ป้ายกำกับ: material
PHOTO ESSAY : TWO THINGS ON THE WAY
TEXT: CHIWIN LAOKETKIT
PHOTO: CHAICHARN PHOTOGRAPHY
(For English, press here)
เมื่อสายตาของเราชำเลืองมองบางสิ่ง เมื่อนั้นความคิดที่อยู่เบื้องหลังสายตามักจะพยายามหาคำอธิบายต่อสิ่งนั้น พลันเมื่อได้เดินทางผ่านส่วนเสี้ยวของถนนในเมืองกรุงเทพฯ ด้วยการเดินเท้าจากสถานีรถไฟฟ้าไปตามจุดหมายในสถานที่ต่างๆ เวลาที่เราใช้ในการพินิจพิเคราะห์สิ่งที่อยู่รอบตัวดูเหมือนจะช้าลง จนสามารถสังเกตเห็นถึงความแตกต่างและความไม่ลงรอยกัน ทั้งความธรรมดาหรือแม้แต่ความพิเศษ ไปจนถึงพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในรูปแบบของอาคาร บ้านเรือน และถนนที่เป็นเสมือนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองและสถานที่แห่งนั้นได้เป็นอย่างดี
‘TWO THINGS ON THE WAY’ เป็นชุดภาพถ่ายบันทึกการเดินทางสำรวจย่านที่รุ่มรวยวัฒนธรรม ตรอกเล็กซอกน้อยในบริเวณถนนทรงวาด ซอยนานา ตลอดจนห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ และแลนด์มาร์กสำคัญบนถนนบรรทัดทองและถนนนราธิวาสฯ ซึ่งเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันผ่านพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า ‘ย่านเก่า’ กับ ‘ย่านใหม่’ อันปะปนไปด้วยไลฟ์สไตล์และความหลากหลายทางเจเนอเรชัน
ภาพถ่ายชุดนี้พาเราเดินทางผ่านการเชื่อมโยงกับวัตถุในรูปลักษณ์ของเครื่องทำน้ำอุ่น MEX CRAVE Series ซึ่งเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลที่ทันสมัย และแสดงให้เห็นถึงความเว้าโค้งเสมือนแผ่นกระเบื้องสามมิติที่มีความเงางามสะท้อนแสงแดด
MEX CRAVE Series เครื่องทำน้ำอุ่นโอบรับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีของระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำแบบอัจฉริยะ Smart Electronic Control ที่สามารถใช้งานได้ด้วยระบบสัมผัส และ Rapid Preheat ฟังก์ชันปรับอุณหภูมิของน้ำได้ตามความต้องการอย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยจะมีการผลิตอิดิชั่นใหม่ภายใต้คอนเซปต์ ‘DIGITAL IS NOW’ ที่มีทั้งสี Dark Emerald (เขียว) และสี Metallic Red (แดง) สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 – 31 มีนาคม 2568
อ่านเรื่องราวของ MEX CRAVE Series ได้ที่
WUTHIPOL UJATHAMMARAT
สนทนากับ วุฒิพล อุจจธรรมรัตน์ ศิลปินสิ่งพิมพ์อิสระและนักออกแบบการสื่อสาร ที่ถูกจดจำในฐานะเจ้าของผลงานภาพถ่ายสีสันฉูดฉาดซึ่งมักกระตุ้นให้ผู้คนฉุกคิดและถกถามต่อสิ่งที่ปรากฏในภาพถ่ายของเขาอยู่เสมอ
SPARKLING MARKET
โครงการออกแบบและปรับปรุงตลาดป๋อกวงที่ท่าเรือซินจู๋ได้แรงบันดาลใจจากคลื่นทะเลและเฉดสีของเม็ดทราย จนกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวและแลนด์มาร์กของไต้หวัน
HOUSE OF BEAVER
จากการออกแบบที่ล้อรับการกัดแทะของตัวบีเวอร์สู่คาเฟ่และร้านอาหารย่านดอนเมือง พื้นที่เสริมสร้างการเรียนรู้และขับเคลื่อนแรงบันดาลใจ โดย vice versa
CHONBURI MULTI-PURPOSED BUILDING
โปรเจ็กต์อาคารอเนกประสงค์แห่งนี้เลือกใช้ผนังดินอัดมาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างสภาวะน่าสบาย ผ่านการจัดหา ศึกษาสูตรการผสม และทำต้นแบบก่อนการก่อสร้างจริง
Read More
MR.NEW’S CABIN
ธรรมชาติและลมหนาวคือสองสิ่งที่บ้าน Mr.New’s Cabin หลังนี้เปิดรับ โดย Housescape Design Lab ออกแบบให้ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว และเป็นบ้านที่ใช้งานได้หลากหลายไปพร้อมกัน
Read More
A MILLION LITTLE ODD THINGS, THE LAST PROMISE, AND ONE BIG PICTURE
นิทรรศการนี้นำเสนอชุดสิ่งของและผลงานของ นพไชย อังควัฒะนพงษ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของความทรงจำร่วมกันกับคู่ชีวิต อีกทั้งยังสะท้อนคำถามต่อบทบาททางเพศ และโครงสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ของตลาดนัดงานศิลปะ
Read More
WINDSOR: LIVING
ตัวอย่างการใช้งานกรอบประตูหน้าต่างวินด์เซอร์ในที่พักอาศัย ซึ่งมีเทคโนโลยีฟิล์มลามิเนตที่สามารถมอบลายไม้และผิวสัมผัสให้เจ้าของบ้านได้
Read More
PHOTO ESSAY : CLUSTERED OF PATTERNS
TEXT & PHOTO: JUTI KLIPBUA
(For English, press here)
กลุ่มมวลของลวดลาย
การตกแต่งในสถาปัตยกรรมไทยและประเทศเพื่อนบ้านนั้น การใส่รายละเอียดอาจมองเป็นเพียงงานตกแต่งเพื่อแสดงความวิจิตรงดงาม แต่ส่วนตัวของผมนั้นการสนใจรายละเอียดเหล่านี้ ในฐานะที่ทำหน้าที่ลดทอนสัดส่วนของอาคาร ลดความแข็งทื่อของจังหวะการปะทะกันของส่วนประกอบต่างๆ ผมเริ่มสนใจถ่ายภาพรายละเอียดส่วนต่างๆของอาคารเหล่านี้เก็บไว้เมื่อมีโอกาส ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสมัยเรียนสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุคนั้นช่างน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักศึกษาอย่างเรา สถาปัตยกรรมไทยที่เห็นตามวัดวาที่ผ่านตามาตั้งแต่เด็กจนโตไม่อยู่ในความสนใจเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากประสบการณ์การทำงานและการเดินทาง ได้ขัดเกลาส่งผลต่อความเข้าใจในความงามและเชิงการช่างและงานฝีมือมีมากขึ้น ยอมรับเลยว่ากล้องของผมก็เต็มไปด้วยภาพถ่ายการย่อมุม ขอบหน้าต่าง การติดกระจกสี และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมไทยและจนขยายไปถึงของประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่ได้มีโอกาสไปเยือนมากมาย
ผมชอบที่วิธีการถ่ายเจาะและอัดจังหวะให้รายละเอียดเหล่านี้อยู่ในเฟรมเดียวกันโดยไม่ได้เสนอให้เห็นภาพใหญ่ของอาคารมากนัก หลายๆ ครั้งรายละเอียดเหล่านี้ก็กลายเป็นรูปทรงของสถาปัตยกรรมด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นเหมือนขอบของแถวอาคารวัดวาโบราณต่อเนื่องกันเป็นแถวๆ และให้มุมมองคล้ายกับลวดลายผ้าหรือ graphic design ที่เป็นเอกลักษณ์ของช่วงยุคนั้นๆ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่องานออกแบบของผมเอง ไม่ว่าจะการใช้ pattern หรือ scale ต่างๆ กันอย่างตรงไปตรงมาหรือลดทอนนำเฉพาะสันหรือเส้นขอบบางส่วนไปใช้ทั้งในงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ JUTI architects สิ่งที่เห็นจนชินตาตั้งแต่เด็ก กลายเป็นสิ่งที่เราอยากจะสานต่อ ถ่ายทอดลงไปในสถาปัตยกรรมในยุคสมัยปัจจุบัน รายละเอียดที่เมื่อก่อนในความคิดว่าเป็นเพียงความวิจิตร ปัจจุบันสำหรับผม คือ จังหวะสัดส่วน และคุณค่าเชิงการช่างและศิลปะที่ร่วมสมัยอันงดงาม
___________________
จุติ กลีบบัว ผู้ก่อตั้งและ design director ของบริษัท จุติ อาร์คิเท็คส์ จำกัด (JUTI architects) นอกเหนือจากความสนใจในงานสถาปัตยกรรมตามสายงานอาชีพแล้วยังมีความสนใจในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบรถยนต์ และภาพถ่าย ปัจจุบันงานอดิเรกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่คือการถ่ายภาพ และกำลังฝึกฝนให้งานภาพถ่ายออกมาในรูปแบบ abstract photography จากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นชินในวันทำงานทั่วไปของเขา เช่น ไซต์งานก่อสร้าง เมืองระหว่างรถติด ธรรมชาติรอบตัวในไซต์งานต่างจังหวัด