CHURCH OF OPPOSITION

FAR AWAY IN MUKDAHAN PROVINCE THERE IS A CHURCH DEDICATED TO THE SEVEN BLESSED MARTYRS OF THAILAND. NOT ONLY IS IT A CONCLUSION TO HISTORICAL AND CONTEXTUAL OPPOSITION, BUT IT IS ALSO A CONCLUSION TO THE 1996 ASA’S GOLD MEDAL AWARD

มรณสักขีแห่งสองคอน ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดมุกดาหาร เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบุญราศีมรณสักขีแห่งประเทศไทยทั้ง 7 ซึ่งนอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์แล้วนั้น ยังได้รับรางวัลรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจําปี 2539

(For English, please scroll down)

ความขัดแย้งใดๆ ในสากลโลกมักจะเป็นนิรันดร์ พื้นฐานของสังคมและชีวิตของมนุษย์ทุกคน ดูเหมือนจะมีความขัดแย้งเป็นองค์ประกอบหลัก ไม่ว่าชาย-หญิง, ขาว-ดํา, กลางวัน-กลางคืน หรือความรักและเกลียดชัง แต่มีไม่มากครั้งนักที่ความขัดแย้งเหล่านั้น สามารถนําพาให้เกิดงานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในตัวเองและสามารถสะท้อนคุณค่าเหล่านั้นออกมาให้คนอื่นในสังคมยอมรับได้ จนได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจําปี 2539 ไปได้อย่างสง่าผ่าเผย

ความขัดแย้งที่ว่านี้เริ่มต้นที่หมู่บ้านสองคอน อ. หว้านใหญ่ จ. มุกดาหาร เมื่อประมาณปลายปี พ. ศ. 2483 เป็นช่วงในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไทยเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องพรมแดนและไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ เป็นสาเหตุต้องใช้กําลังรบเข้าตัดสินปัญหา กรณีพิพาทดังกล่าวนั้นต่อมาได้ยุติลงในช่วงต้นปี 2484 โดยการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น ทําให้ไทยต้องเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในสงครามเอเชียบูรพาเมื่อตอนปลายปี 2484 ในช่วงกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสนั้น ไทยต้องเสียดินแดนหลายส่วนไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เป็นสาเหตุทําให้เกิดความไม่พอใจ และความเคียดแค้นของคนไทยในท้องถิ่นเป็นอันมาก

กลุ่มคนที่โชคร้ายคือบรรดาบาทหลวงในศาสนาคาทอลิคตามวัดทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่ในขณะนั้นเป็นชาวฝรั่งเศส ทําให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นพวกเดียวกัน และพลอยทําให้บาทหลวงรวมทั้งผู้ที่เชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าในขณะนั้นถูกเหมารวมว่าเป็นศัตรู และเป็นเหยื่อของความเคียดแค้นดังกล่าวนั้นตามไปด้วย ในที่สุดช่วงปลายเดือนธันวาคม 2483 ก็เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดขึ้น ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาคริสต์ 7 คนในหมู่บ้านสองคอน ถูกล่อลวงไปสังหารหมดสิ้นเพียงเพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่ยอมถอดชุดนักบวชและละเว้นความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า ชาย 1 คน หญิง 5 คนและเด็กหญิง 1 คนต่างก็ยอมปรารถนาที่จะพลีชีพเพื่อพิสูจน์ความเชื่อมั่นที่มีต่อศาสนาของตน

เรื่องราวการพลีชีพของชาวบ้านทั้ง 7 คนนั้นได้รับสอบสวนและตรวจสอบโดยสํานักวาติกันที่กรุงโรมเป็นเวลาถึง 50 ปี จึง ได้มีการยกย่องให้ทั้ง 7 ท่านนั้นเป็น “บุญราศี” หรือ THE BLESSED และด้วยวีรกรรมที่ยอมพลีชีพเพื่อศาสนานั้น ในทางคริสต์ศาสนาถือว่าเป็นพยานของพระเจ้าด้วยชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นวีรกรรมสูงสุดที่เรียกว่า “มรณสักขี” (MARTYR) และเพื่อเป็นเกียรติแก่บุญราศีมรณสักขี (The Blessed Martyrs) ทั้ง 7 ท่านนั้นสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นไม่ไกลนักจากสถานที่เสียชีวิตของนักบุญทั้ง 7 ริมฝั่งแม่น้ำโขง

แนวความคิดสําคัญที่สถาปนิกผู้ออกแบบ อัชชพล ดุสิตนานนท์ ต้องการจะแสดงให้เห็นก็คือความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้งนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด อัชชพลใช้คําว่า La Philosophie de L ‘opposition สร้างสักการสถานนี้ขึ้นมา โดยสอดแทรกความขัดแย้งไว้ในหลายองค์ประกอบ ตั้งแต่การวางผังตัวแกนของโบสถ์รูปสี่เหลี่ยม ให้บิดไปจากแกนของผังรวมของกลุ่มอาคารวัดเดิม 7 หลัง โดยให้ตัวอาคารขนานไปกับแม่น้ำโขง ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสะอาดล้อมรอบด้วยผนังรูปโค้งโดยรอบ ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรูปทรงเหลี่ยมและโค้ง เสมือนว่ากําแพงโค้งนั้นโอบอุ้มตัวโบสถ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระแท่น และกําแพงเปิดออกสู่แม่น้ำเพื่อเล่าเรื่องราวอันเป็นนิรันดร์ของบุญราศีทั้ง 7

กำแพงโค้งภายนอกทำหน้าที่แบ่งแยกความสับสนภายนอก แนวต้นไม้ที่ไม่เป็นระเบียบและถนนแคบๆ เอาไว้ เมื่อลอดซุ้มประตูด้านหน้าเข้ามาเสมือนว่าความสับสนและอึดอัดเหล่านั้นได้ถูกปลดปล่อยมาบนลานโล่งภายใน ต้นไม้ สนามหญ้าถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ แสดงให้เห็นความขัดแย้งอย่างเต็มที่กับความไม่เป็นระเบียบภายนอกตัวโบสถ์และองค์ประกอบภายนอก ล้วนสร้างขึ้นจากหินทรายซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวเสากว้างยาวด้านละ 7 ต้นครอบคลุมพื้นที่ภายในของตัวโบสถ์ด้วยช่วงเสากว้างปราศจากเสา ผนังชั้นในเป็นกระจกใส อลูมิเนียมและเหล็ก ที่สร้างความขัดแย้งกับแนวเสา หินทราย และพื้นผนังภายนอกได้อย่างรุนแรง สามารถเล่าเรื่องราวยุคสมัยของโบสถ์ซึ่งอยู่ใน ปัจจุบันที่อยู่ภายใน ซึ่งสอดแทรกอยู่ในความแข็งแกร่งทึบและมั่นคงของประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งอยู่ภายนอกได้เป็นอย่างดี

เมื่อผ่านทางเข้ามาด้านใน 2 ข้างเป็นที่นั่งประกอบพิธีของบรรดาสัตบุรุษสีแดงหมากดิบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเข้มขรึมองค์ประกอบภายในเรียบง่ายปราศจากการตกแต่งที่ฟุ่มเฟือย บริเวณแท่นประกอบพิธี องค์ประกอบของหินทรายบนกำแพงวิ่งทะลุเข้ามาจากภายนอกเข้ามาล้อมกรอบทิวทัศน์สุดท้ายของแม่น้ำโขงที่กว้างออกไปสุดลูกหูลูกตาราวกับจะบอกว่าเรื่องราวของบุญราศรีมรณสักขีทั้ง 7 นั้น จะล่องลอยต่อไปเป็นนิรันดร์ ความขัดแย้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นก็คงจะเป็นเรื่องราว ของภายในและภายนอกอาคาร ที่สุดท้ายเรื่องราวของภายนอก (หินทราย) ก็กลับเข้ามาภายใน และเรื่องราวของภายใน ก็ล่องลอยออกไปกับแม่น้ำโขงภายนอกนั้น

อยากให้สักการสถานแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นสุดท้าย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้ง ไม่ว่าผู้สร้างจะมีความสามารถเพียงใดและสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นมานั้นจะน่าสนใจเพียงใด เรื่องเศร้าของความขัดแย้งที่เป็นที่มาของเรื่องทั้งหมดนั้นก็ยัง น่าเศร้าอยู่ดี สถาปัตยกรรมดีๆ ก็ช่วยไม่ได้มากเท่าไหร่นัก

The law of opposition manifests in all life and society: man and woman, black and white, day and night, and love and hate, to mention but a few. Yet, seldom do we see such conflict as an inspiration for decent architecture.

In 1940, during World War I, Thailand and France failed to reach a peace agreement over their territorial disputes. War ensued and, as a result, Thailand lost a fair amount of land to France. The occurrence created tension between Thais and the foreign Catholics who resided throughout the country. Later in that fateful year, seven Catholics- a man, five women and one child- living in Songkhon Village, Amphur Wanyai of Mukdahan province, were murdered because they refused to defect from a Catholic god and take off their religious gowns. Their belief was strong enough to make them martyrs.

The murders were later investigated by the Vatican in Rome. The investigation took over 50 years. The Vatican finally proclaimed the victims “The Blessed Martyrs” and decreed that a memorial be erected near the site of the murders facing the Menam Khong.

In designing the Memorial, Achapol Dusitnanond, was inspired by the concept of conflict. He drew on his belief that La Philosophie de L’ opposition is the origin of all tragedy.

There are signs of opposition in every element of the building. The triangular plan of the new shrine contradicts the plans of seven existing shrines. The rectangular shape of the building is encircled by a curved wall, displaying the contradiction between angular and curved form. The wall wraps itself around the shrine which houses the altar of worship and leaves some open space for the eternal legend of the seven Blessed Martyrs. Step behind the wall and all the hectic strains of life are left behind. A different world exists behind this wall.

The shrine is constructed of sandstone which is a local material in the Northeast. The interior of the shrine is lined with glass, aluminium and steel. The use of these materials is in sharp contrast to the sand- stone exterior. And the symbolism of this conflict is strikingly apparent: the high-tech interior signifies the contemporary and modern depending on the historical stabilities and local traditions represented by the sandstone.

Although this memorial is an excellent example of architecture inspired by conflict, we all wish that it could be the last monument built on the tragedy of human conflicts.


Originally Published in art4d#13 Match, 1996

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *