The most recent urban development in the Ratchaprasong district, ‘Gaysorn Village’ is ready to take off
While we are not exactly sure when the trend actually began or by whom it was started, it seems like shopping malls and department stores in Bangkok situated along the skytrain lines have been vigorously attempting to create their own skywalks to welcome regular patrons and new visitors. What these structures bring to the city are commercial districts operated by owners of the neighborhood’s establishments, expanding their territories through the semi-public spaces that are created as a result while redefining their statuses as shopping destinations on the city’s map into something different. We’ve seen similar developments happening with Pathum Wan and Phrom Phong with the latest player of the skywalk game being Srivikorn Group, the major developer of the Ratchaprasong neighborhood. Bangkok’s longstanding shopping mall, Gaysorn Plaza, has been transformed into a new commercial district known as Gaysorn Village, housing a shopping complex, office building and public space within the new program’s 200,000-square-meter space. The transformation will affect Amarin Tower, one of Thailand’s legendary architects, Assistant Professor Rangsan Torsuwan’s most important works, which is located across the street. It remains to be seen how the design will find a way to compromise with the neighboring structure.
Before the beginning of Amarin Tower’s renovation in 2018 and the opening of the new skywalk which is scheduled to be finished within the next couple of years, a new building on Ratchadamri Road under Gaysorn’s expanding umbrella called Gaysorn Tower will emerge and is equally interesting. The 30-story building has A49 responsible for the office space while the other lobby of the office building situated next to the sky garden on the 19th and 20th floors and the 5,500-square-meter base of the high-rise architecture that will house a great number of retail spaces of many lifestyle brands is designed to be physically connected to Gaysorn Plaza. These particular programs have CL3, the Hong Kong-based design firm who is the mind behind Singapore’s Marina Bay Sands in charge of the design from the branding to the interior space. William Lim, architect and Managing Director of CL3 told art4d that the first major highlight of the design is the skywalk that connects the two buildings known as ‘Gaysorn Cocoon.’
“The whole idea that it is a cocoon is to incubate ideas and then, hopefully, it will take off at some point,” explained Lim about the idea behind the program. In addition to the cocoon-like form that reflects the transformation from the old to the new, CL3 hopes for the space to serve as a source of inspiration and creativity, corresponding with the tenants of both the project’s office and commercial spaces where the majority of them are Thai brands of innovative and design products.
The word ‘artisan’ is employed as one of the design concepts through the use of unique elements and intricate details of Thai craftsmanship. By replacing the conventional white space of a shopping mall with wood and simplified details of traditional Thai patterns as the key element of the decoration, the space looks and feels more welcoming and friendly. ‘Porosity’ is incorporated in as another idea of the design. Lim explains the overlapped voids as an attempt to create a spatially and visually connected interior space, which when complemented by the curvy lines of the railing and the sporadic presence of the black steel of the joints on the ceiling and floor, is filled with a great spatial dynamic.
In most mixed-use projects, commonly found is a disconnectedness between the commercial and office spaces. The attempt to turn Gaysorn Village into a ‘microcity’ with a vast array of activities happening inside the program from work and retail to social areas is an interesting model. By putting spa businesses and services in the same area as the building’s convention center and a communal space including the rented offices located on the lower floors near the shopping mall, the design interestingly facilitates a new dimension as well as connection between the program and the lifestyles of its users. “Although it is not a very big mall area, we want it to be a very special experience,” Lim concluded.
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเทรนด์ท่ีเกิดขึ้นในตอนนี้มันเร่ิมต้นตอนไหนหรือโดยใคร แต่ดูเหมือนว่า นับวันห้างสรรพสินค้าแต่ละเจ้าในกรุงเทพฯ ที่มีพื้นท่ีติดกับแนวรถไฟฟ้าจะทยอยแข่งกันสร้างทางเดินลอยฟ้า (skywalk) ไว้คอยต้อนรับทั้งขาประจำและขาจรกันทั้งนั้น กายภาพของเมืองจึงเปลี่ยนแปลงเกิดเป็น “ย่านการค้า” ที่ดำเนินการโดยห้างหรือผู้ประกอบการในย่านนั้นๆ ขึ้น พร้อมๆ กับขยายขอบเขตออกไปจนพื้นที่ว่าง ที่พ่วงตามมากับทางเดินของแถมน้ันถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะขึ้นมา ทั้งๆ ที่แต่เดิมห้างเหล่านั้นอาจจะเคยถูกมองว่าเป็นเพียงแค่จุดหมายอันหน่ึงบนแผนที่ท่องเที่ยวเท่านั้น ซึ่งเราก็คงจะพอได้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ว่ากันไปบ้างแล้วทั้งในย่านปทุมวันและพร้อมพงษ์ ล่าสุดหนึ่ง ในผู้ค้ารายใหญ่ของย่านราชประสงค์อย่างกลุ่มศรีวิกรม์ก็ได้เร่ิมเปลี่ยนให้ Gaysorn Plaza เดิม กลายเป็นย่านการค้าใหม่ในชื่อ Gaysorn Village ท่ีประกอบไปด้วยศูนย์การค้า อาคารสํานักงาน และพื้นท่ีสาธารณะขนาดรวมกว่า 200,000 ตารางเมตร โดยถึงแม้การเปลี่ยนแปลงที่ว่าจะกระทบไปถึงอาคารอัมรินทร์ฝั่งตรงข้ามที่เป็นหนึ่งในผลงานช้ินสําคัญของ ผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องมารอดูกันอีกทีว่า สถาปนิกจะหาวิธีการออกแบบอย่างประนีประนอมกับอาคารได้แค่ไหนกัน
ก่อนท่ีการรีโนเวตอาคารอัมรินทร์จะเริ่มในช่วงปีหน้า และทางเชื่อมรถไฟฟ้าอันใหม่จะสมบูรณ์ในอีกประมาณ 2-3 ปี ถัดไป อาคารหลังใหม่ติดถนนราชดําริที่อยู่ภายใต้ร่มคันใหญ่ ของ Gaysorn ที่ชื่อ Gaysorn Tower นั้นก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน นอกจากอาคารสูง 30 ชั้นหลังน้ีจะได้ A49 มาเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนพื้นที่สํานักท่ีอยู่ด้านบนแล้ว พื้นที่ส่วนอื่นๆ ของอาคารท่ีประกอบไปด้วย พื้นที่ล็อบบี้ของอาคารสํานักงานที่อยู่ติดกันกับสวนลอยฟ้าบนชั้น 19-20 และส่วนฐานของอาคาร ขนาด 5,500 ตารางเมตร ท่ีเป็นพื้นที่ของร้านค้าไลฟ์สไตล์อีกหลายแบรนด์ ซึ่งสามารถเดินเชื่อมต่อไปยัง Gaysorn Plaza ได้ ก็ยังได้ทีมนักออกแบบจากฮ่องกง CL3 ที่เคยฝากผลงานไว้กับ Marina Bay Sands ที่สิงคโปร์มาร่วมออกแบบต้ังแต่แบรนด์ดิ้ง ไปจนถึงพื้นท่ีภายในด้วย William Lim สถาปนิก และผู้อํานวยการของ CL3 เล่าให้เราฟังว่าไฮไลท์สําคัญอย่างแรกของการออกแบบในครั้งนี้คือบริเวณทางเช่ือมระหว่างทั้งสองห้างที่มีชื่อเรียกว่า Gaysorn Cocoon “ไอเดียท้ังหมดคือดักแด้ (cocoon) เพื่อที่มันจะได้ช่วยบ่มเพาะความคิดต่างๆ โดยที่หวังว่า พอถึงจุดหน่ึงความคิดที่ว่ามันจะทะยานออกไปได้” Lim กล่าวถึงไอเดียในส่วนนี้ โดยนอกเหนือไปจากรูปทรงของมันที่เหมือนกับดักแด้เพื่อสื่อถึงการเปลี่ยนผ่านจากเก่าไปสู่ใหม่แล้ว CL3 ยังหวังว่า พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนกับพื้นท่ีจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกนํามาใส่ในพื้นท่ีจากท้ังผู้เช่าอาคารสํานักงานด้านบน และบรรดาร้านรวงต่างๆ ที่ค่อนข้างจะเน้นไปที่แบรนด์ผู้ประกอบการสินค้านวัตกรรมและออกแบบของไทย
คําว่า artisan เป็นอีกหนึ่งไอเดียท่ีถูกนํามาใช้ในการออกแบบ ครั้งนี้ผ่านการนําาเอาองค์ประกอบและรายละเอียดท่ีประณีต ของงานฝีมือ งานหัตถกรรมไทยเข้ามาใช้ โดยแทนที่พื้นที่ภายในห้างจะดูโล่งเปล่าด้วยสีขาว CL3 เลือกท่ีจะนําเอาวัสดุอย่างไม้ รวมท้ังการนําลายไทยที่ถูกลดทอนเข้ามาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของการตกแต่ง เพื่อให้บรรยากาศของสเปซมีความอบอุ่น และเป็นมิตรมากย่ิงข้ึน นอกจากน้ีแล้ว คําว่า porosity ก็เป็นอีกไอเดียเช่นกัน โดย Lim เล่าให้เราฟังว่าการที่เขาเลือกเจาะพื้นในแต่ละชั้นให้อยู่ในตําแหน่งที่เยื้องกันไปมาบ้างในลักษณะน้ีนั้น ก็เพื่อต้องการให้พื้นท่ีภายในนั้นเชื่อมต่อทะลุถึงกันในแต่งละชั้นทั้งในแง่ของสเปซ (spatially) และสายตา (visually) และเมื่อรวมเข้ากับการเล่นกับเส้นสายท่ีโค้งไปมาของไม้บริเวณราวกันตก และสีดําของเหล็กในส่วนรอยต่อต่างๆ ทั้งบนฝ้าและท่ีพื้นก็ย่ิงช่วยทําให้เรารู้สึกว่างานออกแบบชิ้นนี้เต็มไปด้วยความไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลาด้วย
ในโครงการแบบ mixed-use ทั่วไป เราพบว่ามักจะมีการแยกขาดจากกันระหว่างพื้นที่ค้าขายและสํานักงานอยู่เสมอ การพยายามสร้างให้ Gaysorn Village เป็นเหมือนกับเมืองขนาดย่อม (microcity) ที่มีพื้นที่ทางกิจกรรมต่างๆ ประกอบอยู่ข้างใน ไม่ว่าจะเป็นพื้นท่ีทํางาน (work area) พื้นที่ค้าขาย (retail area) หรือไปจนถึงพื้นที่ทางสังคม (social area) ในลักษณะต่างๆ เป็นโมเดลที่น่าสนใจ การที่โปรแกรมของอาคารมีการนำสปาและบริการต่างๆ ไปอยู่ร่วมกันกับพื้นท่ีจัดประชุมในพื้นท่ี ส่วนกลางของอาคารสํานักงาน รวมท้ังสํานักงานช้ันล่างๆ ที่ติดกับห้าง ถือเป็นการช่วยเพิ่มมิติและความเชื่อมต่อระหว่างไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานภายในได้เป็นอย่างดี “ถึงแม้มันจะ ไม่ได้เป็นห้างที่มีพื้นที่ใหญ่มากเท่าไร แต่เราก็อยากจะให้มันเป็นประสบการณ์ท่ีพิเศษที่สุด” Lim ทิ้งท้าย
TEXT : PAPHOP KERDSUP
PHOTO : KETSIREE WONGWAN
gaysornvillage.com
cl3.com