#FREETHEFEED

UNICEF AND MOTHER AND CHILD HEALTH ORGANIZATIONS AROUND THE WORLD HAVE BEEN HEAVILY PROMOTING BREASTFEEDING, EXCLUSIVELY DURING THE FIRST SIX MONTHS OF A CHILD’S LIFE, TO THE POINT WHERE IT EVENTUALLY GAVE BIRTH TO THE WORLD BREASTFEEDING WEEK THAT TAKES PLACE FROM THE 1ST TO THE 7TH OF AUGUS OF EVERY YEAR 

But what the movement brings is tremendous and often times absurd pressure to mothers. While we are not sure nor do we really understand why, ‘public breastfeeding’ is viewed as a social stigma that attracts not only attention but also judgment from the majority of the society despite the fact that it’s one of the most natural and harmless human acts. And while many of us could care less if a mother breastfeeds her child in public, the unspoken pressure and judgmental looks are discernable. When the issue grew into somewhat of a problem, a number of campaigns were initiated to minimize as well as question the absurdity. On the recent Mother’s Day in England, apart from the annual celebration in the street, whoever passed by Shoreditch neighborhood of London would be startled by an enormous, inflatable breast-shaped balloon installed on the building’s top. The oversized breast that found its way to the top of a building is a part of the #FreeTheFeed campaign by Mother London, an agency that created and has been continually advocating for the mother and child-related campaigns. #FreeTheFeed hopes to encourage mothers to stop feeling embarrassed when having to feed their children in public. “It’s hard to believe that in 2017 UK mothers still feel watched and judged when feeding in public, by bottle or breast,” said Mother London. After all, isn’t that how most of us were raised? Using the massive breast balloon to attract the public’s interest in the campaign is sending a message to the society about how absolutely normal breastfeeding is, so perhaps it’s now time to stop the judgment because there is simply nothing wrong with public breastfeeding. If there’s something wrong, it’s those who interfere with other people’s business and motherhood. We are hopeful that the humongous inflatable breast will help, more or less, change the opinions of people who use their own so-called standards and morality to criticize others.

ในขณะที่องค์การ UNICEF และองค์กรด้านสุขภาพของแม่และเด็กทั่วโลกต่างพยายามอย่างหนักเพื่อจะรณรงค์เรื่องการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกเกิด 6 เดือนแรก จนถึงขั้นเกิดเป็น “สัปดาห์ให้นมบุตรโลก” (World Breastfeeding Week) ขึ้นมาในระหว่างวันที่ 1-7 สิงหาคม ของทุกปี ก็ไม่วายที่คนเป็นแม่ยังจะต้องมาเจอเข้ากับปัญหาและแรงกดดันจากสังคมที่ค่อนข้างจะ absurd พอสมควร ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม “การให้นมลูกในที่สาธารณะ” ถึงได้ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำในที่สาธารณะ (social stigma) และทำาให้ผู้เป็นแม่ถูกจับจ้องและตัดสินจากคนในสังคมไปได้ ทั้งๆ ที่มันก็เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ไม่ได้เป็นพิษภัยอะไรเลยสักนิด เราอาจจะคิดว่าใครมันจะไปสนเรื่องพรรค์นี้กัน แต่แรงกดดันจากสายตาและคำพูดที่ผู้เป็นแม่รับรู้ได้นั้นมันมีอยู่จริง เพราะฉะนั้นแล้ว พอมันเกิดปัญหาแบบนี้มากเข้า แน่นอนว่าก็ต้องมีแคมเปญบางอย่างเกิดขึ้นมาช่วยต้านให้ประเด็นเหล่านี้มันถูกตั้งคำถามอีกครั้ง อย่างเมื่อวันแม่ที่ผ่านมาของประเทศอังกฤษ นอกจากการเฉลิมฉลองโดยทั่วไปตามท้องถนนแล้ว ใครที่ผ่านไปแถวย่านชอร์ดิทช์ของลอนดอนคงต้องตกใจกับบอลลูนรูปเต้านมขนาดยักษ์ที่ติดอยู่บนยอดตึกแถวนั้น แคมเปญในชื่อ #FreeTheFeed โดยเอเจนซี่ที่ผลิตผลงานรณรงค์แม่และเด็กมาอย่างต่อเนื่อง Mother London นี้ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยรณรงค์ให้บรรดาแม่ๆ ทั้งหลายเลิกอายที่จะให้นมลูกในที่สาธารณะได้แล้ว “ไม่น่าเชื่อเลยว่านี่มันปี 2017 แล้ว แต่แม่ๆ ชาวอังกฤษยังคงรู้สึกถูกมองและตัดสินเวลาให้นมลูกในที่สาธารณะกันอยู่เลยไม่ว่าจะผ่านขวดหรือเต้าก็ตาม” Mother London กล่าว เราแทบทุกคนก็โตมาด้วยการดื่มนมจากเต้ากันทั้งนั้น การเลือกใช้เต้านมขนาดมหึมานี้มาใช้ชูโรงแคมเปญจึงเป็นเหมือนการบอกกับสังคมกลายๆ ว่า นมนี่มันเป็นเรื่องปกติมากๆ นะ เลิกมองเลิกพูดเลิกนินทากันซะที เพราะการให้นมลูกในที่สาธารณะมันไม่ผิด แต่พวกคุณทั้งหลายที่ไปยุ่งเรื่องเขาต่างหากที่ผิด ก็หวังว่าเต้านมยักษ์อันนี้จะช่วยสะกิดอะไรบางอย่างกับบรรดาผู้คนที่ชอบตั้งมาตรฐานกันเอง และบอกว่าอะไรคือศีลธรรมอันดีงามของสังคมบ้างล่ะ

TEXT: PAPHOP KERDSUP
PHOTO COURTESY OF MOTHER LONDON
motherlondon.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *