้าด้วยกัน คนพวกนี้จะใส่ผ้าถุงรวบผมตึงแต่พูดภาษาอังกฤษคล่องมาก ซึ่งเราว่ามันน่าสนใจที่เขาอยู่ร่วมกันได้ทั้งสองโลกเก่าและโลกสมัยใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็รักษาอัตลักษณ์เดิมเอาไว้
อย่างไรก็ตาม การไม่ถูกควบคุมก็ทำให้เชียงใหม่มันเปิดกว้างมาก ช่วงที่เราทำเชียงใหม่จัดวางสังคม (Chiang Mai Social Installation) ช่วงปี 90 ตอนนั้นช่องว่างระหว่างศิลปะในมโนทัศน์ของคนเชียงใหม่กับศิลปะร่วมสมัยมันห่างกันมาก เชียงใหม่มีสล่าเต็มไปหมด ซึ่งเขาเหล่านั้นไม่มองว่างานศิลปะคอนเซ็ปชวลเป็นศิลปะ เพราะว่าไม่ได้ใช้มือทำ อีกอย่างคือตอนนั้นเชียงใหม่ไม่มีหอศิลป์ เด็กปีสุดท้ายรวมถึงอาจารย์เองไม่มีที่แสดงงาน เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะทำให้งานได้สื่อสารกับสาธารณะชน เขาเลยออกไปใช้พื้นที่สาธารณะอย่างท่าแพเป็นที่แสดงงาน ประจวบเหมาะกับที่แนวคิด social structure ของ Joseph Beuys เข้ามาในเมืองพร้อมกับมิตร ใจอินทร์ ที่เพิ่งกลับมาจากเวียนนา อีกอย่างคือพอไม่มีคิวเรเตอร์ ศิลปินอยากทำอะไรก็เลยทำได้สะดวกและทำตัวเป็นคิวเรเตอร์เอง เมื่อหลายๆ ปัจจัยมันประดังเข้ามาทีเดียว มันก็ประทุขึ้นมา มันเป็นความรู้สึกเหมือนได้ปลดปล่อย มีศิลปินมองโกเลียคนหนึ่งมาถึงก็ทำเพอฟอร์แมนซ์เลย เอาสีมาทาบนพื้นซึ่งถ้าเป็นเมืองนอกมันทำไม่ได้ นี่คือความเละของบ้านเมืองที่ยังไม่รู้จักกฎหมายในการควบคุม public space และเมื่อความเละที่ว่านี้มาประกอบกับความที่เมืองนี้มีความอดทนอดกลั้นสูง มันเลยเปิดโอกาสให้ศิลปินสามารถทำอะไรได้เยอะ และทำให้เชียงใหม่จัดวางสังคมมีชื่อเสียงไปไกลมาก
ความไม่มีการควบคุมที่ว่ามันยังรวมเข้ากับความรู้สึกของ “ความเป็นต่างจังหวัดด้วย” มันคือเซ้นส์ของความเป็นชุมชนที่แข็งแรงมาก มันมีความเป็นบ้านนอก ความเป็นชนบท คือเวลาทำอะไรก็จะทำเป็นกลุ่ม คนเหนือเรียกสิ่งนี้ว่า “เอามื้อ” ซึ่งคือการเอาทรัพยากรทุกอย่างมารวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ไปข้างหน้าพร้อมกัน มันเป็นสปิริตของความเป็น “หมู่เฮา” ถ้าให้ยกตัวอย่างสปิริตที่ว่านี้ก็คงจะเห็นได้ชัดๆ จากกรณีถ้ำหลวงเมื่อปีที่ผ่านมา มันไม่ใช่เรื่องแปลกใจเลยที่ทุกคนจะทิ้งทุกอย่างมาช่วย เราชอบที่ชาวนาบางคนไม่ยอมรับเงินชดเชย และบอกว่าเขาเต็มใจให้น้ำท่วมที่นาเพราะชีวิตเด็กสำคัญกว่า นี่แหล่ะคือสปิริตของคนต่างจังหวัด
เรามองว่าความเปิดกว้างในลักษณะนี้เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ชายแดน หรือเมืองที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์เท่านั้น จะสังเกตได้ว่ามันเกิดขึ้นในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเพราะคนเหล่านั้นเขาก้าวข้ามเรื่องเส้นแบ่งเขตแดน เชื้อชาติ และก้าวข้ามความเป็นชาติไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วจนเหลือแต่ความเป็น “คน” มันไม่มีกำแพงทำอะไรก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าขาดการคัดกรอง มันเป็นการคัดกรองที่ใจกว้างพอที่จะไม่ปฏิเสธทุกอย่างที่เข้ามา ฉะนั้นแล้วการเปิดรับที่ว่ามันจึงนำมาสู่การหลอมรวมทั้งเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน ซึ่งตอนนี้มันกำลังเกิดขึ้นอยู่ในเชียงใหม่
ความท้าทายต่อจากนี้คืออนาคตของเมืองว่าจะไปในทิศทางใด เราสามารถจะร่วมกันกำหนดทิศทางให้เชียงใหม่เติบโตไปในทางไหน ที่ผ่านมามีนักวิชาการเชียงใหม่อยู่หลายสาย สายแรกต้องการผลักดันให้เชียงใหม่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกเกี่ยวกับงานฝีมือ เพื่อเอาร่มของ UNESCO มาปกป้องเมือง เพราะกลัวว่าเทศบาลหรือส่วนกลางจะทำเมืองเละ อีกฝ่ายก็กำลังแย้งว่าทำไมเราไม่บริหารจัดการกันเอง จะเอา UNESCO มายุ่งกับเมืองทำไม จนตอนนี้ กลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับเมืองน่าจะประสานและดึงคนสองกลุ่มหลักนี้มาคุยกันแล้ว เรามองว่าตอนนี้มีคนปรารถนาดีกับเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาคือทุกคนไม่ยอมมาคุยกัน ซึ่งก็เป็นเหตุมาจากว่า facilitator ไม่มีประสิทธิภาพ เราไม่มีคนกลาง ตัวเมืองเองก็ไม่มีวิสัยทัศน์พอจะกำหนดทิศทางของเมืองได้ ตอนนี้ที่ทำๆ กันอยู่มีแต่การจัดอีเวนต์ คือเราไม่ได้ต้องการอีเวนต์อีกต่อไปแล้ว แต่เราต้องการ “แผนระยะยาว” ซึ่งในการจัดการเมืองหรือองค์กรอะไรก็ตามแต่ มันจำเป็นต้องมีทั้งแผนระยะสั้น / แผนระยะยาวกันทั้งนั้น แต่คำถามก็คือ are you on the same page? นี่คือปัญหาสำคัญ ถ้าทุกคนไม่มารวมกันมันก็เคลื่อนไปข้างหน้ายาก
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน art4d No.261
I returned to Chiang Mai after Project 304 had ended. Looking back from now, I feel like the early 2000s was the time when Chiang Mai was going through some interesting changes. I was there to help Professor Utis Atimana who was working on the redirection of Chang Mai University Art Gallery at the time. The gallery was run in a rather insular trajectory and the concepts from which each exhibition were curated had been highly exclusive to the art world. His idea was to reconnect the gallery to the context of Chiang Mai as a home of this vibrant local art, craft and cultural scene, and to shift its image into a public space that brings together ‘sala’ (local artisans), Contemporary art and local way of life of the people together. We end up turning the gallery’s space into a bizarre that houses book festivals, markets all the way to traditional drum competition between temples in the province, or farmer markets selling products from Doi Kham. People go to the gallery like it’s a part of their lives. The red cars know where the Chiang Mai University Art Gallery is more than ever. I remember feeling that Chiang Mai was starting to change. There was some sort of community in the making. Artists moved here, some were living at The Land Foundation, and so on. Then we did a retrospective for Rirkrit Tiravanija and Kamin Lertchaiprasert. All and all, it was the time when everyone was trying to bring this dynamic to the city and the art.
The problem with Chiang Mai back at the time was it felt really slow. I wasn’t sure whether it was because the pace or the vibe of the city or what, but I just couldn’t bring myself to work there. I spent three days working on the job that used to take me an hour to finish. Another thing is the fact that Chiang Mai is so far away from the center such as Bangkok; so once the number of visitors went down, the energy sort of dropped. It was very exhausting having to rebuild that energy from the start every single time. So I finally decided to take the job at Jim Thompson Art Center in Bangkok in 2006.
I used to attend a meeting with a ministry and agencies that were working on researches on the city of Chiang Mai and I remember feeling absolutely furious by the comment that some of the people made about the city and how it was like a women who is constantly being raped. It’s both interesting and infuriating at the same time to hear that kind of comment, but it’s very like that Chiang Mai at the time didn’t have any strict rules or regulations and people came and went whenever they wanted and did whatever they felt like it. So it came to no surprise for someone who was born and raised in Bangkok would feel like he or she is one of the locals after 5-6 years of living in the city because the nature of Chiang Mai people are very welcoming. There are several sub-groups when it comes to the residents of this northern city. There are the conservatives, the liberals, the people who try to balance the old and the new. The latter is someone you may see dressed in the most traditional attire but they speak fluent English. I think it’s interesting that they’re living in both the old and the new world and at the very same time, they’ve managed to preserve their identity as locals.
But such scenario made Chiang Mai incredibly open. When I was doing Chiang Mai Social Installation back in 1990s, the gap between the concept of art and Contemporary art in the mind of Chiang Mai people was very wide. Chiang Mai was full of Sala and they didn’t recognize Conceptual art as a form of art because it wasn’t made by hand. And Chiang Mai didn’t have the kind of gallery that it has today. The graduating art students even the art professors didn’t have a place where they can out together a proper art exhibition. So in order to really communicate with the public, they chose a public space such as Tha Phae Gate as the place there they would showcase their works. It just happened that Joseph Beuys’s social structure made its way to the city when Mit Jai-inn returned from Vienna. And when there wasn’t any curator, artists were able to do what they wanted freely. They were the curators themselves. When everything came together, things just sort of exploded. It was like a steam was released. A Mongolian artist arrived with a performance where he painted right on the ground, and you can’t do that somewhere else. It was how the city allowed everyone to mess things up because there were any laws to control the use of public space. When this mess met with the city’s high tolerance, it enabled artists to have this incredible artistic freedom, and resulted in the success of Chiang Mai Social Installation.
That having no control atmosphere was met with the strong sense of community of a rural area; it was simple, rural and people did things in a group. The locals refer to this as ‘Aow Meung’ (take the meal), which is essentially how the resources are brought together and everyone engages in an activity together, collectively moving forward as a community. It’s the spirit of this collective ‘us’. To exemplify, it’s the kind of spirit you see happening with the Tham Luang Nang Non cave incident last year. It wasn’t surprising at all to see people practically dropped everything to help. The farmers refusing to take the compensation money because they said they wouldn’t mind that their fields were flooded because the kids’ lives were more valuable. That’s the spirit of rural community in Thailand.
Such openness, I think, comes only from people living in the border areas, or cities that are highly diverse ethnically. You notice how it takes place only in the multicultural areas because the people really surpass things such as races, borders or national identity, and all they look at is the ‘humanity’. There isn’t any wall but it does have a filter, but the kind of filter that is generous enough to not turn down everything new that comes along. So such openness leads to the way the old and the new are combined, and that’s what happening right now in Chiang Mai.
The challenge from now is the future direction of the city, and how can we be a part of Chiang Mai’s growth trajectory. Chiang Mai has given birth to different academic movements as well as different groups of scholars. There are those who are trying to push the city to become a UNESCO’s world heritage site because they want to use that to protect the city from being ruined by the municipal and the federal government. At the same time, there are those who oppose the idea and propose that the people of Chiang Mai instead of UNESCO should be the one managing the city. There has been an attempt to bring these two groups together and discuss to find the common ground. I think there are many people who want what’s best for Chiang Mai but they haven’t really talked because there hasn’t really been a facilitator who is efficient enough. We have never had a mediator and the city itself doesn’t have a good enough vision to determine its own trajectory. What we’re doing now is hosting events. We don’t need events anymore. What we need is a long-term plan. When it comes to urban or organizational management, you need to have both short-term and long-term plans, but the question here is ‘are you on the same page?’ That’s the important issue. If we didn’t come together, it would be difficult for us to move forward.
Originally published in art4d No.261
เป็นบทความที่ดีมากๆๆๆ จริงๆทุกที่ในเมืองไทยมีอะไรดีๆอยู่เต๋มไปหมด สิ่งที่เราขาดคือ facilitator ที่มีประสิทธิภาพอย่างที่พี่เจี๊ยบสรุป