ป้ายกำกับ: Hamburg

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

หลังจากได้นำเสนอเบื้องหลังแนวคิดการดีไซน์อาคาร ELBPHILHARMONIE HAMBURG กันไปในครั้งก่อน คราวนี้ไปเจาะลึกถึง façade กระจกของอาคารที่ประกอบด้วย Guardian ExtraClear®, Guardian ClimaGuard® และ Guardian SunGuard® ที่ก่อให้เกิดเส้นสายดั่งคลื่นน้ำและท่าเรือใกล้เคียง

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Façade กระจกดัดโค้งรูปร่างประหลาดตา กลายเป็นภาพจำของโปรเจ็คต์ Elbphilharmonie Hamburg ผลงานออกแบบจาก Herzog & de Meuron ที่นำคลังสินค้าเก่ามาออกแบบใหม่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง Hamburg ที่เต็มไปด้วยกิจกรรม ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ และ โรงแรม

จากแนวความคิดในการออกแบบที่มาจากคลื่นน้ำ นำมาสู่การพัฒนารูปร่างของกระจกให้เกิดความโค้งแบบ 3 มิติ ด้วยพื้นที่ของ Façade กว่า 21,800 ตารางเมตร โดยมีส่วนที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกโค้งกว่า 5,000 ตารางเมตร ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันกับ Guardian Glass และโครงการ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่เคยมีการพัฒนากระจกในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของรูปลักษณ์เท่านั้น แต่แผงกระจกนี้ยังคงต้องคงคุณสมบัติต่างๆ ไว้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งความเข็งแรง ความปลอดภัย และ การลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร

สถาปนิกเลือกนำกระจก 3 ชั้นมาดัดโค้งและประกอบจนเกิดเป็นรูปแบบตามความต้องการ นอกจากที่จะตอบโจทย์ในแง่ของความสวยงามแล้ว กระบวนการผลิตก็ยังคงคุณสมบัติต่างๆ ของกระจกไว้ได้อย่างดีแม้ว่าจะนำไปดัดโค้ง ทำให้สามารถรักษาประสิทธิภาพของผิวกระจก Low-E ที่สามารถควบคุมความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อย่างครบถ้วน

กระจกที่เลือกมาใช้ในโครงการ Elbphilharmonie Hamburg นั้นประกอบไปด้วย Guardian ExtraClear® กระจกโฟลตใส ที่เลือกใช้เป็นกระจกหลักกับ Façade ของอาคาร เพื่อให้มีความโปร่งใส รวมถึง Guardian ClimaGuard® DT กระจกฉนวนความร้อน มีที่คุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิจากภายนอกสู่ภายในได้ดี  มีความแข็งแรงทนทาน และ Guardian SunGuard® Solar Light Blue 52 กระจกควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าสู่ตัวอาคาร สามารถส่งผ่านแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร หรือ Visible Light Transmission (VLT) ที่ 47% และ ส่งผ่านความร้อนเพียง 36% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และ ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้

จากเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคาร Elbphilharmonie Hamburg นี้ ทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ในการนำกระจกมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งหากเรานำการออกแบบ มาผสมผสานกับองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ และ กระบวนการผลิตนั้น ก็จะช่วยให้มองเห็นความเปิดกว้างในงานออกแบบมากขึ้นในอนาคต

และย้อนดูบทความเกี่ยวกับเบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบอาคาร Elbphilharmonie Hamburg ได้ที่

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

Herzog & de Meuron สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ ‘Elbphilharmonie Hamburg’ ปรับปรุงคลังสินค้าเก่าให้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี ด้วย façade กระจกผิวโค้งมน 3 มิติ ที่เกิดจากการร่วมพัฒนากับ Guardian Glass เป็นครั้งแรก

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Elbphilharmonie Hamburg เป็นหนึ่งในอาคารที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงาม และมีระบบการออกแบบ Acoustic ที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลกอย่าง Herzog & de Meuron เจ้าของรางวัล Prizker Prize เมื่อปี 2001 ที่มีแนวทางการออกแบบในการประยุกต์ การผสมผสานสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมของพวกเขาอยู่เสมอ

ความน่าสนใจของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่หน้าตาของอาคาร และเทคโนโลยี แต่ยังแสดงถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รวมทั้งอาคารหลังเก่าก็ช่วยสร้างให้เกิดความพิเศษขึ้นมา เดิมที่พื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งคลังสินค้าหลวง (Kaispeicher) โดยทางรัฐบาลมีแนวคิด ที่จะพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายในพื้นที่สาธารณะการออกแบบจึงเริ่มต้นจากการรักษาอาคารคลังสินค้าเก่าและสร้างโครงสร้างใหม่ต่อยอดขึ้นไปด้านบน เกิดเป็นการผสมผสานระหว่างอาคารก่ออิฐและอาคารผิวกระจกที่มีความน่าสนใจอย่างมาก จากด้านล่างที่พื้นที่ต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ห้อมล้อม และผ่านตัวอาคารคลังสินค้าเก่านี้ ก่อนที่จะขึ้นไปพบกับฟังก์ชั่นที่หลากหลายด้านบน ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รวมถึงดาดฟ้าที่สามารถชมวิวท่าเรือของเมือง Hamburg ได้

ใจความสำคัญของโครงการคงหนีไม่พัน ส่วนขยายต่อเติมที่เป็นอาคารกระจกด้านบนที่ถูกออกแบบให้มีความสุนทรียศาสตร์เพื่อให้สอคล้องไปกับฟังก์ชั่นที่เป็นโรงแสดงดนตรี โดยนำเส้นโค้งและการบิดตัวของพื้นผิวต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งาน สื่อถึงความเป็นท่าเรือโดยได้แรงบันดาลใจมากจากผ้าใบเรือ และรูปลักษณ์ของคลื่นบนพื้นผิวของ façade ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร ไม่บ่อยครั้งนักที่วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกจะถูกนำมาดัดโค้งบิดรูปจนเกิดเป็นพื้นผิวที่โค้งมน 3 มิติ ทำให้สถาปนิกนั้นสามารถออกแบบได้อย่างอิสระเพื่อให้ใกล้เคียงกับแนวความคิดมากที่สุด โดยได้พัฒนาร่วมกัน Guardian Glass เพื่อมองหาความเป็นไปได้นี้

ความน่าสนใจคือการสร้างกระจกที่บิดตัวเป็นแบบ 3 มิติ ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในโครงการนี้ ผ่านการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อที่จะรักษารูปแบบของกระจกพร้อมกับคงคุณสมบัติของกระจกแต่ละประเภทไว้ ทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร การป้องกันความร้อนเข้าสู่พื้นที่ภายใน โดยในโครงการนี้ได้เลือกใช้กระจกอย่างรุ่น Extra Clear, ClimaGuard®, SunGuard® มาผสมผสานกันเพื่อให้งานออกแบบนั้นสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสำหรับงานสถาปัตยกรรมแล้ว การพัฒนาในแง่ของวัสดุครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดในงานออกแบบต่างๆ ในอนาคต

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com