KANIKA RATANAPRIDAKUL TALKS ABOUT HER EXPERIENCES WITH THE REVOLUTIONARY TEACHING METHODS OF SCI-ARC, MORPHOSIS AND DECON. SHE HAS STRONG OPINIONS ON ARCHITECTURAL EDUCATION IN U.S.A. SHE ALSO HAS STRONG CRITICISM OF THAI ARCHITECTURE. SO, WHAT’S SHE GOING TO DO ABOUT IT?
(For English, please scroll down.)
มีคนเปรียบเทียบชีวิตว่าเหมือนกับ “การเดินทางไกล” พิจารณาดูแล้วก็รู้สึกใกล้เคียงความจริงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะบุคคลที่ผ่านเข้ามาใน FACES ของเราล้วนแต่เป็นนักเดินทางตัวจริงด้วยกันทั้งนั้น และนักเดินทางของเราวันนี้ชื่อ กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล หรืออาจารย์เล็ก แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (บางมด) “ไปเรียนอเมริกาตอนจบ ม.ศ. 3 เรียนอยู่ 2 ปี แล้วเรียนตรีทาง interior design ที่ Illinois University จบจากที่นั้นก็ทำงานอีก 2 ปี เป็นดีไซเนอร์ ทำแล้วไม่ค่อย happy เท่าไหร่ รู้สึกว่ามันค่อนข้างจำกัดไปหน่อย เลยตัดสินใจเรียนทางสถาปัตยกรรมต่อที่ Sci-Arc ตามคำแนะนำของอาจารย์เก่าคนหนึ่ง”
นึกย้อนหลังไปประมาณปี 86-89 เป็นช่วงที่ Sci-Arc กำลังมาแรงมาก ตอนนั้น Rotondi, Thom Mayne ก็ยังอยู่ และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่พอดี อาจารย์เล็กของเราจึงได้ร่วมบรรยากาศในครั้งนั้นด้วย “เพราะว่า Michael Rotondi ปีนั้นเป็นปีที่เปลี่ยนเข้ามาเป็นไดเร็กเตอร์ใหม่ เพราะว่าทราบประวัติ Sci-Arc นิดหน่อย สั้นๆ ก็คือว่า มันตั้งขึ้นมาโดยที่ว่าเป็นอาจารย์คนนึง ที่สอนอยู่โรงเรียนเทคโน แล้วเบื่อกับระบบทุน แล้วก็มีพวกนักเรียนกลุ่มนึงซึ่งคล้ายๆ กัน ก็เลยตัดสินใจที่จะแยกออกมาตั้งโรงเรียนของตัวเอง ก็เหมือนกับในลักษณะว่าเป็น council experiment ไปด้วย พยายามที่จะไม่ให้มีกฎเกณฑ์มากนัก มีอิสรภาพ แต่ว่าตอนนั้นมันมีไม่กี่กลุ่ม เพราะฉะนั้นเขาก็สามารถที่จะทำได้
“พอมาหลังๆ ตอนที่เราเข้าไปนี่ เขาเปิดไปได้สัก 10 กว่าปี 20 กว่าปีได้ พอมาหลังๆ นักเรียนเยอะขึ้น ก็มี structure มีอะไรมากขึ้น แต่เขาก็พยายามเท่าที่จะทำได้ เลยทำให้มันค่อนข้าง loose แต่ว่าอาจารย์กลุ่มนึง ซึ่งสอนอยู่ช่วงแรกๆ เมื่อ 10 กว่าปีแล้ว บางคนก็เริ่มที่จะหมดไฟไปบ้าง มันก็ถึงเวลาที่ควรจะมีคนใหม่เข้ามา แล้ว Michael เขาก็เป็นนักเรียนที่ Sci-Arc มาก่อน เขาเคยเล่าว่า เขาเรียนมาหลายปีมาก คนที่เป็นไดเร็กเตอร์ตอนนั้นถามเขาว่าเมื่อไหร่เขาจะจบเสียที จะให้โอกาสอีกปีเดียว ถ้าเขาไม่จบก็จะไม่ให้เรียนแล้ว เพราะว่าเขาเป็นคนค่อนข้าง academic มาก เขาก็ involve กับโรงเรียนมาตลอด เขาก็เลยขึ้นมาเป็นไดเร็กเตอร์ แล้วคิดว่าตั้งแต่ตอนที่เขาขึ้นมาเป็นภายใน 3 ปีหลัง ซึ่งเราอยู่โรงเรียน เราเห็นเขามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอีกเยอะในทางที่ดี เราคิดว่าเขาพยายามมองหาอาจารย์ที่มีความคิดค่อนข้างหลากหลาย พยายามหาคนที่ทำงานอย่างจริงจัง แล้วก็แน่นอน ไอเดียของ Sci-Arc ก็ตั้งขึ้นมาแบบโรงเรียน part time ไม่มีครูอยู่เลย เขาต้องการอาจารย์ซึ่ง practice ด้วยตัวเอง แล้วเอาเวลาอีกส่วนหนึ่งมาสอน ซึ่งตอนนี้มันก็ยังเป็นอย่างนั้น อยู่สตูดิโอก็จะเป็นแค่ จันทร์ พุธ ศุกร์ เขาก็จะสอนวิชาเลกเชอร์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น practiser สามารถที่จะมาสอนได้ ซึ่งเราก็คิดว่าในจุดนั้นก็เป็นจุดที่สำคัญมากอันนึง”
และช่วงเวลานั้นประจวบกับเป็นช่วงที่ L.A. Architecture กำลังมาแรง ชื่อของ Frank Gehry และ Morphosis กลายเป็นโฉมหน้าใหม่ของสถาปัตยกรรมทีเดียว ซึ่งอาจารย์เล็กก็ได้มีโอกาสไปร่วมงานกับ Morphosis ด้วย “คือตอนช่วงที่เรียนอยู่แล้วช่วงที่ไม่ได้ไป ปิดเทอมเนี่ยก็จะไปช่วยทำ drawing บ้าง ทำ model บ้าง เป็นการช่วยเขา เขาก็ไม่ได้ให้เป็นโปรเจ็คต์ให้เรา แต่ว่าตอนที่ปิดเทอมทำ competition อันนึงซึ่งเป็นการต่อเติมห้องสมุด เขาเรียก American Library ซึ่งเยอรมันเขาเชิญสถาปนิกของอเมริกาเพราะว่ามันเป็นห้องสมุด ซึ่งทางอเมริกาให้เป็นของขวัญกับ Berlin เพราะฉะนั้นก็เลยต้องการให้สถาปนิกอเมริกันเป็นคนทำต่อ ก็ได้ทำในโปรเจ็คต์นั้นซึ่งก็ทำกับนักเรียนอีกคนซึ่งเขาก็มาทำงานที่ช่วงซัมเมอร์ก็ทำอยู่ 2 คนเป็นหลัก พอตอนหลังก็ระดมพลช่วยกันทำจนเสร็จ ก็มีโปรเจ็คต์ซึ่งทำเป็นชิ้นเป็นอันหน่อย แต่ก็ไม่ได้เข้ารอบ เขาให้เป็นรางวัลพิเศษ เพราะว่าจริงๆ แล้วในโปรแกรมเป็นไอเดียค่อนข้างจะยุโรปเหมือนกันคือ ค่อนข้างจะเป็น open plan มาก แล้วตัว Thom เอง ตอนนั้นที่คุยกัน เขามีไอเดียที่ว่าเขาต้องการที่จะทำส่วนของ book stack ที่เก็บหนังสือจะเป็นชิ้นเป็นอันของมันเองว่าจะค่อนข้างโอเพ่น แล้วก็ประปรายรวมไปกับส่วนอื่นๆ คือ จุดนั้นเขาค่อนข้างที่จะต่อต้านโปรแกรมตั้งแต่ตอนแรกที่ให้ คือเรียกว่าทำผิดจุดประสงค์ เขาก็รู้ว่าเขาทำผิดจุดประสงค์ แต่เขาก็ยังอยากที่จะทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นมันก็เลยหมดโอกาสที่จะเข้ารอบไป”
ไหนๆ ก็พูดถึง Sci-Arc พูดถึง Morphosis กันแล้ว ถ้าไม่พูดถึง Deconstructivism (Decon) ก็คงจะทำใจลำบากอยู่ Peter Eisenman เคยบอกกับ art4d ไว้ว่า Decon กลายเป็น taboo ไปแล้ว คือเหมือนกับว่า Decon กลายเป็น trademark ของ Sci-Arc ของ Morphosis ไป นักเรียนค่ายอื่นเลยมักจะไม่ยอมพูดถึง อาจารย์เล็กให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่า “แม้ว่าจะเป็น Sci-Arc ก็ไม่มีใครพูดเพราะว่าเราคิดว่ามันตลก เราคิดว่าคนที่เป็นสถาปนิกเองเขาไม่ได้ต้องการ label สิ่งที่เขาทำ ถ้าพูด จะพูดไปในลักษณะการเรียนการสอน จะไม่พูดถึงว่าตัวเองทำสไตล์อะไรๆ เพราะเราคิดว่าเวลาเข้าไปเรียน architecture แล้ว เราคิดว่าคำสไตล์ต่างๆ เราไม่อยากจะพูดถึงมันในงานที่เราทำ เราพยายามพูดคำที่ break down ลงไปถึงใน element อื่นๆ มากกว่า มันจะไปคิดเป็นสไตล์อะไร มันเป็นหน้าที่ของคนที่เป็น architectural critic ที่เขาจะเป็นคนบอกว่าคุณทำสไตล์อะไร อย่าง Frank Gehry เขาก็จะเคยปฏิเสธว่าเขาไม่ได้เป็น ซึ่งเราคิดว่ามันเหมือนกับเป็นความกลัวด้วยนิดหน่อย อาจจะในตัวสถาปนิกพวกนั้นว่า การที่เขาจะถูก classified หรือการที่เขาโดนกำหนดให้เป็นอะไรบางอย่าง เหมือนกับเป็นสิ่งที่ negative กับงานเขา”
คำถามที่ตามมาทันทีก็คือ แล้วตัว Thom Mayne กับ Morphosis เขายอมรับไหมว่าเขาเป็น “เท่าที่เรารู้ มีครั้งหนึ่งซึ่งเป็นตอนที่ Philip Johnson จัดงาน Deconstructivism ที่ MoMA ตอนนั้นเราช่วย Thom Mayne เขาทำเกี่ยวกับพวกงานติดต่อกับแมกกาซีน เรารู้ว่าเขาอยากได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น แล้วก็ตอนหลังรู้สึกว่า ทางนู้นไม่ consider งาน เป็นเพราะว่าอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เขาก็ไม่ได้มาอธิบายให้เราฟัง รู้สึกว่าเขาค่อนข้างจะเสียดายเหมือนกัน แต่คราวนี้เขาคิดถึงตัวเขาเองว่าเป็นอย่างนั้นไหม เราก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะว่าเขาก็ไม่เคยพูด เราก็คิดว่ามันก็เป็น taboo”
เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของ Decon กันอยู่พักหนึ่ง และตัดสินใจที่จะปล่อยให้มันกำกวมอย่างนี้ต่อไปเพื่อที่จะได้คุยเรื่องอื่นๆ ที่ได้เนื้อหาชัดเจนกว่านี้ อย่างเช่นบทบาททางวิชาการของอาจารย์เล็ก เป็นต้น “เราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญในด้านเบสิก เราคิดว่านักเรียนยังต้องการ guideline มากขึ้น ส่วนใน project ที่จะให้ เราก็พยายามที่จะเริ่มต้นอะไรบางอย่างซึ่งอาจจะมี abstraction พอสมควร แต่ว่าไม่เต็มที่ เราอยากจะพยายามดึงเขาออก เรารู้สึกว่าอะไรที่เป็นโปรเจ็คต์แรกๆ แล้วเริ่มต้นด้วย realistic เกินไปเขาจะเริ่มมองสิ่งที่เขาเห็นอยู่รอบๆ เขาจะเริ่มจากสิ่งที่เขาคุ้นเคย แล้วเราคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ
“เราอยากให้เขาเริ่มต้นคิดใหม่ เริ่มต้นเรียนใหม่ว่า A B C คืออะไร จากตัวเขาเอง โดยใช้ element ต่างๆ ของ architecture ต่างๆ เราคิดว่าเราอาจจะให้เขาสร้างเป็นบ้าน เพราะฉะนั้นโปรแกรมของเขาก็คือ character ตัวนี้ ซึ่งเขาจะต้อง define ค่อนข้างจะ specific ว่า character ตัวนี้ทำอะไร คือเราไม่ต้องการเป็นแบบชีวิตคนธรรมดา ตื่นขึ้นมาแปรงฟัน กินข้าว เช่นถ้าเขาเป็นคนทำแผนที่บ้านเขาทั้งหมด อาจจะเป็น 3 dimensional coordinate แล้วก็อาจจะมี space สำหรับนอน กิน แล้วส่วนอื่นๆ สำหรับเป็น working space และถ้าคนนี้เขาทำอยู่อย่างเดียว คิดอย่างอื่นไม่ได้เลย ทำได้แต่เป็นคนทำแผนที่ space ของเขาจะเป็นอย่างไร เราอยากเริ่มต้นด้วยอะไรที่เป็น abstraction แล้วต่อไปอาจจะเป็น program ที่เป็นจริงขึ้นมา อยากให้ที่ site จริงในเทอมนี้ อยากให้เขาเริ่มนึกถึง context ของกรุงเทพฯ หรือของ site นั้นๆ คือ break the ice ของตอนแรกด้วยการทำให้มัน abstract แล้วก็พยายามดึงกลับมาให้นึกถึงอะไรที่เป็นจริง… แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะออกมาเป็นอย่างไร”
ฟังดูน่าเรียนชะมัด ถ้ามีโอกาสคงต้องขอเข้าไปเยี่ยมชมโปรแกรมนี้บ้าง และจบด้วยคำถามสุด classic นั่นคือความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทย “เราคิดว่าสถาปัตยกรรมเมืองไทยนี่ สร้างเยอะแต่ไม่พัฒนา ซึ่งตัวสถาปนิกที่เรารู้จักมักจะมีเหตุผล ซึ่งบางครั้งเรารู้สึกว่าเป็นข้อแก้ตัวว่า ทำไมเขาต้องรับ job อย่างนี้… สุดท้ายก็ได้คำตอบเดียวกันคือ… เมืองไทยมันก็หยั่งงี้แหละ!”
ฟังแล้วรู้สึกบั่นทอนกำลังใจยังไงชอบกล มาถึงตรงนี้มีทางเลือกให้เดินสองทางคือ “ทำใจ” กับ “พยายามสู้ต่อไป” ถ้าเลือกทางเดินแรกกันหมดประเทศ สภาพเมืองไทยในอนาคตคงดูไม่จืด แต่เราไม่เชื่อว่าจะเป็นแบบนั้น… คงได้เห็นกันในไม่ช้า
Kanika Ratanapridakul has returned from the U.S.A., where she joined a group of intellectuals with a remarkable background.
“I graduated from Illinois University with a bachelor of arts in interior design. However, after two years as a designer, I wasn’t happy. I could feel my limitation. So I decided to study architecture at Sci-Arc,” she explains. During ’86-89 Sci-Arc was famous for its new approaches by Michael Rotondi and Thom Mayne. Kanika gives us a brief history of Sci-Arc. “It was founded by a professor who was bored by capitalism. Together with his students, he established their new school and managed it as a council experiment. After a decade, however, the teachers began to loose their enthusiasm. Michael Rotondi was the young director who changed many things. He chose a different style of lecture. Sci-Arc’s basic premise is that of a part-time school, so that some of the teaching can take place at night time.”
As Sci-Arc became famous, L.A. architecture played a necessary role. Names like Frank Gehry, Morphosis… Fortunately, Kanika had a chance to join Morphosis.
Sci-Arc and Morphosis have many aspects in common: both are linked with the term “deconstruction” (Decon). Peter Eisenman even talked to art4d about Decon. He said it is taboo because it is the Sci-Arc trademark. “It’s funny I think, architects do not like to label themselves. As we study architecture, we want the terms that break things down into elements rather than to classify its style. We leave that duty to the architectural critic,” Kanika explains.
We changed the subject to the educational programme that she is working on at the Faculty of Architecture. “I think the students need more guidelines for their projects. I would like to begin with something abstract to remove them from the surroundings. If we start with the realistic, they will not be able to escape from their present.” And finally, the classic question: Thai architecture? “I see so many buildings, but very few good ones. I always hear from architects, they excuse that this is Thailand.”