MAKING AN INFORMED CHOICE – DESIGNING WITH AMERICAN HARDWOODS

MATERIAL SELECTION CAN BE CHALLENGING FOR DESIGNERS. OFTEN INFORMATION CAN BE OVERWHELMING AND UNNECESSARILY COMPLEX AND MANY PREFER TO STICK TO WHAT THEY KNOW RATHER THAN FEEL THAT THEY CAN EXPLORE ALTERNATIVES WITH CONFIDENCE. AMERICAN HARDWOOD EXPORT COUNCIL IS ONE ORGANISATION THAT OFFERS INSPIRATION, ADVICE AND SUPPORT TO DESIGNERS AROUND THE WORLD TO HELP THEM SELECT A MATERIAL THAT IS TRULY FIT FOR PURPOSE

PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

33 % ของพื้นที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาคือป่า ทรัพยากรป่าไม้ในสหรัฐฯ นั้นมีความแตกต่างจากประเทศอื่นอยู่พอสมควร เพราะถูกครอบครองโดยเจ้าของที่ดินรายย่อยๆ กว่า 4 ล้านเจ้า ซึ่งตลอดชีวิตพวกเขาจะนำท่อนไม้เนื้อแข็งออกมาขายเพียงแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น จำนวนตัวเลขที่ชวนให้ประหลาดใจนี้เป็นผลพวงมาจากการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนที่ส่งต่อมาหลายชั่วอายุคน ผ่านการเลือกตัดไม้อย่างรอบคอบ และปล่อยให้ป่าเกิดใหม่ตามธรรมชาติ จนกระทั่งป่าในสหรัฐฯ มีอัตราเติบโตที่สูงกว่าการเก็บเกี่ยวประจำปี

ในขณะที่ไม้ปลูกในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ถูกนำมาแปรรูปและใช้งานประเทศ แต่ความต้องการไม้เนื้อแข็งสหรัฐฯ จากทั่วโลกก็มีจำนวนที่สูงมากเช่นกัน ไม้เนื้อแข็งมีหลายชนิดเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น ไม้โอ๊คขาว (American white oak) ไม้ส่งออกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีเกรนไม้ที่แข็งแรง มีสีอ่อน เป็นไม้อเนกประสงค์ที่เหมาะสำหรับการนำไปทำเฟอร์นิเจอร์แบบสแกนดิเนเวีย

ไม้อเมริกันวอลนัทเองก็เป็นที่ชื่นชอบของนักออกแบบและสถาปนิก เนื่องจากเป็นวัสดุที่สามารถสร้างความรู้สึกหรูหราให้กับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีทิวลิปวูดอเมริกัน (American tulipwood) และไม้โอ๊คสีแดงที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงให้ความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในงานสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่หรือการออกแบบเฟอร์นิเจอร์

เบื้องหลังของคุณภาพของไม้จากสหรัฐฯ คือความซับซ้อนในแง่ของกระบวนการสกัด การอบแห้งด้วยเตาเผา การเคลือบผิวขั้นสุดท้าย และการทดสอบคุณภาพมาตรฐานสูง ที่มีกฎระเบียบการให้คะแนนที่เข้มงวด ซึ่งกำหนดโดยสมาคมไม้เนื้อแข็งแห่งชาติ (National Hardwood Lumber Association)

ผู้ผลิตไม้เนื้อแข็งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการสนับสนุนจาก American Hardwood Export Council (AHEC) หรือ คณะกรรมการการส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน ซึ่งเป็นสมาคมการค้าระหว่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมไม้เนื้อแข็งของสหรัฐอเมริกา โดยกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของ AHEC คือการสนับสนุนสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก ในการตัดสินใจเลือกไม้สำหรับใช้ในโครงการออกแบบ เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลงานออกแบบที่ใช้วัสดุไม้จากทั่วโลก รวมไปถึงยื่นมือเข้ามาช่วยจัดหาตลาดสินค้าภายในพื้นที่ และให้คำปรึกษาแนะนำในด้านเทคนิคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อ AHEC ได้ที่ info@ahec-china.org

CASE STUDIES

Jomecowood

ในปี 2007 Joseph Teoh อินทีเรียดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบเฟอร์นิเจอร์ Jomecowood ในประเทศมาเลเซีย ได้รับตู้คอนเทนเนอร์ที่ภายในบรรจุไปด้วยไม้โอ๊คขาว ไม้แอชวูด (ashwood) และไม้อเมริกันวอลนัท กว่า 60 ตู้จากพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ “ผมมองว่าการนำธรรมชาติ และวัสดุจากธรรมชาติเข้ามาในบ้านนั้นเป็นเรื่องสำคัญ” Teoh ยอมรับว่าตัวเขาเองมีความหลงใหลในการนำไม้มาใช้ในงานออกแบบอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน “การเลือกใช้วัสดุเป็นไม้ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นและมีสไตล์ให้กับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี 30% ในงานออกแบบของผมคือการนำไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งอเมริกันที่มีความสม่ำเสมอในด้านคุณภาพ และการถูกอบแห้งด้วยเตาเผาอย่างเหมาะสม”


Photo courtesy of American Hardwood Export Council (AHEC)

The Smile

Photo: Tom Donald

อาคารทรงโค้งที่ออกแบบโดย Alison Brooks Architects สำหรับจัดแสดงงานภายในงาน London Design Festival 2016 โครงสร้างของอาคารหลังนี้นำไม้แปรรูป CLT (Cross-Laminated Timber) จากทิวลิปวูดอเมริกันมาใช้งานทั้งหมด The Smile สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง London Design Festival, Alison Brooks Architects, AHEC และ Arup

อ่านเรื่องราวของ The Smile เพิ่มเติมได้ที่ art4d.com/2016/09/the-smile

Vessel

Photo: Petr Krejci Photography

ประติมากรรมชิ้นนี้ผลิตขึ้นจากไม้โอ๊คสีขาวตามความต้องการของสถาปนิกผู้ล่วงลับ Zaha Hadid ซึ่งมอบหมายให้ Gareth Neal สร้างเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ไม่เหมือนใคร งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Wish List ของ AHEC

Bloomberg’s European Headquarters


Photo: Nigel Young / Foster + Partner

สำนักงานใหญ่ในยุโรปของ Bloomberg ที่ได้รับการออกแบบโดย Foster + Partners อาคารหลังนี้ได้รับรางวัล RIBA Stirling Prize ในปี 2018 ได้รับคะแนน BREEAM ที่ 98.5% และได้รับการยอมรับว่าเป็นอาคารสำนักงานที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนมากที่สุดในโลก ไม้โอ๊คสีแดงขนาด 1,852 ตารางเมตร ถูกนำมาใช้สำหรับพื้นที่ Vortex ที่เราจะเห็นทันทีที่เดินเข้าสู่ล็อบบี้ นอกเหนือจากคุณสมบัติของอาคารในแง่ของการใช้พลังงานทดแทน การประหยัดพลังงานและคาร์บอนแล้ว ไม้โอ๊คสีแดงอเมริกันยังช่วยสร้างความอบอุ่นที่ให้กับพื้นที่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี

americanhardwood.org/sea

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *