TROPICALLY BLURRED

IN THE RECENT PROJECT THAT IS HIDDEN AMONG THE PHRA PRADAENG NEIGHBORHOOD, ALL(ZONE) COMES BACK WITH THE ARCHITECTURAL LANGUAGE THAT LEAVES US WITH QUESTION: ARE WE ‘INSIDE’ OR ‘OUTSIDE’? 

TEXT: PAPHOP KERDSUP
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

(For English, please scroll down)

ในรายชื่อ 100+ Best Architecture Firms 2019 ซึ่งรวบรวมขึ้นโดยนิตยสาร Domus เป็นครั้งแรกในปีนี้ มีข้อเขียนท่อนหนึ่งของ Guido Murante ที่กล่าวถึง all(zone) สตูดิโอออกแบบไทยหนึ่งเดียวในรายชื่อนั้นไว้ได้อย่างน่าสนใจ “การที่ all(zone) ตัดสินใจใส่แนวคิดในเรื่องของความสนุก ความหลงใหล และชีวิตประจำวัน ลงไปในถ้อยแถลง (statement) ของพวกเขานั้น ช่วยทำให้เรามองเห็นถึงสายตาที่ทั้งตื่นเต้นและเป็นกันเองที่สถาปนิกรุ่นใหม่มักใช้มองโลก ด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของโลกใบนี้ไปกันอย่างเต็มความสามารถ จนมันกลายเป็นงานที่พวกเขาทำโดยไม่ต้องหันไปพึ่งพาวิธีการแก้ปัญหาในรูปแบบเดิมๆ อีกต่อไป”


ภายใต้ความหลงใหลและการสนุกไปกับสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันนี้เอง ที่ทำให้เราได้เห็นว่า all(zone) นั้น “เล่น” กับมิติทางสถาปัตยกรรมและบริบทแบบไทยๆ ผ่านผลงานออกแบบของพวกเขาอยู่บ่อยครั้งเพียงใด ไม่ว่าจะผ่านความกล้าในการใช้สีสัน การทดลองกับวัสดุไปพร้อมๆ กับการร่วมพัฒนาเทคนิคการก่อสร้างท้องถิ่น หรือแม้แต่การจัดการกับสเปซธรรมดาๆ ที่ในบางครั้งอาจจะดาษดื่นในสายตาของคนทั่วไป ให้มีชีวิตชีวาขึ้นในรูปแบบใหม่ ซึ่งหัวข้อหลังนี้เองที่ ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย มักจะพูดให้เราฟังอยู่เสมอในวงสนทนาว่าความ “เบลอๆ” ของขอบเขตพื้นที่ที่เรามักพบได้ในพื้นที่อยู่อาศัยของไทย (หรือถ้าจะพูดให้ถูกกว่านั้นก็คือของงานสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น) เป็นสิ่งที่ all(zone) ให้ความสนใจมาโดยตลอด ใน ‘Phra Pradaeng House’ ผลงานออกแบบบ้านหลังล่าสุดของพวกเขาในย่านพระประแดง สมุทรปราการ เลเยอร์ขององค์ประกอบต่างๆ และการเล่นกับความคลุมเครือของขอบเขตพื้นที่การใช้งานในภาษาที่ค่อนข้างแปลกใหม่ เริ่มปรากฏให้เราได้เห็นชัดขึ้นกว่าในงานชิ้นก่อนๆ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจที่อยากจะให้พิจารณากันสามประเด็นด้วยกัน

อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน art4d ฉบับที่ 266

On Domus Magazine’s 100+ Best Architecture Firms 2019, the list that was put together for the first time this year, there is an interesting introduction written by Guido Musante about all(zone), the only Thai design studio who made it on the list that reads. “The fact that all(zone) has decided to include concepts such as joy, fascination and everyday life in its statement helps us see the emotional, informal eye with which the new generation of architects tend to look at the world in an attempt to effectively change its paradigm, a task they undertake without turning to traditionally modernist solutions.”


Underneath the fascination and fun they have for everyday life objects and events, we see how all(zone) is playing with architectural dimensions and Thai context consistently through their designs. It is clear from the use of colors, the experiment with materials, not to mention the collaborative developments of local construction techniques all the way to how they transform and enliven a mundane space. The latter is what Rachaporn Choochuey often discusses about during conversations that the ‘blurred’ boundaries in Thai living spaces (or more precisely, Tropical Architecture) has always been one of all(zone)’s long-time interests. In ‘Phra Pradaeng House,’ their latest residential design project in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province, the layers of elements and the play on the obscurity of functional boundaries that was reinterpreted in unconventional language have become more tangible compared to their previous work. There are three major observations that were made about this project which will be discussed in this article.

Read the full article in art4d No.266

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *