






art4d: เห็นว่าเลือกดีไซน์พื้นที่รูปแบบ café และ co-working space แล้วส่วนตัวมองว่าอนาคตของพื้นที่สองรูปแบบนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
บัณฑิตทัศน์: สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ café และ co-working space มีบทบาทสำคัญในการรองรับคนในชุมชนที่ออกมาเรียนหรือทำงานนอกบ้าน ในด้านการออกแบบ café และ co-working space จะมีลักษณะใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น มีพื้นที่เปิดโล่งรับอากาศบริสุทธิ์ มีการถ่ายเทอากาศที่ดี รวมถึงมีการออกแบบให้มี social distancing ลดความแออัดในพื้นที่ที่มากขึ้นตามมา
art4d: สะท้อนแนวคิดพื้นที่ café และ co-working space ในอนาคตออกมาในงานดีไซน์อย่างไร
บัณฑิตทัศน์: การออกแบบ café และ co-working space ในครั้งนี้ สะท้อนออกมาเป็นที่ทำงานที่แยก unit ย่อยใน scale ขนาดเล็กเพื่อสร้างระยะห่างและลดความแออัดในพื้นที่ ผู้ใช้งานสามารถนั่งทำงานได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน มีพื้นที่สีเขียวเป็น planter แนวตั้งปกคลุมรอบด้าน ซึ่งมีความเปิดโล่ง สามารถรับลมและระบายอากาศธรรมชาติ ต้นไม้ในกระถางยังช่วยกรองอากาศ แสง ฝุ่น และสร้างอากาศบริสุทธิ์ให้กับพื้นที่ทำงาน
art4d: ทำไมถึงใช้วัสดุตกแต่งเอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ซี-ชาแนล หรือ ซี-ชาแนล พลัส เป็นวัสดุหลักชิ้นเดียวในงานดีไซน์
บัณฑิตทัศน์: การใช้วัสดุเพียงชิ้นเดียวเป็นการให้ความสำคัญและแสดงคุณค่าของวัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ซี-ชาแนลหรือ ซี-ชาแนล พลัส ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงของตกแต่ง แต่สามารถนำมาประยุกต์ให้กลายเป็นองค์ประกอบหลักของสถาปัตยกรรม และเรามองเห็นศักยภาพในตัววัสดุที่มีรูปทรงตัวยู ซึ่งสามารถนำมาพลิกกลับให้เกิดเป็นรางใส่กระถางต้นไม้ และสามารถนำมาประกอบกันให้เกิดเป็นกล่องซ่อนงานระบบและโครงสร้าง และยังประกอบกันเป็นโต๊ะ เก้าอี้เคาน์เตอร์ บันได ซึ่งก่อรูปรวมกันกลายเป็นสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม
art4d: จากปัญหาโรคระบาด มองว่าพื้นที่บ้านแบบเดิมๆ มีปัญหาอะไรบ้าง
พีรพล: จากปกติที่มนุษย์ใช้เวลาอยู่ในบ้านแค่ช่วงพักผ่อน แต่เมื่อมีโรคระบาด บ้านต้องปรับเป็นพื้นที่ที่สามารถทำกิจกรรมได้แทบทุกอย่าง แต่บ้านที่มีอยู่ดั้งเดิมไม่ได้ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาได้
art4d: ทำไมถึงเลือกออกแบบบ้านให้เป็นอาคารในระบบโมดูลาร์ (modular)
พีรพล: เราอยากออกแบบให้ ‘บ้าน’ หลังนี้เป็นบ้านที่สามารถต่อเติมและปรับเปลี่ยนได้ง่ายเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ จึงเลือกใช้โครงสร้างระบบโมดูลาร์ (modular) ขนาด 3x3x3 เมตร ซึ่งมีข้อดีคือสามารถผลิตง่าย รื้อถอนติดตั้งได้รวดเร็ว และกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
art4d: หน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade) ช่วยเติมเต็มงานดีไซน์นี้อย่างไร
พีรพล: façade ช่วยในการแบ่งขอบเขตของพื้นที่การใช้งานทั้งแนวราบและแนวดิ่ง โดยแนวราบเราจะแบ่งพื้นที่ด้วยผนังที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่ และสามารถมองเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับในแนวดิ่ง ที่ façade ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกส่วนตัวแต่ก็มองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นๆ ได้
art4d: เลือกใช้วัสดุตกแต่งอะไรบ้างในผลงานครั้งนี้
พีรพล: 1. ผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น โมดิน่า ไลท์ (L1) โดยนำวัสดุนี้มาออกแบบเป็นผนังที่สามารถเลือกเปิดหรือปิดได้ตลอดเวลา
2. พื้นตกแต่งเอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ที-คลิป สีสำเร็จ ไร้รอยหัวสกรู วัสดุพื้นไม้ที่ให้บรรยากาศอบอุ่น เหมือนบ้านไทยในสมัยก่อน
3. ไม้ตกแต่งบันไดลูกนอน เอสซีจี
art4d: เล่าแนวคิดในการออกแบบผลงานนี้ให้เราฟังหน่อย
ทศพร: การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้ระยะห่างของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลง การออกแบบหน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade) จึงเป็นอีกสิ่งที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง Borderless เป็นผลงานที่เสนอขอบเขตของพื้นที่ที่พร่าเลือน เพื่อให้คนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ แต่ก็ยังรักษาระยะห่างระหว่างผู้คน ในเวลาเดียวกัน ผนังก็ได้รับการออกแบบให้เป็นผนังเลื่อน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ภายในได้ตลอดเวลา
art4d: มีแนวคิดในการเลือกใช้วัสดุอย่างไรบ้าง
ทศพร: วัสดุหลักที่ใช้ในงานประกอบด้วย กองทราย ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของตัวเองได้ตลอดเวลา สามารถเป็นขอบเขตและไม่เป็นขอบเขตได้ในเวลาเดียวกัน ผนังระแนงไม้ เป็นวัสดุที่โปร่งและมีขอบเขตที่ชัดเจน และผนังไม้ทึบ เป็นองค์ประกอบที่สร้างขอบเขตชัดเจนที่สุด โดยผนังระแนงไม้และผนังไม้ทึบเลือกใช้ ผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น วูด-ดี
Ash Wood series มีสีเบจ สีน้ำตาล และสีโอ๊ค และไม้ตกแต่งอเนกประสงค์ เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลน์
art4d: มองแนวโน้มการออกแบบในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องวัสดุ
ทศพร: คิดว่าในอนาคต จะเป็นเทรนด์ของวัสดุที่มีรูปทรงเรขาคณิตเรียบง่าย ส่งเสริมให้ผู้ออกแบบนำไปต่อยอดในงานออกแบบได้หลากหลาย
art4d: ทำไมถึงเลือกเสนอผลงานการ renovate พื้นที่ร้านกาแฟเดิม
สุทธิกร: เพราะต้องการพื้นที่ระเบียงของชั้น 2 เพิ่มเติม แต่ก็ไม่อยากรื้อหลังคาของร้านกาแฟเดิม จึงเลือกออกแบบระเบียงที่ซ้อนอยู่บนหลังคาเดิม และสร้างหน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade) รอบๆ ระเบียง เป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนของบ้านให้มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น และทำให้ผู้คนในบ้านได้มีพื้นที่ทำกิจกรรม outdoor ร่วมกัน
art4d: มีแนวคิดในการเลือกใช้วัสดุในงานอย่างไร
สุทธิกร: ต้องการวัสดุที่ง่ายต่อการติดตั้งในพื้นที่แคบ เพราะเป็นงานปรับปรุงอาคารเดิมที่มีเพื่อนบ้านอาศัยอยู่รอบๆ จึงเลือกใช้พื้นตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ที-คลิป ขนาด 20x300x2.5 ซม. ไม้ฝา เอสซีจี 15×300 ไนท์เกรย์ คูลพลัส (ตีซ้อนเกร็ดแนวนอน) ไม้ตกแต่งอเนกประสงค์ เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลน์ และตกแต่งผนัง ด้วย ระแนงตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น รัสติค 7.5x300x0.8 ซม. ซีเมนต์ (ตีซ้อนเกร็ดแนวนอน)
จากที่บ้านเคยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด แต่เมื่อเกิดโรคระบาด บ้านกลับกลายเป็นอีกที่ที่อันตรายที่สุด ญารินดา บุนนาค สถาปนิกจาก Imaginary Objects จึงออกแบบพื้นที่ House/ Residence แบบใหม่สำหรับครอบครัวขยาย ที่มีลักษณะเป็นที่พักอาศัยแนวตั้ง ตามเทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคตที่คนหันมาอยู่ในเมืองที่มีความหนาแน่นของตึกรามบ้านช่องมากขึ้น
ญารินดาตั้งใจให้ House/Residence มอบความรู้สึกปลอดภัยทางกายและใจกับผู้ใช้งาน ด้วยการนำพื้นที่ที่ใช้งานส่วนรวมอย่าง terrace หรือทางเดิน มาร้อยรึงภายนอกพื้นที่ส่วนตัว และออกแบบให้เป็นพื้นที่แบบ open-air ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความรู้สึกแออัดและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ขณะเดียวกัน พื้นที่ส่วนตัวด้านในก็สามารถเปิดรับอากาศจากธรรมชาติ พร้อมมี หน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกรองแสงแดดและสายฝน
ในด้านวัสดุตกแต่งฟาซาด (façade) ญารินดาใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลท์วูด ที่ตอบโจทย์การใช้งานด้วยความแข็งแรง และความคงทนต่อสภาพอากาศในเมืองไทยที่รุนแรง และยังมีการเคลือบสีและการทำลวดลายไม้อันช่วยห้งานดีไซน์มีความเป็นกันเองมากขึ้น
จากที่บ้านเคยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด แต่เมื่อเกิดโรคระบาด บ้านกลับกลายเป็นอีกที่ที่อันตรายที่สุด ญารินดา บุนนาค สถาปนิกจาก Imaginary Objects จึงออกแบบพื้นที่ House/ Residence แบบใหม่สำหรับครอบครัวขยาย ที่มีลักษณะเป็นที่พักอาศัยแนวตั้ง ตามเทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคตที่คนหันมาอยู่ในเมืองที่มีความหนาแน่นของตึกรามบ้านช่องมากขึ้น
ญารินดาตั้งใจให้ House/Residence มอบความรู้สึกปลอดภัยทางกายและใจกับผู้ใช้งาน ด้วยการนำพื้นที่ที่ใช้งานส่วนรวมอย่าง terrace หรือทางเดิน มาร้อยรึงภายนอกพื้นที่ส่วนตัว และออกแบบให้เป็นพื้นที่แบบ open-air ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความรู้สึกแออัดและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ขณะเดียวกัน พื้นที่ส่วนตัวด้านในก็สามารถเปิดรับอากาศจากธรรมชาติ พร้อมมี หน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกรองแสงแดดและสายฝน
ในด้านวัสดุตกแต่งฟาซาด (façade) ญารินดาใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลท์วูด ที่ตอบโจทย์การใช้งานด้วยความแข็งแรง และความคงทนต่อสภาพอากาศในเมืองไทยที่รุนแรง และยังมีการเคลือบสีและการทำลวดลายไม้อันช่วยห้งานดีไซน์มีความเป็นกันเองมากขึ้น
หลายคนถือโอกาสช่วงโรคระบาดที่คนไม่ได้ออกจากบ้านมาปรับปรุงร้านรวงของตัวเองให้ดูเหมือนใหม่ ศุภรัตน์ ชินะถาวร สถาปนิกจาก party / space / design เสนอไอเดียการพลิกโฉมร้าน ด้วยการดีไซน์ หน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade ใหม่ของ USBcoffeelab คาเฟ่ที่เปรียบเป็นเสมือนห้องทดลองของออฟฟิศ party / space / design
ศุภรัตน์เสนอการรีดีไซน์ในคอนเซปต์ ‘Negotiation Skin’ หรือการต่อรองระหว่างการรักษากลิ่นอายดีไซน์ดั้งเดิม และการเพิ่มเติมรสชาติดีไซน์ใหม่ๆ โดยในงานนี้ ศุภรัตน์ใช้ไม้ตกแต่งอเนกประสงค์ เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลน์ ในการตกแต่งฟาซาด (façade) และวัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น บัวผนัง ที่ช่วยมิติ ตลอดจนสร้างแสงและเงาให้งานออกแบบ มีน้ำหนักเบา และติดตั้งง่าย มาตกแต่งภายใน ทั้งภายในและภายนอกอาคาร สร้างเส้นสายแนวตั้งและแนวทแยงอันสดใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งลายความดิบตามแบบฉบับของ USBcoffeelab
หลายคนถือโอกาสช่วงโรคระบาดที่คนไม่ได้ออกจากบ้านมาปรับปรุงร้านรวงของตัวเองให้ดูเหมือนใหม่ ศุภรัตน์ ชินะถาวร สถาปนิกจาก party / space / design เสนอไอเดียการพลิกโฉมร้าน ด้วยการดีไซน์ หน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade ใหม่ของ USBcoffeelab คาเฟ่ที่เปรียบเป็นเสมือนห้องทดลองของออฟฟิศ party / space / design
ศุภรัตน์เสนอการรีดีไซน์ในคอนเซปต์ ‘Negotiation Skin’ หรือการต่อรองระหว่างการรักษากลิ่นอายดีไซน์ดั้งเดิม และการเพิ่มเติมรสชาติดีไซน์ใหม่ๆ โดยในงานนี้ ศุภรัตน์ใช้ไม้ตกแต่งอเนกประสงค์ เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลน์ ในการตกแต่งฟาซาด (façade) และวัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น บัวผนัง ที่ช่วยมิติ ตลอดจนสร้างแสงและเงาให้งานออกแบบ มีน้ำหนักเบา และติดตั้งง่าย มาตกแต่งภายใน ทั้งภายในและภายนอกอาคาร สร้างเส้นสายแนวตั้งและแนวทแยงอันสดใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งลายความดิบตามแบบฉบับของ USBcoffeelab
แม้การทำงานที่บ้านในช่วงโรคระบาดจะทำให้เราไม่ได้เห็นหน้าค่าตากัน แต่ ฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล สถาปนิกจาก CHAT Architects มองเห็นข้อดีอย่างหนึ่งของการทำงานที่บ้านก็คือการมีบรรยากาศในการทำงานที่ผ่อนคลาย ฉัตรพงษ์จึงหยิบข้อดีนี้มาปรับใช้ในผลงานการปรับปรุงฟาซาด (façade) ของออฟฟิศ CHAT Architects เอง ให้กลายเป็นที่ทำงานในบรรยากาศผ่อนคลายเสมือนอยู่บ้าน และยังรองรับการทำงานได้หลากหลายอิริยาบท
เพื่อสร้างบรรยากาศสบายๆ และแต่งเติมลูกเล่นให้งานดีไซน์ ฉัตรพงษ์ใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ซี-ชาแนล พลัส ที่สามารถติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว และแข็งแรงทนทาน มากรุที่ ฟาซาด (façade) นอกจากวัสดุจะช่วยสร้างผืนผนังที่ดูสวยงามและผ่อนคลายแล้ว วัสดุก็ยังมีฟังก์ชันเป็นชั้นวางของและรางรองรับท่อของงานระบบเช่นกัน
อีกดีเทลที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการนำเสนอคาแรกเตอร์อันเฉพาะตัวของกรุงเทพฯ โดยเลือกใช้ผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น สมาร์ทบอร์ด เอชดี ที่มีคุณสมบัติออกแบบและผลิตเป็นลวดลายฉลุต่างๆ ได้ตามจินตนาการของนักออกแบบ ซึ่งผมเลือกทำเป็นลายรูปตุ๊กแก และลายกราฟิกที่ได้แรงบันดาลใจจากเสาต่อม่อทางด่วนของกรุงเทพฯ
แม้การทำงานที่บ้านในช่วงโรคระบาดจะทำให้เราไม่ได้เห็นหน้าค่าตากัน แต่ ฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล สถาปนิกจาก CHAT Architects มองเห็นข้อดีอย่างหนึ่งของการทำงานที่บ้านก็คือการมีบรรยากาศในการทำงานที่ผ่อนคลาย ฉัตรพงษ์จึงหยิบข้อดีนี้มาปรับใช้ในผลงานการปรับปรุงฟาซาด (façade) ของออฟฟิศ CHAT Architects เอง ให้กลายเป็นที่ทำงานในบรรยากาศผ่อนคลายเสมือนอยู่บ้าน และยังรองรับการทำงานได้หลากหลายอิริยาบท
เพื่อสร้างบรรยากาศสบายๆ และแต่งเติมลูกเล่นให้งานดีไซน์ ฉัตรพงษ์ใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ซี-ชาแนล พลัส ที่สามารถติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว และแข็งแรงทนทาน มากรุที่ ฟาซาด (façade) นอกจากวัสดุจะช่วยสร้างผืนผนังที่ดูสวยงามและผ่อนคลายแล้ว วัสดุก็ยังมีฟังก์ชันเป็นชั้นวางของและรางรองรับท่อของงานระบบเช่นกัน
อีกดีเทลที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการนำเสนอคาแรกเตอร์อันเฉพาะตัวของกรุงเทพฯ โดยเลือกใช้ผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น สมาร์ทบอร์ด เอชดี ที่มีคุณสมบัติออกแบบและผลิตเป็นลวดลายฉลุต่างๆ ได้ตามจินตนาการของนักออกแบบ ซึ่งผมเลือกทำเป็นลายรูปตุ๊กแก และลายกราฟิกที่ได้แรงบันดาลใจจากเสาต่อม่อทางด่วนของกรุงเทพฯ
art4d: ทำไมถึงเลือกออกแบบพื้นที่ co-working และตอบโจทย์พื้นที่ co-working ในอนาคตอย่างไร
นิติกร: การทำงานในปัจจุบัน เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่วัยรุ่นสามารถเป็นเจ้าของกิจการด้วยตัวเองแต่ก็ไม่ต้องมีพื้นที่ออฟฟิศของตัวเอง เราจึงมองว่าหากมีพื้นที่ทำงานรองรับกลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งกลุ่มฟรีแลนซ์ (freelance) ด้วย ก็จะเป็นการตอบโจทย์มาก ในงานออกแบบ มีการแบ่งโซนการแชร์พื้นที่ทำงานทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม แต่ละพื้นที่ถูกออกแบบให้ตรงกับความต้องการในการใช้งาน
art4d: หน้ากากอาคารหรือฟาซาด (façade) มีความสำคัญกับงานออกแบบนี้อย่างไร?
นิติกร: ฟาซาด (façade) ช่วยให้เกิดมิติของแสงเงาธรรมชาติที่ตกกระทบกับตัวอาคาร ทำให้เกิดความสวยงาม ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ และช่วยกรองแสงแดดในตัว สำหรับวัสดุที่เลือกใช้ในงานคือผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น โมดิน่า และพื้นตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น เซฟเวอร์ สีซีเมนต์ ที่ดูเรียบง่าย ตามเทรนด์การออกแบบวัสดุในปัจจุบัน
เพราะรูปแบบการพักผ่อนและการท่องเที่ยวในอนาคตจะเปลี่ยนไป ปิตุพงษ์ เชาวกุล สถาปนิกจาก Supermachine Studio จึงจินตนาการถึงพื้นที่ Hotel สุดล้ำในอนาคต ที่ หน้ากากอาคารหรือฟาซาด ( façade) ได้ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี จนสามารถปรับเปลี่ยนองศาการเปิดปิดได้เองตามการใช้งาน เช่น หากผู้เข้าพักต้องการความเป็นส่วนตัว ฟาซาด ( façade) ก็จะปิดตัวเองให้ทึบ หรือหากต้องการโต๊ะนั่งทำงาน ต้องการม้านั่ง ฟาซาด ( façade) ก็จะสามารถหมุนองศาเพื่อประกอบร่างเป็นเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ฟาซาด ( façade) ยังเปิดปิดตอบรับกับสภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอีกด้วย
เพื่อเติมเต็มมิติด้านความสวยงาม ปิตุพงษ์ เลือกใช้ผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น โมดิน่า และรุ่นโมดิน่า ไลท์ ที่โดดเด่นด้วยเส้นสายนูนต่ำ มาเป็นวัสดุตกแต่งสถาปัตยกรรมตลอดจนฟาซาด ( façade) เรียกว่าดูหลุดออกมาจากในอนาคต ทั้งแนวคิด และหน้าตาของ ฟาซาด ( façade)
เพราะรูปแบบการพักผ่อนและการท่องเที่ยวในอนาคตจะเปลี่ยนไป ปิตุพงษ์ เชาวกุล สถาปนิกจาก Supermachine Studio จึงจินตนาการถึงพื้นที่ Hotel สุดล้ำในอนาคต ที่ หน้ากากอาคารหรือฟาซาด ( façade) ได้ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี จนสามารถปรับเปลี่ยนองศาการเปิดปิดได้เองตามการใช้งาน เช่น หากผู้เข้าพักต้องการความเป็นส่วนตัว ฟาซาด ( façade) ก็จะปิดตัวเองให้ทึบ หรือหากต้องการโต๊ะนั่งทำงาน ต้องการม้านั่ง ฟาซาด ( façade) ก็จะสามารถหมุนองศาเพื่อประกอบร่างเป็นเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ฟาซาด ( façade) ยังเปิดปิดตอบรับกับสภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอีกด้วย
เพื่อเติมเต็มมิติด้านความสวยงาม ปิตุพงษ์ เลือกใช้ผนังตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น โมดิน่า และรุ่นโมดิน่า ไลท์ ที่โดดเด่นด้วยเส้นสายนูนต่ำ มาเป็นวัสดุตกแต่งสถาปัตยกรรมตลอดจนฟาซาด ( façade) เรียกว่าดูหลุดออกมาจากในอนาคต ทั้งแนวคิด และหน้าตาของ ฟาซาด ( façade)
โรงแรม หมายถึง สถานที่ประกอบการเชิงการค้าที่นักธุรกิจตั้งขึ้น เพื่อบริการผู้เดินทางในเรื่องของที่พักอาศัย อาหาร และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพักอาศัยและเดินทาง หรืออาคารที่มีห้องนอนหลายห้อง ติดต่อเรียงรายกันในอาคารหนึ่งหลังหรือหลายหลัง ซึ่งมีบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกของผู้ที่มาพัก ซึ่งเรียกว่า “แขก” (guest)
คำว่า hotel หรือ โรงแรมมีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสซึ่งแปลว่า คฤหาสน์ โรงแรมแห่งแรกในยุโรปคือ Hotel de Hanri IV (โฮเทล เดอ อองรี กัต) เมื่อปี ค.ศ. 1788 โดยในสมัยก่อนใช้คำว่า hôtel และภายหลังได้เปลี่ยนตัวโอมาเป็นโอปกติในภาษาอังกฤษเป็น hotel เหมือนปัจจุบันโรงแรม หมายถึง สถานที่ประกอบการเชิงการค้าที่นักธุรกิจตั้งขึ้น เพื่อบริการผู้เดินทางในเรื่องของที่พักอาศัย อาหาร และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพักอาศัยและเดินทาง หรืออาคารที่มีห้องนอนหลายห้อง ติดต่อเรียงรายกันในอาคารหนึ่งหลังหรือหลายหลัง ซึ่งมีบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกของผู้ที่มาพัก ซึ่งเรียกว่า “แขก” (guest)
โรงแรม หมายถึง สถานที่ประกอบการเชิงการค้าที่นักธุรกิจตั้งขึ้น เพื่อบริการผู้เดินทางในเรื่องของที่พักอาศัย อาหาร และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพักอาศัยและเดินทาง หรืออาคารที่มีห้องนอนหลายห้อง ติดต่อเรียงรายกันในอาคารหนึ่งหลังหรือหลายหลัง ซึ่งมีบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกของผู้ที่มาพัก ซึ่งเรียกว่า “แขก” (guest)