THROUGH THE COLLABORATION WITH THE LOCAL CRAFTSMAN (SALA), SHER MAKER ONCE AGAIN DESIGNED THE ARCHITECTURAL PROJECT THAT CONTAINS THE LOCAL SPIRIT AND STANDS OUT FROM THE CONTEXT AT THE SAME TIME
TEXT: WICHIT HORYINGSAWAD
PHOTO: CHAIYAPORN SODABUNLU
(For English please scroll down )
‘ศรีพยงค์ทะเลเผา’ เป็นงานออกแบบปรับปรุงร้านอาหารล่าสุดของ Sher Maker สตูดิโอออกแบบที่มีฐานการทำงานอยู่ที่เชียงใหม่ โครงการนี้อยู่บนถนนบ้านร่ำเปิง ไม่ไกลจาก Lan Din (2018) ผลงานออกแบบที่ผ่านมาของ Sher Maker ที่ art4d ได้เคยนำเสนอเรื่องราวไปเมื่อปีที่แล้ว
โครงการนี้เริ่มต้นมาจากความต้องการของเจ้าของร้านที่จะปรับปรุงพื้นที่ครัวให้เป็นระบบเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อทีมของ Sher Maker ซึ่งประกอบด้วย พัชรดา อินแปลง และธงชัย จันทร์สมัคร ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่ร้าน ทำให้พบว่าพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่จอดรถของหอพักนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันนั้น สะท้อนแสงจ้าเข้ามาในพื้นที่ร้าน จนสร้างปัญหาในการเปิดร้านขายอาหารในช่วงเวลากลางวัน
Sher Maker เลยสร้างโจทย์ใหม่เพิ่มเติม ซึ่งเกิดจากปัญหาที่พวกเขามองเห็นว่าองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบไหนที่จะช่วยกรองแสงจ้าในเวลากลางวันที่เป็นอุปสรรคในการใช้งานพื้นที่ พร้อมๆ กับช่วยขับเน้นขอบเขตและบุคลิกใหม่ให้ร้าน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายหรือร่องรอยของร้านเดิม
ดูเหมือนว่าแผง façade ระแนงไม้สีดำที่โอบล้อมพื้นที่ร้านทั้งหมดคือคำตอบสำหรับโจทย์ในครั้งนี้ของ Sher Maker ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นช่วยสร้างขอบเขตทางสายตาขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำให้ตัวสถาปัตยกรรมมีรูปร่างที่ชัดเจนขึ้นเมื่อมองจากภายนอก อีกทั้งระแนงไม้รวมทั้งการยก façade ที่เกิดขึ้นใหม่ให้ลอยสูงจากพื้น 90 เซนติเมตร นั้นยังทำให้เกิดความเชื่อมโยงทางสายตาระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอกร้าน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในยามค่ำคืนที่เกิดจากแสงไฟที่ช่วยขับเน้นตัวอาคารจากพื้นที่ภายในนั้นก็อาจจะดูไม่ต่างจากโครงการ Lan Din ที่พวกเขาได้เคยทำมา
โครการนี้ Sher Maker ยังทำงานกับ ‘สล่า’ ซึ่งเป็นช่างพื้นเมืองทางภาคเหนือทีมเดิม และความสนใจในเรื่องการทดลองทางวัสดุก็ยังปรากฏให้เราเห็นในผลงานชิ้นนี้ เนื่องจากว่าพื้นที่แถวบ้านร่ำเปิงเป็นย่านที่สามารถหาไม้เก่ามาใช้งานได้ง่าย เพราะฉะนั้นแล้วแทนที่ตัว façade จะใช้ระแนงเหล็กกล่อง ระแนงไม้ขนาดเล็กทาสีดำ ซึ่งมีความถี่เล็กและความไม่สม่ำเสมอของพื้นผิว ตลอดจนธรรมชาติของไม้ที่มีการบิด แอ่นเข้าแอ่นออก จึงเป็นสิ่งที่ทางทีมเลือกใช้ เพราะพวกเขาเชื่อว่าวัสดุชนิดนี้น่าจะช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ที่น่าสนใจให้ตัวอาคารมากกว่าการใช้เหล็กกล่อง แถมมันยังมีราคาถูกกว่าการใช้เหล็กกล่องเกือบเท่าตัว
ในเรื่องของการตกแต่งพื้นที่ภายใน เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ชุดเดิม เพียงแต่นำมาขัดแต่งและทาสีใหม่ โดยไม่พยายามเพิ่มเติมเฟอร์นิเจอร์แบบใหม่ๆ ที่ผู้ใช้งานเก่าไม่คุ้นเคยลงไป รวมถึงทางสัญจรต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในร้านก็ไม่ได้มีการปรับให้แตกต่างไปจากของเดิมมากนัก เพียงแค่จัดระเบียบให้มันเป็นระบบมากขึ้น สิ่งที่ Sher Maker คิดอยู่ตลอดเวลาในการทำงานออกแบบพื้นที่ภายในก็คือ จะไม่พยายามตกแต่งอะไรก็ตามที่เจ้าของหรือผู้ใช้งานไม่เข้าใจ แล้วจะทำให้สร้างความแปลกแยกและปัญหาในการใช้งานขึ้นมาในภายหลัง
After the feature of their story and projects in art4d last year, Sher Maker returns with the renovation of Sripayong, a seafood restaurant on Chiang Mai’s Bann Ram Poeng Road.
The project is conceived from the owner’s wish to refurbish the kitchen space to be more organized and efficient. Once Patcharada Inplang and Thongchai Chansamak of Chiang Mai-based design studio, Sher Maker, started exploring the site, they discovered an excessive beam of sunlight in the restaurant’s interior space reflected from the massive concrete ground of the adjacent male dormitory’s parking lot. The amount and intensity of the reflected light reached the point where it became problematic for the restaurant’s business operation, particularly during the day.
The site’s condition becomes one of the project’s main challenges. The team eventually comes up with a solution, which derives from the idea of incorporating architectural compositions that can effectively filter the intensity of the bright daylight. The team’s attempt is to eliminate this particular obstruction of the project’s functional space takes place hand in hand with the revamp of the restaurant’s characteristic. The new element is also intended to redefine the project’s physical boundaries, and all the while maintaining the traces and identity of Sripayong seafood restaurant.
SherMaker decides on the idea of using black lathes, which function asthe façade that wraps around the entire functional space. The façade ends up creating new visual boundaries, which ultimately accentuate the physical structure and appearance of the restaurant. The details of the lathes and the elevation of the façade 90 centimeters from the ground together facilitate a visual connection between the interior and exterior spaces while at night, the space’s interior illumination brings the building’s presence to the fore. A similar approach had been executed with one of the studio’s previous projects, Lan Din.
With Sripayong seafood restaurant, Sher Maker still works with the same team of ‘Sala’– the local northern builders. Their interest in material experimentation is still reflected in this latest work. With Bann Ram Poeng being an area in Chiang Mai with easy access to old wood, the team agrees on using old wood laths. The material offers the dimension that is comparatively smaller than steel square tubes. With each lath’s physical features different from the other with its uneven surface and natural details of twists and bends, Sher Maker believes that the material can bring more interesting effects to the building than the square tubes at half the cost.
The decoration of the interior space keeps the same set of wooden furniture. The team chooses to polish and repaint the furniture to avoid any unnecessary replacement that would disrupt the familiarity of the regular users. Most of the circulations remain the same with only few adjustments made to better organize and systemize the space. What seems to be at the back of Sher Maker’s mind when it comes to designing an interior space is the facilitation of the kind of space that best corresponds with users’ understanding, simply because misconceptions can lead to disassociation and functional problems when the space goes through the actual usage