WRAP UP, 05.04.2019

WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON ART4D WRAP UP WEEKLY.

TEXT: SUTEE NAKARAKORNKUL
PHOTO COURTESY OF JR-ART.NET

THE LIGHT OF DAY

นิทรรศการเดี่ยวชุดล่าสุดของ อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2552 และนักเขียนรางวัลศิลปาธร ปี 2561 นอกจากผลงานทางด้านวรรณกรรมแล้ว อุทิศยังให้ความสนใจกับงานเพ้นท์ติ้ง (หลายๆ คนอาจรู้กันมาก่อนแล้วว่าอุทิศเรียนจบจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ศิลปากร) ในนิทรรศการ The Light Of Day : ความสุขของแสง อุทิศได้นิยามผลงานของเขาไว้ว่า “เมื่อกิจกรรมชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนตัว กลายมาเป็นความงามที่ถูกแสงและเงาอาบไล้จนเปลือยเปล่า” ต้องลองไปดูกันเองว่าฝีมือการเขียนเพ้นท์ติ้งของเขาจะคมคายละม้ายกับการเขียนหนังสือหรือเปล่า นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 20 พฤษภาคม 2562 ที่ The Jam Factory Gallery ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง bit.ly/thelightofday

The latest solo exhibition by Uthis Haemamool, author and winner of 2009’s S.E.A. Write Award and the 2018 winner of Silpathorn Award puts together a series of his paintings (many would probably know about Haemamool’ artistic background as a graduate of the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University). With ‘The Light of Day’, the author/artist interesting defines this particular body of work. “When everyday-life activities in a person’s personal space become the beauty that has been stripped down to bareness by the presence of light and shadow.” Will Haemamool’s artistic expression be as profound as his literary work, it’s up to you to decide. The exhibition ‘The Light of Day’ is now showing at The Jam Factory Gallery from 1st April to 20th May 2019. For more information, visit   bit.ly/thelightofday

WOMANIFESTO 2019

นิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติ (Womanifesto) เป็นงานกิจกรรมศิลปะที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยเกิดขึ้นจากการริเริ่มของกลุ่มศิลปิน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมงานศิลปะของศิลปินหญิงจากที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสนับสนุนให้เครือข่ายของศิลปินหญิงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคง แม้ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างกันแบบส่วนตัวฉันท์เพื่อนเป็นหลัก การรวมตัวครั้งแรกเริ่มขึ้นในงานนิทรรศการ “ประเวณี-ประเพณี” (Tradisexion) เมื่อปี พ.ศ. 2538 ต่อมาโครงการก็ได้เงียบหายไป ภายหลังการจัด Residency Program ที่จังหวัดศรีสะเกษเมื่อปี 2551 กระทั่งการกลับมาจัดนิทรรศการอีกครั้งในปีนี้ ที่เราได้ยินมาว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์ของเทศกาลแบบ biennale จำนวนมากที่เกิดขึ้นในบ้านเราเมื่อปีที่ผ่าน Womanifesto จึงกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งหนึ่ง พร้อมไปกับการทบทวนถึงบทบาทและพันธกิจของเทศกาลเอง ในการขยับขยายกรอบความคิดเรื่อง ‘gender’ ในวงการศิลปะ นิทรรศการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 27 เมษายน 2562 ที่  Design Center อาคารโวฒยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ภายในงานมีกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ Gender in Southeast Asian Art Histories and Visual Cultures: Art, Design and Canon-making? และกิจกรรมสาธารณะ ในวันที่ 19 – 20 เมษายน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง bit.ly/wmnft2019

The    biannual art activity  is initially conceived from an artist initiative whose aim is to promote the works of female artists from around the world. It also set off to consistently expand and sustain the female artist network although most of the interactions are something along the line of the kind of discussion one can expect from a group of friends of mutual interests and passion. The first exhibition,  Tradisexion, took place in 1995. The project then went into a long hiatus after the Residency Program in Srisaket province of Thailand in 2008 before finally resuming its activity this year. We’ve heard that one of the main reasons behind Womanifesto’s return to the art scene is the rise of the biennale  festivals that Thailand had hosted last year. This return is also an opportunity for Womanifesto to rethink their role and missions revolving the broadening of the art community’s mindset about ‘gender’. The exhibition will be held on 20th – 27th April 2019 at Design Center, Votayakorn building, Chulalongkorn University. The exhibition will also feature the lecture, ‘Gender in Southeast Asian Art Histories and Visual Cultures: Art, Design and Canon-making?’ and public event, scheduled to take place on 19th – 20th April 2019. For more information, visit    bit.ly/wmnft2019

THE SECRET OF THE GREAT PYRAMID

เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของอาคารพีระมิด พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ที่ออกแบบโดย I.M. Pei สถาปนิกชาวจีน-อเมริกัน JR ศิลปินชาวฝรั่งเศส ได้สร้างผลงานที่มีชื่อว่า The Secret of the Great Pyramid เป็นสติ๊กเกอร์กว่า 2,000 แผ่นที่ติดบนลาน Napoleon Court รอบๆ อาคารเพื่อสร้าง trompe l’oeil ที่จินตนาการถึงการเจาะพื้นดินรอบๆ ยอดพีระมิดลงไป แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอาคารส่วนที่จมอยู่ใต้พื้นดิน โปรเจ็คต์นี้ JR จงใจตัดแบ่งสติ๊กเกอร์ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อเปิดโอกาสให้อาสาสมัครกว่า 400 คนมาติดตั้งผลงานร่วมกัน ซึ่งนับว่าเป็นงานคอลลาจชิ้นที่ใหญ่ที่สุดของ JR โดยกินพื้นที่กว่า 17,000 ตารางเมตร อย่างไรก็ตาม เมื่อติดตั้งได้เพียงวันเดียว งานก็ขาดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยหลังจากที่ผู้ชมเดินผ่านไปมา คงเป็นไปตามความตั้งใจตามที่ JR ได้โพสต์ในทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขาเกี่ยวกับผลงานชิ้นนี้ว่า กระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครและผู้เข้าชม โครงการนี้ยังเกี่ยวกับการมีอยู่และการสูญหาย รวมถึงความจริงและความทรงจำของความไม่เที่ยง

The celebration of  the Great Pyramid’s 30th  anniversary designed by Chinese-American architect, I.M. Pei, the French street artist, JR, creates  The Secret of the Great Pyramid, a massive piece of installation made up of over 2,000 pieces of stickers laid down on the ground of Napoleon Court. The spectacular  optical illusion that reveals the surreal imagined structure underneath  the  Louvre    Museum’s iconic structure. For this project, JR recruited over 400 volunteers to lay all the sticker pieces into his biggest collage to date, stretching across the 17,000 square meter area of the courtyard. Nevertheless, only one day after the installation, the stickers are torn into pieces after people walk all over them. It is, however, what JR had expected and intended, which is for the entire artistic process to primarily be about the participation of volunteers and viewers. The project also conveys messages about the existence and lost of things; the truth and memories of the impermanence.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *